กลุ่ม ประมวลกฎหมาย (5)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

กฎหมาย คือข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ข้อบังคับแห่งความประพฤติ” คำว่ากฎหมาย อาจหมายความถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป คือความรู้เกี่ยวกับวิชาที่ว่าด้วยความรู้สึกนึกคิดและหลักเกณฑ์ที่เป็นรากฐานของกฎหมาย เดิมเรียกว่าวิชาธรรมศาสตร์ อันเป็นศาสตร์เบื้องต้นในกฎหมายวิชาธรรมศาสตร์ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ธรรมศาสตร์ฉบับของพระมโนสาราจารย์ ซึ่งได้รวบรวมขึ้นในประเทศอินเดียในราว 100 ปี ก่อนคริสตกาล 1. วิวัฒนาการของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย หรือ ความเป็นมาของกฎหมาย จะแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ 1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน กฎหมายยุคชาวบ้านเป็นกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความประพฤติในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้เหตุผลและหลักการธรรมดาที่ชาวบ้านรู้ได้ว่าคือ กฎหมาย เช่น ขนบธรรมเนียมในวันสงกรานต์ ขนบธรรมเนียมการแต่งตัวในวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นต้น และในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมาย 2. ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย สังคมมีการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ใช้กฎหมายชาวบ้านในการตัดสินการกระทำบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องพึ่งนักกฎหมายที่จะต้องคิดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม สำหรับเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด 3.

กฎหมายอาญา

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญา ในการสอบปลัดอำเภอนั้นถามไม่เกิน 3 ข้อ และจะไม่ถามละเอียดถึงว่าโทษจำคุกเท่าไหร่ จะถามหลักของกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ทางเราจึงได้ตัดส่วนของอัตราโทษออก เหลือเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญจริงๆ และหลักกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งที่ออกข้อสอบบ่อยมากคือ นำหลายๆ มาตรามารวมกันแล้วถามเป็นข้อเดียว ว่าข้อใดถูกหรือผิด บวกกับประสบการณ์ของผู้เขียนเอง จึงทำให้ท่านผู้อ่านมั่นใจได้ว่าในส่วนของประมวลกฎหมายอาญา แค่อ่านหลักกฎหมายต่อไปนี้ให้จำได้ ก็ทำข้อสอบได้แล้ว 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ 1. “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น 2. “ทางสาธารณ” หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย 3. “สาธารณสถาน” หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ 4. “เคหสถาน” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย…

กฎหมายแพ่ง

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งนั้นถือว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปลัดอำเภอมากที่สุด โดยเฉพาะปลัดอำเภอที่อยู่ฝ่ายทะเบียนและบัตร สำหรับ ว.วิชาการ แล้วถือว่ากฎหมายแพ่งสำคัญที่สุดจากประมวลกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ ก่อนที่จะศึกษาในรายละเอียดสิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ชื่อของกฎหมาย ชื่อเต็มคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่กรมการปกครองบรรจุเข้าไปในการสอบเฉพาะ “แพ่ง” ไม่มี “พาณิชย์” กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการเช่าทรัพย์ การจำนำ เป็นต้น หรือเป็นกฎหมายเฉพาะพ่อค้ากับพ่อค้า แต่เราสอบราชการจึงไม่ต้องศึกษารายละเอียดในส่วนของ “พาณิชย์” แต่ที่เราจะศึกษากันคือส่วนของ “แพ่ง” อาทิ บุคคล สมาคม นิติกรรม ประนีประนอมยอมความ บรรพ 5 ครอบครัว บรรพ 6 มรดกฯ เมื่อเราได้ขอบเขตของเนื้อหาที่จะอ่านและทำความเข้าใจกันแล้วต่อไปก็จะเข้าสู่สาระสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่ง[1]…

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้เนื่องจากตำแหน่งปลัดอำเภอไม่ได้ใช้กฎหมายโดยตรงอย่างผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เป็นต้น ดังนั้นจึงได้นำเนื้อหาที่สำคัญ เฉพาะเป็นประเด็นสอบเท่านั้น ดังนั้นแม้เนื้อหาของประมวลกฎหมายนี้จะเยอะ ให้ท่านมั่นใจได้เลยว่าอ่านแค่นี้ก็ถือว่ามากพอแล้วสำหรับความรู้ที่จะใช้สอบในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะหนังสือของสำนักอื่นฯ ก็ไม่ได้เขียนไว้แต่อย่างใด หรือแนะนำให้ไปอ่านประมวลโดยตรง ซึ่งเนื้อหาก็มาก จนไม่รู้ว่าจะไปอ่านตรงไหน หรือตรงไหนคือสาระสำคัญ แต่ทาง ว.วิชาการก็ได้นำสาระสำคัญที่เกี่ยวกับปลัดอำเภอที่กรมการปกครอง สามารถออกข้อสอบได้มาให้ท่านได้ศึกษา ดังนี้ 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ “ผู้ต้องหา” หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล “จำเลย” หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่” หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ 1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย 2. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย 3. ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย 4. ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย 5. อธิบดีกรมการปกครอง 6. รองอธิบดีกรมการปกครอง…

กฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในการสอบปลัดอำเภอนั้นนำมาออกข้อสอบแต่ไม่มากประมาณ 1 – 2 ข้อ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นเป็นกฎหมายที่บังคับระหว่างเอกชนกับเอกชนมากกว่า ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐและเอกชน แต่ก็ออกข้อสอบทุกครั้งที่มีการสอบปลัดอำเภอ เนื่องจากได้กำหนดไว้ในหลักสูตรการสอบ เพื่อให้ครอบคลุม และไม่ให้คะแนนเสียไป เพราะหนึ่งคะแนนในการสอบปลัดอำเภอนั้นมีความหมายมาก ทาง ว.วิชาการ จึงได้นำหลักกฎหมายที่เคยออกข้อสอบ และเป็นหัวใจหรือ Keyword “คีย์เวิร์ด” สำคัญที่สามารถนำมาเป็นข้อสอบได้ จึงทำให้ท่านผู้อ่านมั่นใจได้ว่าในส่วนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงแค่อ่านหลักกฎหมายต่อไปนี้ ก็ทำข้อสอบได้แล้ว 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ 1. “คำฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่ 2. “คำให้การ” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง 3. “คำคู่ความ”…