อัพเดทเนื้อหาให้คุณได้รู้ก่อนใคร...

งานโรงแรม

โรงแรมในประเทศไทยเริ่มขึ้นมาตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 4 ซึ่งประชาชนมีการไปมาหาสู่กัน ชาวต่างชาติคนจีนที่เข้ามาที่สยามประเทศในเวลานั้นก็จะไปพักตามศาลาวัด ต่อมาเมื่อคณะทูตซึ่งมี สมเด็จพระราโชไทยเสด็จกลับจากยุโรป ก็ได้นำแนวความคิดของการสร้างโรงแรมมาพัฒนา จนกระทั่งเมื่อหนังสือพิมพ์รายปีของ หมอบรัดเลย์ (D.B.Bradley) ฉบับปี พ.ศ. 2406 ก็ได้มีข้อความประกาศเปิดโรงแรมเป็นครั้งแรกในประเทศไทย นั่นคือ ยูเนี่ยน โฮเต็ล (Union Hotel) และ บอร์ดดิ้ง โฮเต็ล (Boarding Hotel) จนมาถึงสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการปรับปรุงโรงแรมครั้งใหญ่ให้มีความสะดวกสบายและหรูหรามากขึ้นกว่าเดิม มีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้ในโรงแรมเป็นครั้งแรกที่ โรงแรมโอเรียนเต็ล มีการเปิดห้องอาหารภายในโรงแรมแบบเต็มระบบและในรัชสมัยนี้เองธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยก็เฟื่องฟูขึ้น มีการเปิดโรงแรมต่างๆ มากมาย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2465 พลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน เป็นโอรสองค์ที่ 35…

งานสถานบริการ

พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 บังคับใช้วันที่ 5 ตุลาคม 2509 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จะกำหนดเขต จำกัดท้องที่หรืองดให้ตั้งสถานบริการ ให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา[1] (Zoning) โดยเบื้องต้นนั้นมี zoning นำร่อง 5 จังหวัด คือ นครนายก สุโขทัย สตูล พิจิตร อ่างทอง และพระราชบัญญัติกำหนดให้ผู้ตั้งสถานบริการที่อยู่ก่อนพระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้มาขอรับใบอนุญาตภายใน 30 วัน สถานบริการ คือ สถานที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ในทางการค้าแบ่งได้ 5 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง เป็นปกติธุระประเภทที่มีและประเภทที่ไม่มีคู่บริการ 2. สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีผู้บำเรอสำหรับปรนนิบัติลูกค้า 3.

ทะเบียนครอบครัว

ความหมาย คำว่า “จดทะเบียนครอบครัว”ไม่ปรากฏความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน สำหรับความหมายในทางปฏิบัติของการปฏิบัติงานทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้ให้ความหมายของทะเบียนครอบครัวไว้ว่า หมายถึง การจดทะเบียนที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลในครอบครัว ที่กฎหมายให้การรับรองและคุ้มครองสิทธิ และกำหนดหน้าที่ของบุคคลได้[1] ทำความเข้าใจ ในส่วนที่ท่านผู้อ่านกำลังอ่านนี้เป็นงานทะเบียนครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานทะเบียนทั่วไป ผู้รับผิดชอบคือส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ คลอง 9 ตำบลบึงทองหลาง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยงานทะเบียนที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนการทะเบียนทั่วไปจะมีทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ 1.ทะเบียนครอบครัว 2.ทะเบียนชื่อบุคคล 3.ทะเบียนพินัยกรรม 4.ทะเบียนนิติกรรม 5.ทะเบียนสัตว์พาหนะ 6.ทะเบียนเกาะ 7.ทะเบียนศาลเจ้า และ 8.ทะเบียนสุสานและฌาปนสถาน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ ทะเบียนครอบครัว ผมพยายามที่จะโฟกัสว่างานทะเบียนครอบครัวที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้เป็นส่วนหนึ่งของงานทะเบียนทั่วไป และทะเบียนครอบครัวก็จะแบ่งออกไปอีกเป็น 7 ประเภท ประเภทของงานทะเบียนครอบครัว งานทะเบียนครอบครัว คือ…

ทะเบียนชื่อบุคคล

พระราชบัญญัตินี้บังคับใช้วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2505 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ ให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวง โดยกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยต้องมีชื่อตัว ชื่อสกุล และจะมีชื่อรองก็ได้ (กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีชื่อรอง) ความหมาย ชื่อตัว หมายความว่า ชื่อประจำบุคคล ชื่อรอง หมายความว่า ชื่อประกอบถัดจากชื่อตัว ชื่อสกุล หมายความว่า ชื่อประจำวงศ์สกุล นายทะเบียน พระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ไม่มีมาตราใดที่กำหนดตำแหน่งของนายทะเบียนเอาไว้ คงมีแต่คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 1430/2505 ลงวันที่ 6 ธันวาคม 2505 เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียน และคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 157/2537 ลงวันที่ 14 มีนาคม 2537 ได้แต่งตั้งนายทะเบียนชื่อบุคคลไว้ดังนี้ 1. นายทะเบียนกลาง คือ ผู้อำนวยการส่วนการทะเบียนทั่วไป สำนักบริหารการทะเบียน 2.

ทะเบียนพินัยกรรม

ความหมายของพินัยกรรม บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ และการแสดงเจตนาย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้าย เงื่อนไขในการทำพินัยกรรม 1. ความสามารถในการทำพินัยกรรม 1. ผู้ประสงค์จะทำพินัยกรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี บริบูรณ์ 2. ต้องไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ 3. บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้ปกครองหรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้ 2. บุคคลที่จะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่ได้ 2.1 ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ 2.2 บุคคลวิกลจริตหรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ 2.3 บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง ผู้ที่รับทรัพย์ตามพินัยกรรมไม่ได้ 1. ผู้เขียนพินัยกรรม 2. คู่สมรสของผู้เขียน 3. พยานในพินัยกรรม 4. คู่สมรสของพยานในพินัยกรรม 5. พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความในพินัยกรรมทำด้วยวาจา 6. คู่สมรสของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความในพินัยกรรมทำด้วยวาจา…

ทะเบียนนิติกรรม

นิติกรรม หมายถึง การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับ ซึ่งสิทธิ[1] งานทะเบียนนิติกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมการอำเภอหรือนายอำเภอในปัจจุบันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ได้แก่ 1. ซื้อขาย (รวมทั้งขายฝากด้วย) 2. แลกเปลี่ยน 3. ให้ 4. จำนอง ฉะนั้น ถ้ากล่าวถึงเรื่องนิติกรรมที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอแล้วจะมีเพียง 4 อย่างนี้เท่านั้น และท่านผู้อ่านอาจสงสัยว่าเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภออย่างไร ในเมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ไม่มีมาตราไหนกำหนดไว้เลย ซึ่งอำนาจหน้าที่นี้เป็นไปตามมาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ที่บัญญัติไว้ว่า “บรรดาหนังสือสำคัญที่ต้องทำตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายและข้อบังคับมิได้ระบุไว้ว่าเป็นหน้าที่ของพนักงานอื่นทำแล้ว ให้เป็นหน้าที่ของกรมการอำเภอ[2]ที่จะทำสำหรับการในอำเภอนั้น” เมื่อไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานใด หรือส่วนราชการใดรับผิดชอบในการจดทะเบียนแล้ว อำนาจหน้าที่การจดทะเบียนนิติกรรม 4 ประเภทนี้ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ…

ทะเบียนสัตว์พาหนะ

พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่สัตว์พาหนะของราชการทหาร “สัตว์พาหนะ” หมายความว่า ช้าง ม้า โค กระบือ ล่อ ลา ซึ่งได้ทำหรือต้องทำตั๋วรูปพรรณ การจดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณสัตว์พาหนะ ได้แก่การกรอกรายการที่เกี่ยวกับเจ้าของสัตว์ และตัวสัตว์ เช่น ชื่อ และตำหนิรูปพรรณ ลงในทะเบียน ซึ่งเรียกว่าตั๋วรูปพรรณ ให้เจ้าของใช้แสดงกำกับสัตว์เป็นการแสดงตำหนิประจำสัตว์ และแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ นอกจากนั้นยังเป็นเอกสารในการซื้อขาย โอน จำนอง ได้อีกด้วย อนึ่ง สำหรับช้างมีวิธีปฏิบัติแตกต่างจากสัตว์พาหนะอื่นเป็นกรณีพิเศษบางประการเพราะพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า พ.ศ. 2464 และพระราชบัญญัติตามช้างรัตนโกสินทร์ศก 127 ได้ถือปฏิบัติอีกอย่างคือ ช้างสำคัญ คือช้างที่มีลักษณะ 7 ประการได้แก่ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อันฑโคตรขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ หรือช้างสีประหลาด (หนังดำ…

ทะเบียนศาลเจ้า

ศาลเจ้าคือสถานที่ก่อสร้างขึ้นเป็นทรวดทรงสำหรับประดิษฐานรูปเคารพ และกระทำตามพิธีกรรม ตามลัทธิของคนบางจำพวก เช่น ชนชาวจีน เป็นต้น และให้หมายความรวมตลอดถึงสถานที่ถาวรซึ่งสร้างขึ้นประกอบกับศาลเจ้า เช่น โรงสำหรับกินเจ เป็นต้น (กฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ. 2463) งานทะเบียนศาลเจ้า หมายถึงเฉพาะบรรดาศาลเจ้าที่ตั้งขึ้นอยู่ในที่ดิน ซึ่งราชการเป็นเจ้าของหรือเป็นผู้ปกปักษ์รักษาเท่านั้น โดยออกเอกสารสิทธิ หรือหนังสือสำคัญของที่ดินในนามกรมการปกครอง สาเหตุที่ทางราชการต้องเข้าไปควบคุมดูแลนั้นเป็นไปตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2547 มาตรา 123 ที่ให้กรมการอำเภอมีหน้าที่คอยตรวจตรา อุดหนุน ผู้ปกปักษ์รักษา อย่าให้ผู้ใดรุกล้ำเบียดที่วัดหรือที่กุศลสถานอย่างอื่น อันเป็นของกลางสำหรับมหาชนนั้น ซึ่งที่ศาลเจ้าเป็นสถานที่เคารพและกระทำพิธีกรรมตามลัทธิของประชาชนบางจำพวก จึงนับว่าเป็นที่กุศลสถานสำหรับมหาชนประเภทหนึ่ง กฎให้ไว้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2463 โดยมหาอำมาตย์นายก เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล และมหาเสวกนายก เจ้าพระยาสุรสีห์วิสิษฐ์ศักดิ์ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เป็นกฎที่บังคับมานานมากแล้ว แต่ก็ยังต้องอ่านสอบเพราะการสอบปลัดอำเภอนั้น กรมการปกครองสามารถนำมาออกข้อสอบได้ เราอาจจะคิดว่าไม่สำคัญ แต่การอ่านข้ามส่วนนี้ไปอาจทำให้เราขาดความมั่นใจได้…

ทะเบียนเกาะ

1. ความหมาย “เกาะ” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมรอบโดยตลอด และมีขนาดเล็กกว่าแผ่นดินที่เป็นทวีป” ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ บรรพ 4 เรื่องทรัพย์สิน หมายถึง “ที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของประเทศก็ดี และท้องทางน้ำที่เขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน” 2. การพิจารณาว่าเป็นเกาะ คณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1309 ได้กำหนดให้เกาะที่เกิดขึ้นในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของประเทศเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน การที่จะพิจารณาว่าเกาะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากสภาพของที่ดินบนเกาะแต่ละเกาะ ถ้าเกาะใดมีที่ดินอยู่หลายส่วน หลายประเภท บางส่วนบางประเภทอาจไม่มีลักษณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินก็ได้ เช่นที่ดินที่ได้ยินยอมให้ประชาชนถือกรรมสิทธิ์หรือครอบครองได้ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือกฎหมายอื่น เป็นต้น แต่ก็อาจมีที่ดินบางส่วนบางประเภทบนเกาะนั้น ซึ่งตามสภาพและการใช้ที่ดินเข้าลักษณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เช่น ถนนที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน หรือสถานที่ราชการที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้น จะถือว่าเกาะทั้งเกาะ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หาได้ไม่ การที่จะวินิจฉัยว่าเกาะใดเกาะหนึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นที่ราชพัสดุนั้น…

ทะเบียนสุสาน และฌาปนสถาน

1. การบังคับใช้ พระราชบัญญัตินี้ไม่บังคับแก่สุสานและฌาปนสถานสาธารณะของ กระทรวง ทบวง กรมกรุงเทพมหานคร องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล หรือเมืองพัทยา ที่จัดตั้งและดำเนินการ พระราชบัญญัตินี้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้รักษาการ มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าพนักงานสาธารณสุขกับออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม 2. ประเภทของสุสานและฌาปนสถาน 1. สุสานและฌาปนสถานสาธารณะ หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับประชาชนทั่วไป แต่ไม่รวมถึงสถานที่ที่ใช้สำหรับเก็บศพชั่วคราวในสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 2. สุสานและฌาปนสถานเอกชน หมายความว่า สถานที่ที่จัดไว้สำหรับเก็บ ฝัง หรือเผาศพ สำหรับตระกูล หรือครอบครัว แต่ไม่รวมถึงสถานที่ที่ใช้สำหรับเก็บศพชั่วคราวในเคหสถาน 3. เจ้าพนักงานท้องถิ่น 1. ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร หรือผู้อำนวยการเขตหรือรองผู้อำนวยการเขตที่ผู้ว่ามอบหมาย ในเขตกรุงเทพมหานคร 2. ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอ ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย สำหรับจังหวัดที่อยู่นอกเขตจังหวัด 3.

งานทะเบียนราษฎร

งานทะเบียนราษฎรแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทะเบียนคน คือ ทะเบียนที่แสดงรายการคนแต่ละคน ตั้งแต่การแจ้งเกิด การแจ้งย้าย จนถึงตาย ทะเบียนบ้าน คือ ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้านที่แสดงรายการของคนที่อยู่ในบ้านทั้งหมด ตั้งแต่การสร้างบ้านหรือขอเลขบ้าน จนถึงการสิ้นสภาพของบ้านไป จำกัดความสั้นๆ แบบนี้คงทำให้ท่านว่าที่ปลัดเข้าใจมากขึ้น เพราะฉะนั้นที่เราจะอ่านต่อไปนี้ก็มีอยู่เพียง 2 ส่วนเท่านั้น และส่วนที่เพิ่มเข้ามาไว้อีกส่วนหนึ่งคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เพราะต้องอ่านควบคู่กัน อย่างท่านอาจจะได้บรรจุเป็นปลัดอำเภอฝ่ายทะเบียนและบัตร การที่ท่านจะเพิ่มชื่อคนในบ้านลงในข้อมูลการทะเบียนราษฎรนั้น ก็ต้องดูใช่ไหมว่าเขาเป็นคนไทย หรือคนต่างด้าว จึงได้รวมเข้าด้วยกันเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ความหมายและคำนิยาม “การทะเบียนราษฎร” หมายถึง งานทะเบียนต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร “ข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร” หมายถึง ข้อมูลตัวบุคคลเกี่ยวกับ ชื่อ ชื่อสกุล เพศ วันเดือนปีเกิดและตาย สัญชาติ ศาสนา…

งานทะเบียนสัญชาติ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการ ให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง กำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขอแปลงสัญชาติเป็นไทย หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย และค่าธรรมเนียมคำขอกลับคืนสัญชาติไทย นิยาม คนต่างด้าว หมายความว่า ผู้ซึ่งไม่มีสัญชาติไทย คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการกลั่นกรองเกี่ยวกับสัญชาติ สัญชาติมีผลเฉพาะตัว การได้สัญชาติ การเสียสัญชาติ การกลับคืนสัญชาติ ให้มีผลต่อเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและให้มีผลเฉพาะตัว การได้สัญชาติไทยโดยการเกิด[1] บุคคลดังต่อไปนี้ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1. ผู้ที่เกิดโดยบิดาหรือมารดาเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่ว่าจะเกิดในหรือนอกราชอาณาจักร 2. ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย (ยกเว้นมาตรา 7 ทวิ)[2] การไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิด 1. ผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย โดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าวย่อมไม่ได้รับสัญชาติไทย ถ้าในขณะเกิดบิดาไม่ได้สมรสกับมารดา หรือมารดาของผู้นั้นเป็น 1. ผู้ที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรไทย 2. ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไทยชั่วคราว 3. เข้ามาในราชอาณาจักรไทยตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง 2. ผู้เกิดในราชอาณาจักรไทยโดยบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ย่อมไม่ได้สัญชาติไทย ถ้าขณะเกิดบิดาหรือมารดาเป็น 1. หัวหน้า…

งานทะเบียนบัตรประจำตัวประชาชน

หลักการอันเป็นที่มาของบัตรประจำตัวประชาชนในขณะนั้นได้มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2475 ซึ่งกำหนดให้กรมการอำเภอเป็นพนักงานทำหนังสือเดินทางสำหรับราษฎรในท้องที่อำเภอนั้น จะนำไปมาค้าขายในท้องที่อื่น ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของประชาชน จะได้มีหนังสือสำคัญของทางราชการไว้แสดงว่าเป็นใคร มาจากที่ใด หนังสือดังกล่าวเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในสมัยนั้นคล้ายกับบัตรประจำตัวประชาชนในสมัยนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2486 ขึ้น ประกาศใช้ในจังหวัดพระนคร หรือกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน แต่หลักการล้าสมัยจึงได้มีการแก้ไขกฎหมายเรื่อยมา จนกระทรวงมหาดไทยได้เสนอให้มีการแก้ไขและประกาศใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มีผลบังคับใช้วันที่ 21 เมษายน 2526 เป็นต้นมา และกำหนดว่าบัตรที่ออกตามพระราชบัญญัติบัตรประชาชน พ.ศ. 2505 ให้ใช้ได้ต่อไปจนครบวันเกิดของผู้ถือบัตร และให้ขอมีบัตรภายใน 90 วัน ผู้ใดมีอายุครบ 15 ปีก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ ต้องขอมีบัตรภายใน 90 วัน นับแต่วันที่รัฐมนตรีประกาศ 1.1 เจ้าพนักงานออกบัตร ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง ซึ่งในปัจจุบันรัฐมนตรีจะแต่งตั้งอธิบดีกรมการปกครองเป็น…

งานทะเบียนมูลนิธิ

มูลนิธิ ได้แก่ทรัพย์สินอันจัดสรรไว้เป็นแผนกเพื่อบำเพ็ญทาน ศาสนา วิทยาศาสตร์ วรรณคดี หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ และไม่ได้แสวงหากำไร ฉะนั้น มูลนิธิจึงเป็นองค์กรการกุศลที่จัดตั้งขึ้นมาและดำเนินการโดยมิได้มุ่งหมายกำไร หรือหวังผลประโยชน์ตอบแทนแต่อย่างใด การจัดตั้งมูลนิธินับได้ว่าเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สังคมอย่างมาก เพราะมูลนิธิเป็นองค์การกุศลที่จะให้การสงเคราะห์ตลอดจนการช่วยเหลือแก่บุคคลโดยไม่เลือกชาติศาสนาและไม่หวังผลตอบแทน จึงอาจสรุปลักษณะของมูลนิธิได้ 3 ประการคือ 1. เป็นกองทรัพย์สิน 2. นำเอาทรัพย์สินไปใช้เพื่อการบำเพ็ญประโยชน์ 3. ไม่ได้แสวงหากำไร จะเห็นได้ว่ามูลนิธิมีข้อแตกต่างจากสมาคมเพราะสมาคมรวมกลุ่มอยู่ได้ด้วยสมาชิกและผลประโยชน์เกิดขึ้นเป็นของสมาชิกหรือห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่มีการรวมตัวเพื่อแสวงหากำไร 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2. กฎกระทรวงว่าด้วยการจดทะเบียนมูลนิธิการดำเนินกิจการและการทะเบียนมูลนิธิ พ.ศ. 2545 3. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 2. นายทะเบียนมูลนิธิ 1. ในกรุงเทพมหานครได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย 2. ในจังหวัดอื่น…

งานทะเบียนสมาคม

สมาคมเป็นนิติบุคคลอีกรูปแบบหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เป็นนิติบุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้งว่าจะต้องเป็นการร่วมกันทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่อง โดยที่กิจกรรมและวัตถุประสงค์ของสมาคมจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ และที่สำคัญการดำเนินการของสมาคมจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ดังจะเห็นได้จากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 78 และมาตรา 82 บัญญัติว่า “การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกัน ต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้” “.....และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ....” 1. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 2. กฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) กฎกระทรวงออกตามความในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2537 3. พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 2. นายทะเบียนสมาคม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแต่งตั้งนายทะเบียนสมาคม ลงวันที่ 15 กันยายน 2547 1. อธิบดีกรมการปกครอง เป็นนายทะเบียนสมาคมในกรุงเทพมหานคร…