กลุ่ม กฎหมายและระเบียบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ (10)

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่าง รัฐบาลเป็นผู้ตรา เริ่มใช้ ณ วันที่ 6 เมษายน 2560 (วันเริ่มใช้รัฐธรรมนูญ คือวันเดียวกันกับวันที่ลงนามรับรองและประกาศ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามรับรอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ มีทั้งหมด 16 หมวด 279 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ (ความเป็นรัฐเดียว ม.1) ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (รูปแบบการปกครอง ม.2) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี…

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน 1.1 หลักการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้ 1.2 หลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินให้จัดระเบียบการบริหารดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 1.3 หลักการแบ่งส่วนราชการ การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้น ๆ ส่วนราชการที่อยู่ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนี้ 1. สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง) 2. กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง 3. ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง 4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม…

กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

ในส่วนของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนมีสาระสำคัญที่เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจทั้งหมด 9 ส่วน บังคับใช้วันที่ 26 มกราคม 2551 นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ โดยมีนิยามที่สำคัญดังนี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่าย พลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่า 3 คนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนด 30 วัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึง 180 วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ และกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ…

กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ตราไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (บังคับใช้วันที่ 14 พฤษภาคม 2540) การนำไปใช้และความเป็นกฎหมายกลาง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง[1] วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย[2] ห้ามบังคับใช้กับหน่วยงานหรือการดำเนินงานดังต่อไปนี้ 1. รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี[3] 2. องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ 3. การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง 4. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ 5. การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา 6. การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ 7. การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหาร 8. การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา…

กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีความมุ่งหมายที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ต้องการให้นำหลักเรื่องลูกนี้ร่วมในกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นโดยมุ่งหมายแต่เพียงจะให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบตามจำนวน โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และบั่นทอนขวัญและกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่จนเป็นปัญหาในการบริหารราชการ[1] พระราชบัญญัตินี้มีการ บังคับใช้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมามีเนื้อหาเพียง 15 มาตรา ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจ และการออกข้อสอบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ถามตรงตามตัวบทกฎหมาย และถามในลักษณะที่เป็นโจทย์ตุ๊กตา[2] เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ[3] หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้…