อัพเดทเนื้อหาให้คุณได้รู้ก่อนใคร...

กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ตราไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา มีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (บังคับใช้วันที่ 14 พฤษภาคม 2540) การนำไปใช้และความเป็นกฎหมายกลาง วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามกฎหมายต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายใดกำหนดวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองเรื่องใดไว้โดยเฉพาะและมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม หรือมีมาตรฐานในการปฏิบัติราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง[1] วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองวรรคก่อนมิให้ใช้บังคับกับขั้นตอนและระยะเวลาอุทธรณ์หรือโต้แย้งที่กำหนดในกฎหมาย[2] ห้ามบังคับใช้กับหน่วยงานหรือการดำเนินงานดังต่อไปนี้ 1. รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี[3] 2. องค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ 3. การพิจารณาของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีในงานทางนโยบายโดยตรง 4. การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลและการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี และการวางทรัพย์ 5. การพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์และการสั่งการตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา 6. การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ 7. การดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหาร 8. การดำเนินงานตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญา…

กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

เจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีความมุ่งหมายที่จะไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่เกิดขึ้นโดยความไม่ตั้งใจหรือความผิดพลาดเพียงเล็กน้อยในการปฏิบัติหน้าที่และไม่ต้องการให้นำหลักเรื่องลูกนี้ร่วมในกฎหมายแพ่งมาใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่ต้องร่วมรับผิดในการกระทำของเจ้าหน้าที่ผู้อื่นโดยมุ่งหมายแต่เพียงจะให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนครบตามจำนวน โดยไม่ได้คำนึงถึงความเป็นธรรมที่จะมีต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่และบั่นทอนขวัญและกำลังใจในการทำงานของเจ้าหน้าที่จนเป็นปัญหาในการบริหารราชการ[1] พระราชบัญญัตินี้มีการ บังคับใช้วันที่ 15 พฤศจิกายน 2539 เป็นต้นมามีเนื้อหาเพียง 15 มาตรา ซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจ และการออกข้อสอบนั้นสามารถแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ถามตรงตามตัวบทกฎหมาย และถามในลักษณะที่เป็นโจทย์ตุ๊กตา[2] เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานประเภทอื่น ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งในฐานะเป็นกรรมการหรือฐานะอื่นใด หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐ[3] หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวได้โดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดให้ถือว่ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐที่ต้องรับผิด ถ้าการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดในการนั้นเป็นการเฉพาะตัว ในกรณีนี้ผู้เสียหายอาจฟ้องเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง แต่จะฟ้องหน่วยงานของรัฐไม่ได้…

กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

หลักการหรือแนวความคิดของกฎหมายฉบับนี้ คือ สิ่งใดที่เป็น “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” ย่อมเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือประชาชนทั่วไปได้เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประชาชนทุกคนย่อมเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ เพราะแนวคิดตามกฎหมายเดิมจะมีอยู่ว่า “ปกปิดเป็นหลัก เปิดเผยเป็นข้อยกเว้น” รูปธรรมที่ตามมาจากแนวคิดเดิม คือ เอกสารส่วนใหญ่ของราชการจะตีตราว่า ปกปิด ลับ ลับมาก หรือลับที่สุด หรือสถานที่ราชการห้ามเข้า เป็นต้น แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนไป มีการปฏิรูปการเมือง จึงเกิดหลักประกันการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการให้แก่ประชาชน ซึ่งก็คือกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการนั่นเอง ซึ่งสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่ให้ประชาชนตรวจสอบการทำงานของราชการได้ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติราชการมีความโปร่งใสมากขึ้น และแนวคิดใหม่ของกฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ คือ “เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” แรกทีเดียวมีผู้เสนอว่ากฎหมายนี้ควรชื่อว่า “กฎหมายว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการ” แต่เกรงว่าอาจทำให้ประชาชนทั่วเข้าใจผิดว่าข้อมูลข่าวสารของราชการทุกประเภทจะต้องเปิดเผย เพราะในความเป็นจริงอาจมีข้อมูลข่าวสารบางรายการสมควรเก็บไว้เป็นความลับ กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น “จุดเปลี่ยนแห่งศตวรรษ” เนื่องจากเป็นการ “เปลี่ยนกระบวนทัศน์” หรือมุมมองเกี่ยวกับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการโดยประชาชน อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องทำตัวให้สอดคล้องกับหลักการของกฎหมายนี้ และในขณะเดียวกันประชาชนก็ต้องขยันใช้กลไกของกฎหมายนี้อย่างสุจริตด้วย เพื่อให้การตรวจสอบการทำงานของข้าราชการเป็นผลอย่างจริงจัง พระราชบัญญัตินี้ตราขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา และให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด…

พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

ความเป็นมาของพระราชกฤษฎีกานี้คือ มาตรา 3/1 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติราชการเพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พระราชกฤษฎีกานี้จึงบังคับใช้วันที่ 10 ตุลาคม 2546 เป็นต้นมาโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และการปฏิบัติราชการในเรื่องใดสมควรที่ส่วนราชการใดจะปฏิบัติเมื่อใด และมีเงื่อนไขอย่างใดให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร. “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังนี้ 1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3. มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น 5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ 6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ 7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง…

ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ

เหตุที่ต้องมีการจัดระเบียบงานสารบรรณขึ้น ก็เนื่องด้วยองค์การต่างๆ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวใหญ่ขึ้น สลับซับซอนขึ้น งานหนังสือก็ต้องมากขึ้นตามตัว และหากองค์การใดที่ไม่มีการจัดระเบียบงานสารบรรณแล้ว ก็เป็นที่แน่นอนว่า เอกสารจะมากขึ้นๆ กองทับถมซับซ้อนยากแก่การค้นหาเมื่อต้องการใช้ ฉะนั้น องค์การนั้นก็ไม่สามารถที่จะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทันท่วงทีได้ จึงนับว่างานสารบรรณมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลไม่น้อยระเบียบนี้บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2526 มีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ และมีสาระสำคัญดังนี้ “งานสารบรรณ” หมายความว่า งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย “หนังสือ” หมายความว่า หนังสือราชการ “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น “ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หนังสือ มี 6 ชนิด คือ 1.

ระเบียบเกี่ยวกับการรักษาความลับของทางราชการ

ในส่วนนี้มีระเบียบที่ต้องศึกษาอยู่ 2 ระเบียบคือ ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544 มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการและทุก 5 ปีเป็นอย่างน้อย ให้นายกรัฐมนตรีจัดให้มีการทบทวนการปฏิบัติการและพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบนี้ให้เหมาะสม บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2544 เป็นต้นมาโดยมีนิยามที่สำคัญดังนี้ 1.1 นิยาม “ข้อมูลข่าวสารลับ” หมายความว่า ข้อมูลข่าวสารที่มีคำสั่งไม่ให้เปิดเผยและอยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ[1] ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐหรือที่เกี่ยวกับเอกชนซึ่งมีการกำหนดให้มีชั้นความลับเป็น ชั้นลับชั้นลับมาก หรือชั้นลับที่สุด “หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ”[2] หมายความว่า 1. หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับราชการส่วนภูมิภาค[3] 3. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี ประธานสภาตำบล ประธานกรรมการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล[4] นายกเมืองพัทยา สำหรับราชการส่วนท้องถิ่น 4.

กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

พระราชบัญญัติการจัดชื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 1.1 ความเป็นมา เดิมการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐ มีระเบียบใช้ปฏิบัติที่หลากหลาย ไม่มีกฎหมายกลางคือต่างหน่วยงานต่างใช้ ราชการส่วนกลาง และราชการส่วนภูมิภาค ก็จะมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 (Electronic Auction : e - Auction) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล ก็จะใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เมื่อหน่วยงานของรัฐต่างก็ใช้กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้ไม่มีมาตรฐานกลาง การไม่มีระบบการรวมศูนย์การจัดซื้อจัดจ้าง และการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน ทำให้ยากแก่การตรวจสอบ รัฐบาลประสงค์ให้มีกฎหมายกลาง “เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐมีกรอบการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลางเพื่อให้หน่วยงานของรัฐทุกแห่งนำไปปฏิบัติ...” กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางจึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)…

ความรู้ด้านวิชาทางการเมือง การปกครอง และการบริหารราชการแนวใหม่

1.1 ความหมายของการเมือง การปกครอง การเมือง (Politics) หมายถึง เรื่องที่เกี่ยวกับการแข่งขันเพื่อแสวงหาอำนาจ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับการแสวงหาอำนาจ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมหรือส่วนใหญ่ของสังคม การปกครอง (Government) คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และการปกครองส่วนท้องถิ่น การเมืองและการปกครองจะมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน เพราะการปกครองจำเป็นต้องอาศัยอำนาจคือการเมืองจึงจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จ ดังนั้นการศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองจึงหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับองค์กรที่ใช้อำนาจและระเบียบกฎเกณฑ์การใช้อำนาจทางการบริหาร 1.2 การเมืองไทย การเมืองไทยในปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยวซึ่งมีการปกครองในกรอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภาภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยที่พระมหากษัตริย์ ซึ่งปัจจุบันคือพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประมุขแห่งรัฐ ส่วนนายกรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันคือประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลไทยเป็นผู้ใช้อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติอยู่กับรัฐสภาไทย ซึ่งแบ่งเป็นสองสภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ โดยมีประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด และประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นประมุขในส่วนของตน (…

วิสัยทัศน์ พันธกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่และภารกิจของกรมการปกครอง และกระทรวงมหาดไทย

กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดีรับผิดชอบงานมหาดไทย หรืองานการปกครองประเทศและได้มีการแบ่งหน้าที่ระหว่างกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม ให้ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อนกัน โดยให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบรวมการบังคับบัญชาหัวเมืองทั้งหมด เพียงกระทรวงเดียว กระทรวงมหาดไทยเมื่อแรกตั้งแบ่งออกเป็น 3 กรม มีชื่อเรียกตามทำเนียบเดิม แต่ให้มีหน้าที่ต่างกัน คือ กรมมหาดไทยกลาง เป็นพนักงานทำการทุกอย่าง ซึ่งมิให้แยกออกไปเป็นหน้าที่กรมอื่น กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกการปราบปรามโจรผู้ร้ายกับแผนกอัยการ รวมทั้งการเกี่ยวข้องกับชาวต่างประเทศ กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภัง ให้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกปกครองท้องที่ สำหรับการปกครองในส่วนภูมิภาคได้กำหนดรูปแบบการปกครองที่เรียกว่า “เทศาภิบาล” ขึ้นมาใช้ และได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแลโดยจัดแบ่งหัวเมืองออกเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ โดยมีสมุหเทศาภิบาล ผู้ว่าราชการเมืองและนายอำเภอ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการดูแลทุกข์สุขของประชาชนในเขตท้องที่นั้นๆ และมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือปฏิบัติงานในระดับตำบล และหมู่บ้าน กรมมหาดไทยฝ่ายพลำภังจึงเป็นต้นกำเนิดของกรมการปกครอง ซึ่งได้มีการเปลี่ยนชื่อและปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการภายในมาเป็นลำดับ ดังนี้ พ.ศ. 2458 กรมพลำภัง มีส่วนราชการย่อย…

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)

โครงสร้างของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สรุปได้ทั้งหมด 6 ส่วน[1] O 1. เรื่องทั่วไป แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570) มีสถานะเป็นแผนระดับที่ 2 เป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ และใช้เป็นกรอบสำหรับการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้การดำเนินงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่คาดหวังไว้ได้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มต้น ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ครอบคลุมปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2570 ซึ่งเป็นระยะ 5 ปีที่สองของยุทธศาสตร์ชาติ ในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อให้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว…

โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0

หากย้อนหลังไปในอดีต ประเทศไทยเองก็มีการปรับโมเดลเศรษฐกิจอยู่หลายครั้ง เริ่มจาก “โมเดลประเทศไทย 1.0” ที่เน้นภาคการเกษตร ไปสู่ “โมเดลประเทศไทย 2.0” ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา และก้าวสู่ “โมเดลประเทศไทย 3.0” ในปัจจุบันที่เน้นอุตสาหกรรมหนัก อย่างไรก็ดี ภายใต้ “โมเดลประเทศไทย 3.0” นั้น นอกจากต้องเผชิญกับกับดักประเทศรายได้ปานกลางแล้ว เรายังต้องเผชิญกับ “กับดักความเหลื่อมล้ำของความมั่งคั่ง” และ “กับดักความไม่สมดุลในการพัฒนา” กับดักเหล่านี้เป็นประเด็นที่ท้าทายรัฐบาล ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อก้าวข้าม “ประเทศไทย 3.0” ไปสู่ “ประเทศไทย 4.0” “ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” กล่าวคือ ในปัจจุบัน เรายังติดอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบ “ทำมาก…

การวางแผนเชิงกลยุทธ์ และการบริหารเชิงกลยุทธ์

1.1 ความหมายของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ คือ การวางแผนที่มีการกำหนดวิสัยทัศน์ มีการกำหนดเป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการทำงานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สำหรับการทำงานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการระบบการทำงานที่คล่องตัว ต้องการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนำสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้หน่วยงานมีความอยู่รอด ได้ในอนาคต 1.2 ความแตกต่างของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ กับการวางแผนทั่วไป การวางแผนทั่วไป เป็นการวางแผนเพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้หน่วยงานบรรลุผลสำเร็จในการดำเนินงานทั่วไป ส่วนการวางแผนเชิงกลยุทธ์ เป็นการวางแผนเพื่อนำหน่วยงานไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ก้าวสู่วิสัยทัศน์ที่ต้องการในอนาคต 1.3 การวางแผนเชิงกลยุทธ์ จะต้องตอบคำถามหลัก 3 ประการ การจะดำเนินการกิจกรรมใดๆ ก็ตามเปรียบเสมือนการขับรถมุ่งไปที่ใดที่หนึ่ง ก่อนที่เราจะทำการสตาร์ทเครื่องยนต์เราต้องตอบคำถามต่างๆ ในใจก่อน คือ 1. หน่วยงานของเราตอนนี้อยู่ตรงไหน? 2. เป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมคืออะไร? 3. จะใช้วิธีไหนจึงจะบรรลุเป้าหมาย? คำถามทั้งสามข้อนำมาซึ่งกระบวนการที่เรียกว่าการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategy Planning) ซึ่งจะเป็นคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อ…

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์

แผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) เป็นที่นิยมใช้กันในการทหาร การศึกสงครามและในด้าน การเมืองระหว่างประเทศ ปัจจุบันนี้การวางแผนแบบแผนยุทธศาสตร์ได้แพร่หลายเข้ามาในวงการเอกชน วงงาน ต่าง ๆ และรวมถึงวงงานของราชการมากขึ้น รัฐบาลมีนโยบายในการปรับเปลี่ยนกระบวนการ จัดทำงบประมาณไปสู่ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ (Strategic Performance Based Budgeting) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 มีการริเริ่มให้กระทรวงจัดทำยุทธศาสตร์รวมทั้งกำหนดเป้าหมาย การให้บริการสาธารณะ โดยคำนึงถึงนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ เป้าหมายการให้ บริการและภารกิจของหน่วยงาน เพื่อให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและการบริการสาธารณะ ของรัฐบาลสอดคล้องกับความต้องการของประชาชน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องมีความรู้และความเข้าใจในกระบวนการ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินการที่ชัดเจนและมีประสิทธิภาพสูงสุด 1. เพื่อระดมความคิดหน่วยงานทั้งภายนอกและภายในของหน่วยงานเพื่อกำหนดทิศทางของ หน่วยงาน และเพื่อตอบสนองต่อกระแสความเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน 2. เป็นแผนแม่บท (Master Plan) เพื่อกำหนดกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) แผนปฏิบัติราชการ 4…

แผนงานโครงการ

1.1 ความหมายของการวางแผน มีผู้ให้คำจำกัดความของการวางแผนไว้หลายลักษณะ เช่น การมองอนาคต การเล็งเห็นจุดหมายที่ต้องการ การคาดปัญหาเหล่านั้นไว้ล่วงหน้าไว้อย่างถูกต้อง ตลอดจนการหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ เหล่านั้น การวางแผน เป็นการใช้ความคิดมองจินตนาการตระเตรียมวิธีการต่างๆ เพื่อคัดเลือกทางที่ดีที่สุดทางหนึ่ง กำหนดเป้าหมายและวางหมายกำหนดการกระทำนั้น เพื่อให้สำเร็จลุล่วงไปตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ การวางแผน เป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับการกำหนดสิ่งที่จะกระทำในอนาคต การประเมินผลของสิ่งที่กำหนดว่าจะกระทำและกำหนดวิธีการที่จะนำไปใช้ในการปฏิบัติ ถ้าจะกล่าวโดยสรุป การวางแผนก็คือการคิดการหรือกะการไว้ล่วงหน้าว่าจะทำอะไร ทำไม ทำที่ไหน เมื่อไร อย่างไร และใครทำ โดยสรุป การวางแผนจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ อนาคต การตัดสินใจ และการปฏิบัติ 1.2 ประโยชน์ของการวางแผน 1. การวางแผนเป็นเครื่องช่วยให้มีการตัดสินใจอย่างมีหลักเกณฑ์ เพราะได้มีการศึกษาสภาพเดิมในปัจจุบันแล้ว กำหนดสภาพใหม่ในอนาคต ซึ่งได้แก่การตั้งวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมาย แล้วหาลู่ทางที่จะทำให้สำเร็จตามที่มุ่งหวัง นักวางแผนมีหน้าที่จัดทำรายละเอียดของงานจัดลำดับความสำคัญพร้อมทั้งข้อเสนอแนะที่ควรจะเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ตัดสินใจพิจารณา 2. การวางแผนเป็นศูนย์กลางประสานงานเช่น ในการจัดการศึกษาเราสามารถใช้การวางแผนเพื่อประสานงานการศึกษาทุกระดับและทุกสาขาให้สอดคล้องกันได้ 3. การวางแผนทำให้การปฏิบัติงานต่างๆเป็นไปโดยประหยัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพราะการวางแผนเป็นการคิดและคาดการณ์ไว้ล่วงหน้าและเสนอทางเลือกที่จะก่อให้เกิดผลที่ดีที่สุด…

การติดตามและประเมินผล

การติดตามโครงการ (Monitoring) หมายถึง กระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล เกี่ยวกับปัจจัยนำเข้า (Input) การดำเนินงาน (Process) และผลการดำเนินงาน (Output) เพื่อเป็นข้อมูลย้อนกลับ สำหรับการกำกับ ทบทวน และ แก้ไขปัญหาขณะดำเนินโครงการ การประเมินโครงการ (Evaluation) หมายถึง กระบวนการตรวจสอบและตัดสินคุณค่า เกี่ยวกับปัจจัยนำเขา การดำเนินงานและผลการดำเนินโครงการ เพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับการปรับปรุงการดำเนินการ สรุปผลสำเร็จและพัฒนาโครงการต่อไป การดำเนินการโครงการใดๆ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ 1. การวางแผน (Planning หรือ Project Design) เป็นการศึกษาข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ เพื่อสร้างวิสัยทัศน์อันจะนำไปสู่การกำหนดรายละเอียดในแต่ละส่วนโครงการ ได้แก่การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายแนวทางการดำเนินงานและผลที่คาดว่าจะได้ 2. การดำเนินงาน/การปฏิบัติตามแผน (Implementation) เป็นขั้นตอนการบริหารงานเพื่อดำเนินกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ในส่วนของการวางแผน เป็นการบริหารจัดการทรัพยากรให้ไปสู่เป้าหมายของโครงการ 3. การติดตามและประเมินผล…