กลุ่ม งานทะเบียนที่ต้องขออนุญาตเฉพาะ (7)

งานโรงแรม

โรงแรมในประเทศไทยเริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งประชาชนมีการไปมาหาสู่กัน ชาวต่างชาติคนจีนที่เข้ามาที่สยามประเทศในเวลานั้นก็จะไปพักตามศาลาวัด ต่อมาเมื่อคณะทูตซึ่งมี สมเด็จพระราโชไทยเสด็จกลับจากยุโรป ก็ได้นำแนวความคิดของการสร้างโรงแรมมาพัฒนา จนกระทั่งเมื่อหนังสือพิมพ์รายปีของ หมอบรัดเลย์ (D.B.Bradley) ฉบับปี พ.ศ. 2406 ก็ได้มีข้อความประกาศเปิดโรงแรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นั่นคือ ยูเนี่ยน โฮเต็ล (Union Hotel) และ บอร์ดดิ้ง โฮเต็ล (Boarding Hotel) จนมาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงโรงแรมครั้งใหญ่ให้มีความสะดวกสบายและหรูหรามากขึ้นกว่าเดิม มีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้ในโรงแรมเป็นครั้งแรกที่ โรงแรมโอเรียนเต็ล มีการเปิดห้องอาหารภายในโรงแรมแบบเต็มระบบและในรัชสมัยนี้เองธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยก็เฟื่องฟูขึ้น มีการเปิดโรงแรมต่างๆ มากมาย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2465 พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เป็นโอรสองค์ที่ 35…

งานสถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 บังคับใช้วันที่ 5 ตุลาคม 2509 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะกำหนดเขต จำกัดท้องที่หรืองดให้ตั้งสถานบริการ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[1] (Zoning) โดยเบื้องต้นนั้นมี zoning นำร่อง 5 จังหวัด คือ นครนายก สุโขทัย สตูล พิจิตร อ่างทอง และพระราชบัญญัติกำหนดให้ผู้ตั้งสถานบริการที่อยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้มาขอรับใบอนุญาตภายใน 30 วัน สถานบริการ คือ สถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้าแบ่งได้ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ 2. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า 3.