อัพเดทเนื้อหาให้คุณได้รู้ก่อนใคร...

อาเซียน (31st ASEAN summit begins Sunday in Manila)

Read the following article and select the best answer for each item 31st ASEAN summit begins Sunday in Manila MANILA: The Philippines will play host to the 31st ASEAN Summit and Related Summits which begin here Sunday, with the Rohingya refugees issue, the South China…

กระทรวงมหาดไทย (Ministry of Interior)

Read the following article and select the best answer for each item Ministry of Interior The Ministry of Interior of the Kingdom of Thailand (MOI) is a cabinet-level department in the Government of Thailand. The ministry has wide ranging responsibilities. The ministry is responsible for…

หลักธรรมสำหรับนักปกครอง

ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มีอยู่ดังนี้ 1. ทาน ได้แก่ การให้ ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์ 2. ศีล ได้แก่ การสำรวม กาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม 3. บริจาค ได้แก่ การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข 4. อาชวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม 5. มัทวะ ได้แก่ ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ 6. ตบะ ได้แก่ การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ 7. อโกรธะ ได้แก่ ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ 8. อวิหิงสา…

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 30 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลางโดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาทโดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผนการตัดสินใจและการกระทำ มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้ 1. กรอบแนวคิด…

ความรู้เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีจังหวัดละ 1 แห่ง ยกเว้นกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ การจัดรูปแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2498 โดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 และได้มีการพัฒนามาจนถึง พ.ศ. 2540 ได้มีการยกเลิกกฎหมายทั้งฉบับมาใช้พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2540 โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1.1 สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน โดยจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ถือเกณฑ์จำนวนราษฎรแต่ละจังหวัดตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง ดังนี้ 1. ราษฎรไม่เกิน 500,000 คน…

การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

ความหมาย คชก.จังหวัด หมายถึง คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัด คชก.ตำบล หมายถึง คณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล 1. จังหวัด (รวมถึง กทม.ด้วย) มี คชก.จังหวัด แบ่งได้ดังนี้ 1. ในกรุงเทพมหานคร คชก.จังหวัด ประกอบด้วยบุคคลซึ่งผู้ว่าการกรุงเทพมหานครแต่งตั้งดังนี้ 1.1 ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร เป็นประธาน 1.2 ผู้แทนกรมการปกครอง 1.3 ผู้แทนกรมที่ดิน 1.4 ผู้แทนกรมประมง 1.5 ผู้แทนกรมปศุสัตว์ 1.6 ผู้แทนกรมอัยการ 1.7 ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร 1.8 ผู้แทนผู้เช่า 4 คน 1.9 ผู้แทนผู้ให้เช่า 4 คน 2. ในจังหวัดอื่น คชก.จังหวัด ประกอบด้วยบุคคลซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งดังนี้…

การโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง

คำนิยามและความหมาย โฆษณา หมายถึง การบอกกล่าว การแจ้งความ ชี้แจง แนะนำหรือแสดงความคิดเห็นแก่ประชาชน ผู้รักษาการ นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้รักษาการ และให้มีอำนาจกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินฉบับละ 100 บาท พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจสั่งผู้ใช้เสียงหรือผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงให้ลดเสียงลงได้ เมื่อปรากฏว่าเสียงที่โฆษณานั้นก่อความรำคาญแก่ประชาชน และถ้าการโฆษณากระทำผิดเงื่อนไขในใบอนุญาต หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานที่สั่งให้ลดเสียง ให้เจ้าพนักงานดังกล่าวมีอำนาจสั่งให้หยุดโฆษณาได้ ใบอนุญาตและการโฆษณา ผู้ที่จะทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงด้วยกำลังไฟฟ้า จะต้องขอรับอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก่อน ใบอนุญาตที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ออกแก่ผู้ทำการโฆษณาให้คุ้มครองถึง ผู้ใช้เสียง และผู้ควบคุมเครื่องขยายเสียงด้วย และการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียงจะต้องโฆษณาเป็นภาษาไทย และภาษาไทยให้หมายความรวมถึงภาษาพื้นเมืองด้วย ห้ามมิให้ใช้บังคับแก่การโฆษณา ดังต่อไปนี้ 1. คำสอนในทางศาสนา 2. ของหน่วยงานของรัฐ 3. หาเสียงเพื่อประโยชน์แก่การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล ซึ่งโฆษณาเป็นภาษาไทย 4. กิจการของ สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาจังหวัด…

กองอาสารักษาดินแดน

กองอาสารักษาดินแดนตั้งขึ้นในปี 2497 มีผลสืบเนื่องมาจากประเทศไทยได้รับการช่วยเหลือในด้านอาวุธจำหน่วยชีซับพลาย มอบให้กับหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนเป็นจำนวนมาก เมื่อหน่วยซีซับพลายได้สลายตัวจึงได้ก่อตั้งกองอาสารักษาดินแดน โดยออกพระราชบัญญัติอาสารักษาดินแดน ตั้งกองอาสารักษาดินแดนเป็นนิติบุคคล ขึ้นตรงต่อกระทรวงมหาดไทย เหตุผลในการออกพระราชบัญญัติอาสารักษาดินแดนมีว่า “การป้องกันประเทศชาติในสถานการณ์ของสงครามในปัจจุบันเป็นหน้าที่ของประชาชนพลเมืองทุกคนที่จะต้องร่วมมือช่วยเหลือกัน และจะต้องได้รับการศึกษาอบรมให้มีความรู้ในการที่จะป้องกันตนเองและประเทศชาติ จึงจำเป็นต้องมีการฝึกอบรมและมีหน่วยบังคับบัญชาเตรียมตั้งแต่เหตุการณ์ปกติ ในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการตั้งกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดละ 2 กองร้อย เรียกว่ากองร้อยจังหวัด กองร้อยที่ 1 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง นายอำเภอเมืองเป็นผู้บังคับกองร้อย กองร้อยที่ 2 ตั้งอยู่อำเภอนอกๆ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัดจะเห็นสมควร ต่อมาเมื่อมีการแทรกซึมบ่อนทำลายของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เกิดขึ้น ในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งกองร้อยอาสารักษาดินแดนอำเภอขึ้น ในท้องที่ที่มีการแทรกซึมจากคอมมิวนิสต์ให้มีกองร้อยอำเภอขึ้นทุกอำเภอ รวมทั้งอำเภอชายแดนกัมพูชา ลาว พม่า จัดตั้งตามกำลังงบประมาณและตามความจำเป็น ทั้งนี้โดยการปรึกษากันของกองอาสารักษาดินแดน กรมยุทธการทหารบก กอ.ปค. และได้เชิญกองทัพภาคต่าง ๆ ทุกภาคทั่วราชอาณาจักรร่วมประชุมปรึกษาหารือว่าสมควรตั้งที่ใด ในปี 2506 กองอาสารักษาดินแดนจึงได้เข้ามาสังกัดอยู่ในกรมการปกครองมีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกอง บริหารราชการเกี่ยวกับกิจการกองอาสารักษาดินแดนทั่วราชอาณาจักร…

ยศ และเครื่องแบบผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน

ยศผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน[1] ยศของผู้บังคับบัญชา และเจ้าหน้าที่ มี 7 ชั้นยศ 1. นายกองใหญ่ 2. นายกองเอก 3. นายกองโท 4. นายกองตรี 5. นายหมวดเอก 6. นายหมวดโท 7. นายหมวดตรี ยศของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน มี 4 ชั้นยศ 1. นายหมู่ใหญ่ 2. นายหมู่เอก 3. นายหมู่โท 4. นายหมู่ตรี สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ที่ไม่มีชั้นยศ มี 4 ชั้น 1. สมาชิกเอก 2. สมาชิกโท 3. สมาชิกตรี 4.