กลุ่ม การอำนวยความเป็นธรรม (4)

การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน

นับแต่ประเทศไทยได้มีระบบการสอบสวนคดีอาญามาแต่โบราณนั้น อำนาจการสอบสวนคดีอาญาได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในลักษณะต่างๆ กันคือ บางสมัยตำรวจเป็นผู้สอบสวนฝ่ายเดียว บางสมัยอำเภอสอบสวนฝ่ายเดียว และบางสมัยก็สอบสวนร่วมกัน ครั้งสุดท้ายอำนาจการสอบสวนเป็นของอำเภอฝ่ายเดียวตลอดมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปี (ถึง พ.ศ. 2502 ในขณะนั้น) กระทรวงมหาดไทยได้ออกข้อบังคับ ที่ 8/2502 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2502 หลักการสำคัญคือเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนจากนายอำเภอและปลัดอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่ตำตรวจ ส่วนหัวหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเช่นเดิม ข้อบังคับนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2503 เป็นต้นไป การสอบสวนก็ดำเนินการไปฝ่ายเดียวตลอดมา เว้นแต่บางอำเภอเท่านั้นที่มีฝ่ายอำเภอเข้าไปสอบสวนอยู่ด้วย แต่ก็เป็นเพียงการเข้าไปสอบสวนเฉพาะเรื่องเท่านั้น จนถึง พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่การสอบสวนคดีอาญาอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่โอนอำนาจหน้าที่การสอบสวนคดีอาญาจากอำเภอไปให้ตำรวจดำเนินการแต่ผู้เดียว ตามข้อบังคับที่ 1/2506 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2506 เรื่อง ระเบียบการสอบสวนคดีอาญาในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี…

การสอบสวนคดีอาญาและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

1.1 ความผิดอาญาที่พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองสอบสวนได้[1] 1. กฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน 2. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า 3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร 4. กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร 5. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ 7. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 8. กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน 9. กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ 10. กฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย 11. กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน 12. กฎหมายว่าด้วยยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน 13. กฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ 14. กฎหมายว่าด้วยโรงแรม 15. กฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ 16. กฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน 1.2 หัวหน้าพนักงานสอบส่วน และพนักงานสอบสวน ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอ หรือนายอำเภอ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ถ้ามีเหตุอันควร ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด จะเข้ามาเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้…

การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตมีจำนวนมาก บางฉบับไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา กำหนดรายละเอียดของเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นจะต้องใช้ยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงไม่ได้มีการกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จนทำให้เป็นการสร้างภาระและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นขออนุญาตเพื่อดำเนินการต่างๆ เกินสมควร เช่น การขออนุญาตประกอบกิจการด้านการค้า การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 25/2557 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายได้มีทั้งหมดจำนวน 18 มาตรา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 มกราคม 2558 บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป) ยกเว้นในเรื่อง “การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน” กำหนดให้ผู้อนุญาต[1]จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ให้เสร็จภายใน 20 กรกฎาคม…

กฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา 6 มีนาคม 2558 บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่ 2 กันยายน 2558 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการ มีนิยามที่สำคัญดังนี้ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และผู้รับมอบอำนาจจาก ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า 1. บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ 2. บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด “สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน “ลูกหนี้”…