กลุ่ม ความรู้พื้นฐาน (9)

ความรู้ด้านวิชาทางการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการแนวใหม่

1.1 ความหมายของการเมือง การปกครอง การเมือง (Politics) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการแสวงหาอำนาจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของสังคม การปกครอง (Government) คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น การเมืองและการปกครองจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เพราะการปกครองจำเป็นต้องอาศัยอำนาจคือการเมืองจึงจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้อำนาจและระเบียบกฎเกณฑ์การใช้อำนาจทางการบริหาร 1.2 การเมืองไทย การเมืองไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งมีการปกครองในกรอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขแห่งรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลไทยเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาไทย ซึ่งแบ่งเป็นสองสภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ โดยมีประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประมุขในส่วนของตน (…

วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจของกรมการปกครอง และกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดีรับผิดชอบงานมหาดไทย หรืองานการปกครองประเทศและได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม ให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมด เพียงกระทรวงเดียว กระทรวงมหาดไทยเมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีชื่อเรียกตามทำเนียบเดิม แต่ให้มีหน้าที่ต่างกัน คือ กรมมหาดไทยกลาง เป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการ รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่ สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า “เทศาภิบาล” ขึ้นมาใช้ และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆ และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบล และหมู่บ้าน กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังจึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครอง ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับ ดังนี้ พ.ศ. 2458 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย…

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)

โครงสร้างของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปได้ทั้งหมด 6 ส่วน[1] O 1. เรื่องทั่วไป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 เป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มต้น ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งเป็นระยะ 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ ในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว…

โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0

หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาล ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” “ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก…

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการบริหารเชิงกลยุทธ์

1.1 ความหมายของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ การวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานมีความอยู่รอด ได้ในอนาคต 1.2 ความแตกต่างของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กับการวางแผนทั่วไป การวางแผนทั่วไป เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หน่วยงานบรรลุผลสำเร็จในการดำเนินงานทั่วไป ส่วนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนำหน่วยงานไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต 1.3 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องตอบคำถามหลัก 3 ประการ การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆ ก็ตามเปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆ ในใจก่อน คือ 1. หน่วยงานของเราตอนนี้อยู่ตรงไหน? 2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร? 3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย? คำถามทั้งสามข้อนำมาซึ่งกระบวนการที่เรียกว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning) ซึ่งจะเป็นคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อ…