กลุ่ม งานทะเบียนทั่วไป (8)

ทะเบียนครอบครัว

ความหมาย คำว่า “จดทะเบียนครอบครัว”ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำหรับความหมายในทางปฏิบัติของการปฏิบัติงานทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความหมายของทะเบียนครอบครัวไว้ว่า หมายถึง การจดทะเบียนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ที่กฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิ และกำหนดหน้าที่ของบุคคลได้[1] ทำความเข้าใจ ในส่วนที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่านนี้เป็นงานทะเบียนครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานทะเบียนทั่วไป ผู้รับผิดชอบคือส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ คลอง 9 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยงานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนการทะเบียนทั่วไปจะมีทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ 1.ทะเบียนครอบครัว 2.ทะเบียนชื่อบุคคล 3.ทะเบียนพินัยกรรม 4.ทะเบียนนิติกรรม 5.ทะเบียนสัตว์พาหนะ 6.ทะเบียนเกาะ 7.ทะเบียนศาลเจ้า และ 8.ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ทะเบียนครอบครัว ผมพยายามที่จะโฟกัสว่างานทะเบียนครอบครัวที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานทะเบียนทั่วไป และทะเบียนครอบครัวก็จะแบ่งออกไปอีกเป็น 7 ประเภท ประเภทของงานทะเบียนครอบครัว งานทะเบียนครอบครัว คือ…

ทะเบียนชื่อบุคคล

พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ ให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวง โดยกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัว ชื่อสกุล และจะมีชื่อรองก็ได้ (กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีชื่อรอง) ความหมาย ชื่อตัว หมายความว่า ชื่อประจำบุคคล ชื่อรอง หมายความว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว ชื่อสกุล หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล นายทะเบียน พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ไม่มีมาตราใดที่กำหนดตำแหน่งของนายทะเบียนเอาไว้ คงมีแต่คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 1430/2505 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2505 เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน และคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 157/2537 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 ได้แต่งตั้งนายทะเบียนชื่อบุคคลไว้ดังนี้ 1. นายทะเบียนกลาง คือ ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน 2.

ทะเบียนพินัยกรรม

ความหมายของพินัยกรรม บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ และการแสดงเจตนาย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้าย เงื่อนไขในการทำพินัยกรรม 1. ความสามารถในการทำพินัยกรรม 1. ผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ 2. ต้องไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 3. บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้ 2. บุคคลที่จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้ 2.1 ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2.2 บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ 2.3 บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง ผู้ที่รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ 1. ผู้เขียนพินัยกรรม 2. คู่สมรสของผู้เขียน 3. พยานในพินัยกรรม 4. คู่สมรสของพยานในพินัยกรรม 5. พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความในพินัยกรรมทำด้วยวาจา 6. คู่สมรสของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความในพินัยกรรมทำด้วยวาจา…

ทะเบียนนิติกรรม

นิติกรรม หมายถึง การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับ ซึ่งสิทธิ[1] งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอในปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ได้แก่ 1. ซื้อขาย (รวมทั้งขายฝากด้วย) 2. แลกเปลี่ยน 3. ให้ 4. จำนอง ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงเรื่องนิติกรรมที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอแล้วจะมีเพียง 4 อย่างนี้เท่านั้น และท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภออย่างไร ในเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีมาตราไหนกำหนดไว้เลย ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้เป็นไปตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่บัญญัติไว้ว่า “บรรดาหนังสือสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายและข้อบังคับมิได้ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของพนักงานอื่นทำแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ[2]ที่จะทำสำหรับการในอำเภอนั้น” เมื่อไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใด หรือส่วนราชการใดรับผิดชอบในการจดทะเบียนแล้ว อำนาจหน้าที่การจดทะเบียนนิติกรรม 4 ประเภทนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ…

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สัตว์พาหนะของราชการทหาร “สัตว์พาหนะ” หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำหรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะ ได้แก่การกรอกรายการที่เกี่ยวกับเจ้าของสัตว์ และตัวสัตว์ เช่น ชื่อ และตำหนิรูปพรรณ ลงในทะเบียน ซึ่งเรียกว่าตั๋วรูปพรรณ ให้เจ้าของใช้แสดงกำกับสัตว์เป็นการแสดงตำหนิประจำสัตว์ และแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ นอกจากนั้นยังเป็นเอกสารในการซื้อขาย โอน จำนอง ได้อีกด้วย อนึ่ง สำหรับช้างมีวิธีปฏิบัติแตกต่างจากสัตว์พาหนะอื่นเป็นกรณีพิเศษบางประการเพราะพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 และพระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทร์ศก 127 ได้ถือปฏิบัติอีกอย่างคือ ช้างสำคัญ คือช้างที่มีลักษณะ 7 ประการได้แก่ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อันฑโคตรขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ หรือช้างสีประหลาด (หนังดำ…