อัพเดทเนื้อหาให้คุณได้รู้ก่อนใคร...

วินัยกองอาสารักษาดินแดน

วินัย คือการที่ต้องประพฤติหรือปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและแบบธรรมเนียมของกองอาสารักษาดินแดน ผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เฉพาะในขณะที่รวมกันอยู่เป็นหมู่ หมวด กองร้อย หรือในเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่ ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัด การกระทำผิดวินัยให้รวมถึงการกระทำต่อไปนี้ด้วย 1. ดื้อดึง ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ 2. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย 3. ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของกองอาสารักษาดินแดน 4. ก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในกองอาสารักษาดินแดน 5. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ 6. กล่าวเท็จต่อผู้บังคับบัญชา 7. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควรหรือประพฤติไม่สมควร 8. ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือไม่ลงทัณฑ์ผู้อยู่ในบังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ 9. เสพสุรายาเมาจนเสียกิริยา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ 10. กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเชิงบังคับผู้บังคับบัญชาเป็นทางทำให้เสียวินัยกองอาสารักษาดินแดน การลงทัณฑ์ การลงทัณฑ์ให้ลงได้เพียงสถานเดียว โดยก่อนที่จะลงทัณฑ์ผู้ใดให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างน้อย 3…

หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

หมู่บ้านอาสาพัฒนาและการป้องกันตนเองเป็นหมู่บ้านรูปแบบใหม่ตามโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง หรือชื่อย่อว่าโครงการ อพป. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานตามระบบหมู่บ้าน โดยอาศัยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก ซึ่งมีภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการพัฒนาและการบริการเพื่อปูพื้นฐานการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ตามพระราชบัญญัติหมู่บ้านอาสาพัฒนา พ.ศ. 2518 เป็นการนำพลังที่ผนึกเข้าด้วยกันเสริมสร้างหมู่บ้านให้มั่งคงเข้มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยง การทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เครื่องมือเพื่อให้บังเกิดผลสูงสุด และเพื่อให้ดำเนินการพัฒนาและป้องกันตนเอง อพป. ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย กอ.รมน. จึงได้เสนอโครงการ อพป. ต่อรัฐบาลในสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2519 จึงเป็นหน้าที่ของกรมการปกครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดย “หมู่บ้าน” คือ หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และ “คณะกรรมการกลาง” คือ คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง การกำหนดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง การบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ให้ถือเอาหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ การกำหนดให้หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งหรือตั้งแต่ 2 หมู่บ้านขึ้นไปเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง…

ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน

“หน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน” คือ หน่วยกำลังคุ้มครองและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้าน ตามกฎหมายว่าด้วยจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และให้หมายความรวมถึงชุดรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้าน “ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน” คือ ราษฎรอาสาสมัครในพื้นที่ ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน โดยได้รับการแต่งตั้งจากนายอำเภอ เรียกโดยย่อว่า “ชรบ.” การแต่งตั้ง ให้ผู้ใหญ่บ้านพิจารณาคัดเลือกราษฎร แล้วเสนอให้นายอำเภอแต่งตั้งเป็น ชรบ. และให้นายอำเภอเป็นผู้จัดทำทะเบียนประวัติของ ชรบ. โดยมีสิทธิใช้แต่งเครื่องแต่งกาย ประดับเครื่องแบบ และใช้อาวุธของทางราชการ การฝึกอบรม ชรบ. ปกติให้กรมการปกครองเป็นผู้จัดฝึกอบรม แต่ถ้ามีความจำเป็นให้จังหวัด หรืออำเภอจัดฝึกอบรมได้ ผู้ที่จะเข้าฝึกอบรมหลักสูตร ชรบ. ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้ 1. มีสัญชาติไทย 2. มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถเข้ารับการฝึกอบรมได้ 3. อยู่ในหมู่บ้านไม่น้อยกว่า 3 เดือน 4. เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. เป็นผู้มีความประพฤติดี โครงสร้างและการจัดหน่วย 1. อำเภอให้มี…

การบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม

มัสยิด หมายถึง สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ โดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นที่สอนศาสนาอิสลาม แบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1. มัสยิดส่วนบุคคล 2. มัสยิดที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดภายใน 90 วัน นิยาม สัปปุรุษประจำมัสยิด หมายถึง มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด อิหม่าน หมายถึง ผู้นำศาสนาอิสลาม คอเต็บ หมายถึง ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด บิหลั่น หมายถึง ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนากิจ จุฬาราชมนตรี พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี 1 คน เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา คุณสมบัติของจุฬาราชมนตรี 1. เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด 2. อายุไม่ต่ำกว่า 40…

การเนรเทศ

เนื่องด้วยกฎหมายเนรเทศ ร.ศ. 131 เป็นกฎหมายเก่าล้าสมัย จึงได้ตราพระราชบัญญัติการเนรเทศ พ.ศ. 2499 บังคับใช้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ การบังคับใช้ ใช้บังคับกับคนต่างด้าวเท่านั้น โดยมิให้ใช้บังคับแก่ผู้ที่เคยได้สัญชาติไทยโดยการเกิด ซึ่ง “คนต่างด้าว” หมายความว่า ผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย บุคคลผู้มีอำนาจเนรเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีอำนาจออกคำสั่งให้เนรเทศคนต่างด้าวออกไปนอกราชอาณาจักรไทยได้ เพื่อความสงบเรียบร้อยและศรีธรรมอันดีของประชาชน และเมื่อได้ออกคำสั่งเนรเทศผู้ใดแล้วให้รัฐมนตรีหรือเจ้าพนักงานที่รัฐมนตรีมอบหมายสั่งให้จับกุมและควบคุมผู้นั้นได้ ในระหว่างการถูกควบคุมตัวนั้น รัฐมนตรีมีอำนาจผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ เพื่อรอการเนรเทศตามที่เห็นสมควรได้ และให้บุคคลนั้นมารายงานตน และระยะเวลาให้รายงานตนต้องไม่ห่างกันเกิน 6 เดือนต่อครั้ง กำหนดเวลาในการเนรเทศ ห้ามมิให้ส่งตัวผู้ถูกเนรเทศออกไปนอกราชอาณาจักรก่อนครบ 15 วัน นับแต่วันแจ้งคำสั่งเนรเทศ และผู้ถูกเนรเทศมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อให้พิจารณาเพิกถอนคำสั่ง หรือขอให้มิต้องส่งตัวไปนอกราชอาณาจักรก็ได้ แต่ต้องยื่นภายใน 7 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งเนรเทศ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งเนรเทศ สั่งผ่อนผันโดยประการอื่นใด หรือสั่งให้ส่งไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด…

การทะเบียนคนต่างด้าว

ความเป็นมา เมื่อก่อนงานทะเบียนคนต่างด้าวเป็นงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แต่ล่าสุดได้มีหนังสือ ที่ มท 0308.2/ว 15786 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2556 ให้ถ่ายโอนงานทะเบียนคนต่างด้าวของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาให้กรมการปกครองรับผิดชอบ ตามมติคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ครั้งที่ 7/2554 โดยกำหนดให้ถ่ายโอนฯ ในเดือน มีนาคม 2557 ความหมาย คนต่างด้าว หมายความว่า คนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ ใบสำคัญประจำตัว หมายความว่า หนังสือประจำตัวของคนต่างด้าว และใบสำคัญประจำตัวมีกำหนดอายุดังนี้ 1. ชนิดที่หนึ่ง อายุ 1 ปี 2. ชนิดที่สอง อายุ 5 ปี ถ้าใบสำคัญประจำตัวหมดอายุ ชำรุด สูญหาย เปลี่ยนแปลงสัญชาติ อาชีพ ชื่อ สกุล…

การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ประชาชน

นับแต่ประเทศไทยได้มีระบบการสอบสวนคดีอาญามาแต่โบราณนั้น อำนาจการสอบสวนคดีอาญาได้มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งในลักษณะต่างๆ กันคือ บางสมัยตำรวจเป็นผู้สอบสวนฝ่ายเดียว บางสมัยอำเภอสอบสวนฝ่ายเดียว และบางสมัยก็สอบสวนร่วมกัน ครั้งสุดท้ายอำนาจการสอบสวนเป็นของอำเภอฝ่ายเดียวตลอดมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปี (ถึง พ.ศ. 2502 ในขณะนั้น) กระทรวงมหาดไทยได้ออกข้อบังคับ ที่ 8/2502 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2502 หลักการสำคัญคือเปลี่ยนตัวพนักงานสอบสวนจากนายอำเภอและปลัดอำเภอเป็นเจ้าหน้าที่ตำตรวจ ส่วนหัวหน้าพนักงานสอบสวนเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอเช่นเดิม ข้อบังคับนี้ใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2503 เป็นต้นไป การสอบสวนก็ดำเนินการไปฝ่ายเดียวตลอดมา เว้นแต่บางอำเภอเท่านั้นที่มีฝ่ายอำเภอเข้าไปสอบสวนอยู่ด้วย แต่ก็เป็นเพียงการเข้าไปสอบสวนเฉพาะเรื่องเท่านั้น จนถึง พ.ศ. 2506 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงอำนาจหน้าที่การสอบสวนคดีอาญาอีกครั้งหนึ่ง และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่โอนอำนาจหน้าที่การสอบสวนคดีอาญาจากอำเภอไปให้ตำรวจดำเนินการแต่ผู้เดียว ตามข้อบังคับที่ 1/2506 ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน 2506 เรื่อง ระเบียบการสอบสวนคดีอาญาในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี…

การสอบสวนคดีอาญาและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

1.1 ความผิดอาญาที่พนักงานสอบสวนฝ่ายปกครองสอบสวนได้[1] 1. กฎหมายว่าด้วยกองอาสารักษาดินแดน 2. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า 3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร 4. กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร 5. กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 6. กฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ 7. กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุข 8. กฎหมายว่าด้วยบัตรประจำตัวประชาชน 9. กฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ 10. กฎหมายว่าด้วยภาษีป้าย 11. กฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน 12. กฎหมายว่าด้วยยศและเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน 13. กฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ 14. กฎหมายว่าด้วยโรงแรม 15. กฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ 16. กฎหมายว่าด้วยสุสานและฌาปนสถาน 1.2 หัวหน้าพนักงานสอบส่วน และพนักงานสอบสวน ปลัดอำเภอหัวหน้ากิ่งอำเภอ หรือนายอำเภอ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน ถ้ามีเหตุอันควร ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่า ปลัดจังหวัด จะเข้ามาเป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวนก็ได้…

การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ

เนื่องจากปัจจุบันกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตมีจำนวนมาก บางฉบับไม่ได้มีการกำหนดระยะเวลา กำหนดรายละเอียดของเอกสารและหลักฐานที่จำเป็นจะต้องใช้ยื่นเพื่อประกอบการพิจารณา รวมถึงไม่ได้มีการกำหนดขั้นตอนในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน จนทำให้เป็นการสร้างภาระและเป็นอุปสรรคต่อประชาชนในการยื่นขออนุญาตเพื่อดำเนินการต่างๆ เกินสมควร เช่น การขออนุญาตประกอบกิจการด้านการค้า การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวและการโรงแรม คณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 25/2557 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมายได้มีทั้งหมดจำนวน 18 มาตรา ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการ พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 22 มกราคม 2558 บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป) ยกเว้นในเรื่อง “การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชน” กำหนดให้ผู้อนุญาต[1]จัดทำคู่มือสำหรับประชาชนให้เสร็จสิ้นภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ให้เสร็จภายใน 20 กรกฎาคม…

กฎหมายว่าด้วยการทวงถามหนี้

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ราชกิจจานุเบกษา 6 มีนาคม 2558 บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือตั้งแต่ 2 กันยายน 2558 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาการ มีนิยามที่สำคัญดังนี้ “ผู้ทวงถามหนี้” หมายความว่า เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติหรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้ ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้และผู้รับมอบอำนาจจาก ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย “ผู้ให้สินเชื่อ” หมายความว่า 1. บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ 2. บุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด “สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน “ลูกหนี้”…

งานอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน

อาวุธปืนนั้นมีกฎหมายควบคุมการมีอาวุธปืนเอาไว้ในครอบครอง จะเห็นได้ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการออกกฎให้แก่ผู้รักษาเมืองผู้รั้งกรมการเมือง จ.ศ. 114 และได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติอาวุธปืน และเครื่องกระสุนปืน รัตนโกสินทร์ศก 131 ได้มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนมาจนถึงปัจจุบัน บังคับใช้วันที่ 10 กันยายน 2490 โดยแรกเริ่มได้กำหนดว่าถ้าได้นำอาวุธปืน เครื่องกระสุน มาขอรับใบอนุญาตภายใน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ ความหมาย 1. อาวุธปืน หมายความรวมตลอดถึงอาวุธทุกชนิดซึ่งใช้ส่งเครื่องกระสุนปืนโดยวิธีระเบิด หรือกำลังดันของแก๊สหรืออัดลม หรือเครื่องกลไกอย่างใด ซึ่งต้องอาศัยอำนาจของพลังงาน และส่วนหนึ่งส่วนใดของอาวุธนั้นๆ[1] 2. เครื่องกระสุนปืน หมายความรวมถึงกระสุนโดด กระสุนปราย กระสุนแตก ลูกระเบิด ตอร์ปิโด ทุ่นระเบิดและจรวด ทั้งชนิดที่มีหรือไม่มีกรดแก๊สฯ เครื่องสำหรับอัด หรือทำ หรือใช้ประกอบเครื่องกระสุน 3. วัตถุระเบิด คือ วัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลัน…

งานการพนัน

ตามพระราชหัตถเลขาถึงกรมหลวงดำรงราชานุภาพ ลงวันที่ 8 สิงหาคม ร.ศ.122 และพระราชปรารภเกี่ยวกับการเลิกหวยความดังต่อไปนี้ “ได้รับหนังสือที่ 168/5188 ลงวันที่ 4 เดือนนี้ ว่าได้สังเกตดูการเก็บเงินอากรการพนันในสองปีที่ล่วงมาแล้ว เก็บเงินขึ้นได้มากกว่าที่คาดหมาย เป็นที่สงสัยว่าจะมีคนเล่นการพนันมากขึ้น ฤาเจ้าพนักงานจัดการเก็บดีขึ้น เธอได้สอบสวนโดยถ้วนถี่ บัดนี้ได้ความว่าตามวิธีที่กรมสรรพากรจัดนั้น ราษฎรเล่นการพนันได้สะดวก เช่น อย่างมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพร เดิมก็มีโจรผู้ร้ายชุกชุม ราษฎรก็พากันยากจน ขัดสนไม่เป็นอันทำมาหากิน เมื่อให้เลิกการพนันโจรผู้ร้ายก็สงบเบาบางลง การค้าขายก็เจริญตั้งแต่อนุญาตให้เล่นการพนันได้อีก เกิดมีโจรผู้ร้ายชุกชุมขึ้น ราษฎรไม่เป็นอันตั้งหน้าค้าขายทำมาหากิน ทำให้ความเจริญที่มีอยู่แล้วกลับถอยหลังไปอีก เธอขออนุญาตให้เลิกการพนันในมณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลชุมพรเสีย และควรจำกัดการเล่นการพนันในมณฑลอื่นๆ ให้น้อยลงนั้นเป็นการชอบแล้วอนุญาตให้เลิก” ซึ่งจะเห็นได้ว่าประเทศไทยได้เปลี่ยนนโยบาย เกี่ยวกับการพนัน จากการแสวงหาผลประโยชน์มาเป็นการควบคุมและปราบปรามแทน ต่อมาจึงมี พระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2473 เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการพนันฉบับแรก และมีการยกเลิกและ ตราพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478…

งานควบคุมการเรี่ยไร

ความหมายของการเรี่ยไร “การเรี่ยไร” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การเก็บเงินโดยขอร้องให้ช่วยออกเงินตามใจสมัคร ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช 2487 “การเรี่ยไร” หมายความตลอดถึง การซื้อขายแลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการซึ่งมีการแสดงโดยตรง หรือปริยาย ถ้ามิใช่เป็นการซื้อขาย แลกเปลี่ยน ชดใช้ หรือบริการธรรมดา แต่เพื่อรวบรวมทรัพย์สินที่ได้มาทั้งหมด หรือบางส่วนไปใช้ในกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 4 คน จึงจะครบองค์ประชุม และคณะกรรมการประกอบด้วย 1. ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน 2. ผู้แทนกระทรวงกลาโหม 1 คน 3. ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ 1 คน 4. ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข 1 คน…

งานควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

เจตนารมณ์ พระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของสังคม จึงมีเจตนารมณ์ที่จะควบคุมไม่ให้ผู้ใดประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า ผู้ที่จะประกอบอาชีพตามพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงต้องผ่านการตรวจสอบประวัติ ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด และต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการ และบุคคลผู้ขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าในวันที่พระราชบัญญัตินี้บังคับ ให้ยื่นคำขออนุญาตภายใน 3 เดือน ความหมาย ของเก่า คือ ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่น อย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย[1] ขายทอดตลาด คือ การขายโดยเปิดเผยแก่มหาชน ด้วยวิธีให้โอกาสแก่ผู้ประมูลราคา ผู้ให้ราคาสูงก็มีสิทธิซื้อทรัพย์นั้นไป การค้าของเก่า หมายถึง ก. ประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ข. ประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงิน หรืออัญมณี ค. ประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ได้แก่ รถยนต์สาธารณะ รถยนต์บริการและรถยนต์ส่วนบุคคล ง. ประเภทอื่น ๆ…

งานโรงรับจำนำ

การรับจำนำในประเทศไทยมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ปรากฏตามหลักฐานในรัชสมัยพระบรมโกษฐ์ กรุงศรีอยุธยา ตามพระราชกำหนดที่ออกในปี พ.ศ. 2234 เรื่องการควบคุมการรับจำนำ กำหนดให้การรับจำนำกระทำในเวลากลางวัน ผู้ตั้งโรงรับจำนำแห่งแรกของไทยเป็นชาวจีน ชื่อ ฮง แซ่เบ๊ ในปี พ.ศ. 2409 ตั้งอยู่ที่ ย่านประตูผี ถนนบำรุงเมือง ชื่อร้านโรงรับจำนำย่องเซี้ยง (หัวมุมตัดกับถนนมหาไชย) ข้างวัดเทพธิดาราม ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อมาเป็น “โรงรับจำนำสำราญราษฎร์” ส่วนโรงรับจำนำของรัฐ ได้จัดตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2498 ในสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย และในปี พ.ศ. 2500 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานธนานุเคราะห์” การดำเนินงานระยะแรก มีฐานะเป็นหน่วยงานราชการ สังกัดแผนกธนานุเคราะห์…