กลุ่ม งานทะเบียนที่ต้องขออนุญาตเฉพาะ (7)

งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน

อาวุธปืนนั้นมีกฎหมายควบคุมการมีอาวุธปืนเอาไว้ในครอบครอง จะเห็นได้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการออกกฎให้แก่ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการเมือง จ.ศ. 114 และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน รัตนโกสินทร์ศก 131 ได้มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน บังคับใช้วันที่ 10 กันยายน 2490 โดยแรกเริ่มได้กำหนดว่าถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุน มาขอรับใบอนุญาตภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ความหมาย 1. อาวุธปืน หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ[1] 2. เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊สฯ เครื่องสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุน 3. วัตถุระเบิด คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน…

งานการพนัน

ตามพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 8 สิงหาคม ร.ศ.122 และพระราชปรารภเกี่ยวกับการเลิกหวยความดังต่อไปนี้ “ได้รับหนังสือที่ 168/5188 ลงวันที่ 4 เดือนนี้ ว่าได้สังเกตดูการเก็บเงินอากรการพนันในสองปีที่ล่วงมาแล้ว เก็บเงินขึ้นได้มากกว่าที่คาดหมาย เป็นที่สงสัยว่าจะมีคนเล่นการพนันมากขึ้น ฤาเจ้าพนักงานจัดการเก็บดีขึ้น เธอได้สอบสวนโดยถ้วนถี่ บัดนี้ได้ความว่าตามวิธีที่กรมสรรพากรจัดนั้น ราษฎรเล่นการพนันได้สะดวก เช่น อย่างมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร เดิมก็มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ราษฎรก็พากันยากจน ขัดสนไม่เป็นอันทำมาหากิน เมื่อให้เลิกการพนันโจรผู้ร้ายก็สงบเบาบางลง การค้าขายก็เจริญตั้งแต่อนุญาตให้เล่นการพนันได้อีก เกิดมีโจรผู้ร้ายชุกชุมขึ้น ราษฎรไม่เป็นอันตั้งหน้าค้าขายทำมาหากิน ทำให้ความเจริญที่มีอยู่แล้วกลับถอยหลังไปอีก เธอขออนุญาตให้เลิกการพนันในมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพรเสีย และควรจำกัดการเล่นการพนันในมณฑลอื่นๆ ให้น้อยลงนั้นเป็นการชอบแล้วอนุญาตให้เลิก” ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนนโยบาย เกี่ยวกับการพนัน จากการแสวงหาผลประโยชน์มาเป็นการควบคุมและปราบปรามแทน ต่อมาจึงมี พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2473 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพนันฉบับแรก และมีการยกเลิกและ ตราพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478…

งานควบคุมการเรี่ยไร

ความหมายของการเรี่ยไร “การเรี่ยไร” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การเก็บเงินโดยขอร้องให้ช่วยออกเงินตามใจสมัคร ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 “การเรี่ยไร” หมายความตลอดถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรง หรือปริยาย ถ้ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด หรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 4 คน จึงจะครบองค์ประชุม และคณะกรรมการประกอบด้วย 1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน 2. ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 1 คน 3. ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ 1 คน 4. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 1 คน…

งานควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

เจตนารมณ์ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงมีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมไม่ให้ผู้ใดประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงต้องผ่านการตรวจสอบประวัติ ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ และบุคคลผู้ขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้ยื่นคำขออนุญาตภายใน 3 เดือน ความหมาย ของเก่า คือ ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่น อย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย[1] ขายทอดตลาด คือ การขายโดยเปิดเผยแก่มหาชน ด้วยวิธีให้โอกาสแก่ผู้ประมูลราคา ผู้ให้ราคาสูงก็มีสิทธิซื้อทรัพย์นั้นไป การค้าของเก่า หมายถึง ก. ประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ข. ประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงิน หรืออัญมณี ค. ประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการและรถยนต์ส่วนบุคคล ง. ประเภทอื่น ๆ…

งานโรงรับจำนำ

การรับจำนำในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏตามหลักฐานในรัชสมัยพระบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดที่ออกในปี พ.ศ. 2234 เรื่องการควบคุมการรับจำนำ กำหนดให้การรับจำนำกระทำในเวลากลางวัน ผู้ตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกของไทยเป็นชาวจีน ชื่อ ฮง แซ่เบ๊ ในปี พ.ศ. 2409 ตั้งอยู่ที่ ย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ชื่อร้านโรงรับจำนำย่องเซี้ยง (หัวมุมตัดกับถนนมหาไชย) ข้างวัดเทพธิดาราม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงรับจำนำสำราญราษฎร์” ส่วนโรงรับจำนำของรัฐ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2498 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2500 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานธนานุเคราะห์” การดำเนินงานระยะแรก มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดแผนกธนานุเคราะห์…