อัพเดทเนื้อหาให้คุณได้รู้ก่อนใคร...

กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่

ตั้งแต่ได้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่รัตนโกสินทร์ศก 116 ก็ได้มีการใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พุทธศักราช 2457 โดยบังคับใช้วันที่ 17 กรกฎาคม 2457 เป็นต้นมา ได้มีการแก้ไขหลายครั้งโดยในปี พ.ศ. 2552 นั้นทำให้การยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านจะกระทำมิได้ ล่าสุดในปี พ.ศ. 2557 ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 102/2557 ลงวันที่ วันที่ 21 กรกฎาคม 2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ โดยเพิ่มอำนาจให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครองอีกหนึ่งอย่างคือ การตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านร่วมกับผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ เป็นต้น และเนื่องจากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้มานาน ภาษาที่ใช้บางครั้งอาจจะไม่คุ้นเคย เช่นคำว่า ผู้ว่าราชการเมือง ก็คือผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันนั้นเอง 1.1 บ้านและเจ้าบ้าน บ้าน หมายความว่า เรือนหลังเดียวก็ตาม หลายหลังก็ตาม…

กฎหมายว่าด้วยการคัดเลือกกำนัน

1. นิยาม “ที่คัดเลือกกำนัน” หมายความว่า สถานที่ที่กำหนดให้ทำการคัดเลือกกำนัน “ผู้มีสิทธิลงคะแนน” หมายความว่า ผู้ใหญ่บ้านในตำบลที่มีการคัดเลือกกำนันซึ่งได้มาประชุม เพื่อคัดเลือกกำนัน และอยู่ในที่ประชุมนั้นขณะถึงเวลาลงคะแนน ณ ที่คัดเลือกนั้น 2. การคัดเลือกกำนันและการดำเนินการของอำเภอ เมื่อตำแหน่งกำนันว่างลงให้มีการคัดเลือกกำนันขึ้นใหม่ภายใน 45 วัน หากมีความจำเป็นไม่อาจจัดให้มีการคัดเลือกกำนันภายใน 45 วัน ให้นายอำเภอรายงานผู้ว่าราชการจังหวัดขอขยายเวลาออกไป และการคัดเลือกกำนันให้นายอำเภอดำเนินการดังนี้ 1. ประกาศกำหนดให้มีการคัดเลือกกำนัน ภายใน 3 วัน 2. กำหนดวัน และเวลาประชุมคัดเลือกกำนัน ต้องไม่เกิน 45 วัน 3. ปิดประกาศให้มีการประชุมคัดเลือกกำนัน ภายใน 7 วัน 4. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกประกอบด้วย นายอำเภอเป็นประธาน ผู้ที่นายอำเภอเห็นสมควร และปลัดอำเภอเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้นายอำเภอกำหนดให้ที่ว่าการอำเภอเป็นสถานที่คัดเลือกกำนัน การประชุมคัดเลือกกำนันต้องเป็นไปโดยเปิดเผย…

กฎหมายว่าด้วยการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ล่าสุด

1. นิยาม คณะกรรมการเลือก หมายความว่า คณะกรรมการเลือกผู้ใหญ่บ้านตามคำสั่งแต่งตั้งของนายอำเภอ 2. เหตุที่ต้องมีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน เมื่อมีการจัดตั้งหมู่บ้านใหม่ หรือตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลงด้วยเหตุใด ให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านโดยวิธีลับ ภายในเวลา 30 วัน กรณีตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านใดว่างลงเพราะวันที่มีอายุครบ 60 ปี วันที่มีคำสั่งให้พ้น หรือวันที่ตาย ให้นายอำเภอจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านภายใน 30 วัน ถ้านายอำเภอไม่อาจจัดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้าน ภายใน 30 วัน ให้รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดขยายเวลาออกไป 3. การดำเนินการของอำเภอ ที่เลือกผู้ใหญ่บ้าน ให้นายอำเภอกำหนด คูหาลงคะแนนให้มีจำนวน 3 คูหาเป็นอย่างน้อย การเปลี่ยนแปลงที่เลือกผู้ใหญ่บ้านให้กระทำก่อนวันเลือก ไม่น้อยกว่า 10 วัน และการเลือกผู้ใหญ่บ้านให้นายอำเภอดำเนินการดังนี้ 1. ประกาศกำหนดให้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านภายใน 3 วัน 2. กำหนดวันรับสมัครภายในระยะเวลา 10…

กฎหมายเกี่ยวกับการเป็นกรรมการหมู่บ้าน

1. องค์กรในหมู่บ้านหรือกลุ่มอาชีพ กลุ่มบ้าน ได้แก่ บ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันเป็นกลุ่มย่อยภายในหมู่บ้าน กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการประกอบอาชีพ กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มที่มีการจัดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ในกลุ่ม หรือเพื่อประโยชน์ส่วนรวม 2. ผู้นำกลุ่ม ผู้นำของกลุ่มดังต่อไปนี้ เป็นกรรมการหมู่บ้านโดยตำแหน่ง (ผู้นำเท่านั้น) และผู้นำกลุ่มบ้านต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้มีสิทธิเลือกผู้ใหญ่บ้าน 1. กลุ่มบ้านตามประกาศของนายอำเภอ 2. กลุ่ม กลุ่มกิจกรรม ซึ่งมาจากการรวมตัวของสมาชิก ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 3. กลุ่มอาชีพ กลุ่มกิจกรรม ต้องมีสมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน สมาชิกไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง มีภูมิลำเนาในหมู่บ้าน และต้องเป็นกลุ่มที่ดำเนินการมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 6 เดือน 3. การจัดทำบัญชีรายชื่อกลุ่มบ้าน ให้นายอำเภอ จัดทำประกาศจำนวนรายชื่อของกลุ่มบ้าน โดยกลุ่มบ้านให้ประกอบด้วยบ้านเรือนจำนวน 15 –…

กฎหมายเกี่ยวกับการเบิกจ่ายเงินตอบแทนตำแหน่ง

1. อัตราเงินค่าตอบแทน เงินตอบแทนตำแหน่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ให้จ่ายในอัตรา ดังนี้[1] 1. กำนัน ให้จ่ายเดือนละ 12,000 บาท 2. ผู้ใหญ่บ้าน ให้จ่ายเดือนละ 10,000 บาท 3. แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ให้จ่ายเดือนละ 6,000 บาท 2.อัตราค่าตอบแทนกรณีดำรงตำแหน่งควบ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ ถ้าดำรงตำแหน่งเกินกว่าหนึ่งตำแหน่งให้มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนตำแหน่ง เพียงตำแหน่งเดียว เว้นแต่แพทย์ประจำตำบล ที่ดำรงตำแหน่งแพทย์ประจำตำบลอื่นด้วย ให้มีสิทธิรับค่าตอบแทน ไม่เกิน 2 ตำบล 3.

กฎหมายเกี่ยวกับการแบ่งชั้นรางวัล

1. ระดับชั้นรางวัล รางวัล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน มี 2 ชั้น ดังนี้ - รางวัลชั้นที่ 1 - รางวัลชั้นที่ 2 2. ประเภทชั้นรางวัล รางวัลชั้นที่ 1 แบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้ 1. รางวัลกำนันยอดเยี่ยม ได้แก่ แหนบทองคำ, อาวุธปืนสั้น, เครื่องแบบปกติขาว - ครั้งที่ 2 แหนบทองคำ, ลูกซองยาว 5 นัด, เครื่องแบบปกติขาว - ครั้งที่ 3 ขึ้นไป แหนบทองคำ,…

กฎหมายเกี่ยวกับการวิธีการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใหญ่บ้าน

1. ความเป็นมา พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2551 มีบทบัญญัติกำหนดให้ผู้ใหญ่บ้าน ต้องพ้นจากตำแหน่ง ด้วยเหตุไม่ผ่านการประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งต้องทำ อย่างน้อยทุก 5 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง 2. การบังคับใช้ บังคับกับผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน 2551 เป็นต้นไป และผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี ก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้เข้ารับการประเมินผลครั้งแรกภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ส่วนการประเมินผล ครั้งถัดไปให้ดำเนินการประเมินผลทุก 4 ปี นับแต่วันที่นายอำเภอประกาศให้ผ่านการประเมินผล 3. การประเมินผลผู้ใหญ่บ้าน ให้มีการประเมินผลผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการแต่งตั้ง และดำรงตำแหน่งครบ 5 ปี ส่วนการประเมินผลครั้งถัดไปให้ดำเนินการประเมินผลทุก…

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป

กฎหมาย คือข้อบังคับของรัฐซึ่งกำหนดความประพฤติของมนุษย์ ถ้าฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “ข้อบังคับแห่งความประพฤติ” คำว่ากฎหมาย อาจหมายความถึงกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป คือความรู้เกี่ยวกับวิชาที่ว่าด้วยความรู้สึกนึกคิดและหลักเกณฑ์ที่เป็นรากฐานของกฎหมาย เดิมเรียกว่าวิชาธรรมศาสตร์ อันเป็นศาสตร์เบื้องต้นในกฎหมายวิชาธรรมศาสตร์ฉบับที่มีชื่อเสียงที่สุดได้แก่ธรรมศาสตร์ฉบับของพระมโนสาราจารย์ ซึ่งได้รวบรวมขึ้นในประเทศอินเดียในราว 100 ปี ก่อนคริสตกาล 1. วิวัฒนาการของกฎหมาย วิวัฒนาการของกฎหมาย หรือ ความเป็นมาของกฎหมาย จะแบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ 1. ยุคกฎหมายชาวบ้าน กฎหมายยุคชาวบ้านเป็นกฎหมายที่มีหลักเกณฑ์เพื่อควบคุมความประพฤติในรูปของขนบธรรมเนียมประเพณี ใช้เหตุผลและหลักการธรรมดาที่ชาวบ้านรู้ได้ว่าคือ กฎหมาย เช่น ขนบธรรมเนียมในวันสงกรานต์ ขนบธรรมเนียมการแต่งตัวในวันสำคัญ ขนบธรรมเนียมการแต่งงาน เป็นต้น และในยุคนี้ยังไม่มีนักกฎหมาย 2. ยุคกฎหมายของนักกฎหมาย สังคมมีการพัฒนาที่ซับซ้อนขึ้น ทำให้ใช้กฎหมายชาวบ้านในการตัดสินการกระทำบางอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นต้องพึ่งนักกฎหมายที่จะต้องคิดกฎเกณฑ์เพิ่มเติม สำหรับเป็นเหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด 3.

กฎหมายอาญา

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายอาญา ในการสอบปลัดอำเภอนั้นถามไม่เกิน 3 ข้อ และจะไม่ถามละเอียดถึงว่าโทษจำคุกเท่าไหร่ จะถามหลักของกฎหมายเป็นส่วนใหญ่ ทางเราจึงได้ตัดส่วนของอัตราโทษออก เหลือเฉพาะที่เป็นสาระสำคัญจริงๆ และหลักกฎหมาย อีกอย่างหนึ่งที่ออกข้อสอบบ่อยมากคือ นำหลายๆ มาตรามารวมกันแล้วถามเป็นข้อเดียว ว่าข้อใดถูกหรือผิด บวกกับประสบการณ์ของผู้เขียนเอง จึงทำให้ท่านผู้อ่านมั่นใจได้ว่าในส่วนของประมวลกฎหมายอาญา แค่อ่านหลักกฎหมายต่อไปนี้ให้จำได้ ก็ทำข้อสอบได้แล้ว 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ 1. “โดยทุจริต” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น 2. “ทางสาธารณ” หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย 3. “สาธารณสถาน” หมายความว่า สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ 4. “เคหสถาน” หมายความว่า ที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น เรือน โรง เรือ หรือแพ ซึ่งคนอยู่อาศัย และให้หมายความรวมถึงบริเวณของที่ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัยนั้นด้วย…

กฎหมายแพ่ง

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่งนั้นถือว่าเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปลัดอำเภอมากที่สุด โดยเฉพาะปลัดอำเภอที่อยู่ฝ่ายทะเบียนและบัตร สำหรับ ว.วิชาการ แล้วถือว่ากฎหมายแพ่งสำคัญที่สุดจากประมวลกฎหมายทั้ง 4 ฉบับ ก่อนที่จะศึกษาในรายละเอียดสิ่งแรกที่เราต้องทำความเข้าใจคือ ชื่อของกฎหมาย ชื่อเต็มคือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่กรมการปกครองบรรจุเข้าไปในการสอบเฉพาะ “แพ่ง” ไม่มี “พาณิชย์” กฎหมายพาณิชย์ คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการเช่าทรัพย์ การจำนำ เป็นต้น หรือเป็นกฎหมายเฉพาะพ่อค้ากับพ่อค้า แต่เราสอบราชการจึงไม่ต้องศึกษารายละเอียดในส่วนของ “พาณิชย์” แต่ที่เราจะศึกษากันคือส่วนของ “แพ่ง” อาทิ บุคคล สมาคม นิติกรรม ประนีประนอมยอมความ บรรพ 5 ครอบครัว บรรพ 6 มรดกฯ เมื่อเราได้ขอบเขตของเนื้อหาที่จะอ่านและทำความเข้าใจกันแล้วต่อไปก็จะเข้าสู่สาระสำคัญของประมวลกฎหมายแพ่ง[1]…

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้เนื่องจากตำแหน่งปลัดอำเภอไม่ได้ใช้กฎหมายโดยตรงอย่างผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ เป็นต้น ดังนั้นจึงได้นำเนื้อหาที่สำคัญ เฉพาะเป็นประเด็นสอบเท่านั้น ดังนั้นแม้เนื้อหาของประมวลกฎหมายนี้จะเยอะ ให้ท่านมั่นใจได้เลยว่าอ่านแค่นี้ก็ถือว่ามากพอแล้วสำหรับความรู้ที่จะใช้สอบในวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะหนังสือของสำนักอื่นฯ ก็ไม่ได้เขียนไว้แต่อย่างใด หรือแนะนำให้ไปอ่านประมวลโดยตรง ซึ่งเนื้อหาก็มาก จนไม่รู้ว่าจะไปอ่านตรงไหน หรือตรงไหนคือสาระสำคัญ แต่ทาง ว.วิชาการก็ได้นำสาระสำคัญที่เกี่ยวกับปลัดอำเภอที่กรมการปกครอง สามารถออกข้อสอบได้มาให้ท่านได้ศึกษา ดังนี้ 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ “ผู้ต้องหา” หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล “จำเลย” หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ” หมายความถึงเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่” หมายความถึง เจ้าพนักงานดังต่อไปนี้ 1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย 2. รองปลัดกระทรวงมหาดไทย 3. ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย 4. ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย 5. อธิบดีกรมการปกครอง 6. รองอธิบดีกรมการปกครอง…

กฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง

สาระสำคัญของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในการสอบปลัดอำเภอนั้นนำมาออกข้อสอบแต่ไม่มากประมาณ 1 – 2 ข้อ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้นเป็นกฎหมายที่บังคับระหว่างเอกชนกับเอกชนมากกว่า ไม่ใช่กฎหมายที่เกี่ยวกับรัฐและเอกชน แต่ก็ออกข้อสอบทุกครั้งที่มีการสอบปลัดอำเภอ เนื่องจากได้กำหนดไว้ในหลักสูตรการสอบ เพื่อให้ครอบคลุม และไม่ให้คะแนนเสียไป เพราะหนึ่งคะแนนในการสอบปลัดอำเภอนั้นมีความหมายมาก ทาง ว.วิชาการ จึงได้นำหลักกฎหมายที่เคยออกข้อสอบ และเป็นหัวใจหรือ Keyword “คีย์เวิร์ด” สำคัญที่สามารถนำมาเป็นข้อสอบได้ จึงทำให้ท่านผู้อ่านมั่นใจได้ว่าในส่วนของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพียงแค่อ่านหลักกฎหมายต่อไปนี้ ก็ทำข้อสอบได้แล้ว 1. ความหมายและนิยามที่สำคัญ 1. “คำฟ้อง” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอด้วยวาจาหรือทำเป็นหนังสือ ไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอหรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้งหรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยสมัครใจ หรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่ 2. “คำให้การ” หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ซึ่งคู่ความฝ่ายหนึ่งยกข้อต่อสู้เป็นข้อแก้คำฟ้อง 3. “คำคู่ความ”…

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญเป็นผู้ยกร่าง รัฐบาลเป็นผู้ตรา เริ่มใช้ ณ วันที่ 6 เมษายน 2560 (วันเริ่มใช้รัฐธรรมนูญ คือวันเดียวกันกับวันที่ลงนามรับรองและประกาศ) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) เป็นผู้ลงนามรับรอง รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้ มีทั้งหมด 16 หมวด 279 มาตรา 1 บทเฉพาะกาล ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก โดยมีรายละเอียดดังนี้ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ (ความเป็นรัฐเดียว ม.1) ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (รูปแบบการปกครอง ม.2) อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี…

กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ความมีประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในเชิงภารกิจแห่งรัฐการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน การลดภารกิจและยุบเลิกหน่วยที่ไม่จำเป็น การกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น การกระจายอำนาจตัดสินใจ การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยมีผู้รับผิดชอบต่อผลของงาน 1.1 หลักการปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการและการสั่งการให้ส่วนราชการและข้าราชการปฏิบัติก็ได้ 1.2 หลักการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินให้จัดระเบียบการบริหารดังนี้ 1. ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง 2. ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค 3. ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 1.3 หลักการแบ่งส่วนราชการ การแบ่งราชการออกเป็นส่วนต่าง ๆ ให้กำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนโดยคำนึงถึงคุณภาพและปริมาณงานของส่วนราชการนั้น ๆ ส่วนราชการที่อยู่ในการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลางมีฐานะเป็นนิติบุคคล ดังนี้ 1. สำนักนายกรัฐมนตรี (มีฐานะเป็นกระทรวง) 2. กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง 3. ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง 4. กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม…

กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน

ในส่วนของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนมีสาระสำคัญที่เราต้องศึกษาและทำความเข้าใจทั้งหมด 9 ส่วน บังคับใช้วันที่ 26 มกราคม 2551 นายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ โดยมีนิยามที่สำคัญดังนี้ “ข้าราชการพลเรือน” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัตินี้ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่าย พลเรือน “ข้าราชการฝ่ายพลเรือน” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือน และข้าราชการอื่นในกระทรวงกรมฝ่ายพลเรือน ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น “ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและมีฐานะไม่ต่ำกว่ากรม คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า “ก.พ.” อยู่ในตำแหน่งคราวละ 3 ปี ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการเหลืออยู่อีกไม่น้อยกว่า 3 คนให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ เมื่อตำแหน่งกรรมการว่างลงก่อนกำหนดให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการแทนภายในกำหนด 30 วัน เว้นแต่วาระของกรรมการเหลือไม่ถึง 180 วันจะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ และกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการอีกก็ได้ ประกอบด้วยกรรมการโดยตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิ…