กลุ่ม งานทะเบียน (5)

งานทะเบียนราษฎร

งานทะเบียนราษฎรแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนคน คือ ทะเบียนที่แสดงรายการคนแต่ละคน ตั้งแต่การแจ้งเกิด การแจ้งย้าย จนถึงตาย ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้านที่แสดงรายการของคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างบ้านหรือขอเลขบ้าน จนถึงการสิ้นสภาพของบ้านไป จำกัดความสั้นๆ แบบนี้คงทำให้ท่านว่าที่ปลัดเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นที่เราจะอ่านต่อไปนี้ก็มีอยู่เพียง 2 ส่วนเท่านั้น และส่วนที่เพิ่มเข้ามาไว้อีกส่วนหนึ่งคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เพราะต้องอ่านควบคู่กัน อย่างท่านอาจจะได้บรรจุเป็นปลัดอำเภอฝ่ายทะเบียนและบัตร การที่ท่านจะเพิ่มชื่อคนในบ้านลงในข้อมูลการทะเบียนราษฎรนั้น ก็ต้องดูใช่ไหมว่าเขาเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว จึงได้รวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ความหมายและคำนิยาม “การทะเบียนราษฎร” หมายถึง งานทะเบียนต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร “ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร” หมายถึง ข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับ ชื่อ ชื่อสกุล เพศ วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา…

งานทะเบียนสัญชาติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการ ให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย และค่าธรรมเนียมคำขอกลับคืนสัญชาติไทย นิยาม คนต่างด้าว หมายความว่า ผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ สัญชาติมีผลเฉพาะตัว การได้สัญชาติ การเสียสัญชาติ การกลับคืนสัญชาติ ให้มีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัว การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด[1] บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1. ผู้ที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร 2. ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย (ยกเว้นมาตรา 7 ทวิ)[2] การไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1. ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะเกิดบิดาไม่ได้สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น 1. ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย 2. ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว 3. เข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 2. ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็น 1. หัวหน้า…

งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

หลักการอันเป็นที่มาของบัตรประจำตัวประชาชนในขณะนั้นได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ซึ่งกำหนดให้กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน จะได้มีหนังสือสำคัญของทางราชการไว้แสดงว่าเป็นใคร มาจากที่ใด หนังสือดังกล่าวเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในสมัยนั้นคล้ายกับบัตรประจำตัวประชาชนในสมัยนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2486 ขึ้น ประกาศใช้ในจังหวัดพระนคร หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน แต่หลักการล้าสมัยจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายเรื่อยมา จนกระทรวงมหาดไทยได้เสนอให้มีการแก้ไขและประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มีผลบังคับใช้วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมา และกำหนดว่าบัตรที่ออกตามพระราชบัญญัติบัตรประชาชน พ.ศ. 2505 ให้ใช้ได้ต่อไปจนครบวันเกิดของผู้ถือบัตร และให้ขอมีบัตรภายใน 90 วัน ผู้ใดมีอายุครบ 15 ปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ ต้องขอมีบัตรภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีประกาศ 1.1 เจ้าพนักงานออกบัตร ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งในปัจจุบันรัฐมนตรีจะแต่งตั้งอธิบดีกรมการปกครองเป็น…

งานทะเบียนมูลนิธิ

มูลนิธิ ได้แก่ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแผนกเพื่อบำเพ็ญทาน ศาสนา วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ และไม่ได้แสวงหากำไร ฉะนั้น มูลนิธิจึงเป็นองค์กรการกุศลที่จัดตั้งขึ้นมาและดำเนินการโดยมิได้มุ่งหมายกำไร หรือหวังผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด การจัดตั้งมูลนิธินับได้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างมาก เพราะมูลนิธิเป็นองค์การกุศลที่จะให้การสงเคราะห์ตลอดจนการช่วยเหลือแก่บุคคลโดยไม่เลือกชาติศาสนาและไม่หวังผลตอบแทน จึงอาจสรุปลักษณะของมูลนิธิได้ 3 ประการคือ 1. เป็นกองทรัพย์สิน 2. นำเอาทรัพย์สินไปใช้เพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ 3. ไม่ได้แสวงหากำไร จะเห็นได้ว่ามูลนิธิมีข้อแตกต่างจากสมาคมเพราะสมาคมรวมกลุ่มอยู่ได้ด้วยสมาชิกและผลประโยชน์เกิดขึ้นเป็นของสมาชิกหรือห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่มีการรวมตัวเพื่อแสวงหากำไร 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2. กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิการดำเนินกิจการและการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 3. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 2. นายทะเบียนมูลนิธิ 1. ในกรุงเทพมหานครได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย 2. ในจังหวัดอื่น…

งานทะเบียนสมาคม

สมาคมเป็นนิติบุคคลอีกรูปแบบหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นนิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องเป็นการร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง โดยที่กิจกรรมและวัตถุประสงค์ของสมาคมจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และที่สำคัญการดำเนินการของสมาคมจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ดังจะเห็นได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 78 และมาตรา 82 บัญญัติว่า “การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้” “.....และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ....” 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) กฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2537 3. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 2. นายทะเบียนสมาคม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนสมาคม ลงวันที่ 15 กันยายน 2547 1. อธิบดีกรมการปกครอง เป็นนายทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร…