กลุ่ม กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (10)

กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

หลักการหรือแนวความคิดของกฎหมายฉบับนี้ คือ สิ่งใดที่เป็น “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ย่อมเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปได้เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชาชนทุกคนย่อมเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ เพราะแนวคิดตามกฎหมายเดิมจะมีอยู่ว่า “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” รูปธรรมที่ตามมาจากแนวคิดเดิม คือ เอกสารส่วนใหญ่ของราชการจะตีตราว่า ปกปิด ลับ ลับมาก หรือลับที่สุด หรือสถานที่ราชการห้ามเข้า เป็นต้น แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มีการปฏิรูปการเมือง จึงเกิดหลักประกันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่ประชาชน ซึ่งก็คือกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของราชการได้ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติราชการมีความโปร่งใสมากขึ้น และแนวคิดใหม่ของกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ คือ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” แรกทีเดียวมีผู้เสนอว่ากฎหมายนี้ควรชื่อว่า “กฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ” แต่เกรงว่าอาจทำให้ประชาชนทั่วเข้าใจผิดว่าข้อมูลข่าวสารของราชการทุกประเภทจะต้องเปิดเผย เพราะในความเป็นจริงอาจมีข้อมูลข่าวสารบางรายการสมควรเก็บไว้เป็นความลับ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” เนื่องจากเป็นการ “เปลี่ยนกระบวนทัศน์” หรือมุมมองเกี่ยวกับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการโดยประชาชน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องทำตัวให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายนี้ และในขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องขยันใช้กลไกของกฎหมายนี้อย่างสุจริตด้วย เพื่อให้การตรวจสอบการทำงานของข้าราชการเป็นผลอย่างจริงจัง พระราชบัญญัตินี้ตราขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด…

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ความเป็นมาของพระราชกฤษฎีกานี้คือ มาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พระราชกฤษฎีกานี้จึงบังคับใช้วันที่ 10 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมาโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และการปฏิบัติราชการในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร. “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนี้ 1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น 5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ 6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ 7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง…

ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ

เหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบงานสารบรรณขึ้น ก็เนื่องด้วยองค์การต่างๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวใหญ่ขึ้น สลับซับซอนขึ้น งานหนังสือก็ต้องมากขึ้นตามตัว และหากองค์การใดที่ไม่มีการจัดระเบียบงานสารบรรณแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่า เอกสารจะมากขึ้นๆ กองทับถมซับซ้อนยากแก่การค้นหาเมื่อต้องการใช้ ฉะนั้น องค์การนั้นก็ไม่สามารถที่จะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงทีได้ จึงนับว่างานสารบรรณมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลไม่น้อยระเบียบนี้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2526 มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และมีสาระสำคัญดังนี้ “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย “หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ มี 6 ชนิด คือ 1.

ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ

ในส่วนนี้มีระเบียบที่ต้องศึกษาอยู่ 2 ระเบียบคือ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการและทุก 5 ปีเป็นอย่างน้อย ให้นายกรัฐมนตรีจัดให้มีการทบทวนการปฏิบัติการและพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบนี้ให้เหมาะสม บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2544 เป็นต้นมาโดยมีนิยามที่สำคัญดังนี้ 1.1 นิยาม “ข้อมูลข่าวสารลับ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ[1] ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับเอกชนซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับชั้นลับมาก หรือชั้นลับที่สุด “หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ”[2] หมายความว่า 1. หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการส่วนภูมิภาค[3] 3. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ประธานสภาตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล[4] นายกเมืองพัทยา สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น 4.

กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 1.1 ความเป็นมา เดิมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ มีระเบียบใช้ปฏิบัติที่หลากหลาย ไม่มีกฎหมายกลางคือต่างหน่วยงานต่างใช้ ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ก็จะมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (Electronic Auction : e - Auction) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ก็จะใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อหน่วยงานของรัฐต่างก็ใช้กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ไม่มีมาตรฐานกลาง การไม่มีระบบการรวมศูนย์การจัดซื้อจัดจ้าง และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ทำให้ยากแก่การตรวจสอบ รัฐบาลประสงค์ให้มีกฎหมายกลาง “เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปปฏิบัติ...” กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)…