กลุ่ม ความรู้อื่น ๆ ของนักปกครอง (5)

หลักธรรมสำหรับนักปกครอง

ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้ 1. ทาน ได้แก่ การให้ ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ 2. ศีล ได้แก่ การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม 3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข 4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม 5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ 6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ 7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ 8. อวิหิงสา…

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด…

ความรู้เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละ 1 แห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และได้มีการพัฒนามาจนถึง พ.ศ. 2540 ได้มีการยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับมาใช้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1.1 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้ 1. ราษฎรไม่เกิน 500,000 คน…

การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ความหมาย คชก.จังหวัด หมายถึง คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด คชก.ตำบล หมายถึง คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล 1. จังหวัด (รวมถึง กทม.ด้วย) มี คชก.จังหวัด แบ่งได้ดังนี้ 1. ในกรุงเทพมหานคร คชก.จังหวัด ประกอบด้วยบุคคลซึ่งผู้ว่าการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งดังนี้ 1.1 ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน 1.2 ผู้แทนกรมการปกครอง 1.3 ผู้แทนกรมที่ดิน 1.4 ผู้แทนกรมประมง 1.5 ผู้แทนกรมปศุสัตว์ 1.6 ผู้แทนกรมอัยการ 1.7 ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร 1.8 ผู้แทนผู้เช่า 4 คน 1.9 ผู้แทนผู้ให้เช่า 4 คน 2. ในจังหวัดอื่น คชก.จังหวัด ประกอบด้วยบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งดังนี้…

การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

คำนิยามและความหมาย โฆษณา หมายถึง การบอกกล่าว การแจ้งความ ชี้แจง แนะนำหรือแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน ผู้รักษาการ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 100 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจสั่งผู้ใช้เสียงหรือผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงให้ลดเสียงลงได้ เมื่อปรากฏว่าเสียงที่โฆษณานั้นก่อความรำคาญแก่ประชาชน และถ้าการโฆษณากระทำผิดเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานที่สั่งให้ลดเสียง ให้เจ้าพนักงานดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้หยุดโฆษณาได้ ใบอนุญาตและการโฆษณา ผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า จะต้องขอรับอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกแก่ผู้ทำการโฆษณาให้คุ้มครองถึง ผู้ใช้เสียง และผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงด้วย และการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องโฆษณาเป็นภาษาไทย และภาษาไทยให้หมายความรวมถึงภาษาพื้นเมืองด้วย ห้ามมิให้ใช้บังคับแก่การโฆษณา ดังต่อไปนี้ 1. คำสอนในทางศาสนา 2. ของหน่วยงานของรัฐ 3. หาเสียงเพื่อประโยชน์แก่การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาเป็นภาษาไทย 4. กิจการของ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด…