รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ 81-120

  1. การเลือกสมาชิกวุฒิสภานับแต่กฎหมายใช้บังคับ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดวันเริ่มดำเนินการเพื่อเลือกภายในกี่วัน
  • 5 วัน
  • 10 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน

 

  1. ผู้ที่จะสมัคร ส.ว. ต้องมีคุณสมบัติเรื่องอายุตามข้อใด
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันเลือกตั้ง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปีในวันเลือกตั้ง
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปีในวันสมัครรับเลือก

 

  1. คุณสมบัติของ ส.ว. ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  • ทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • เกิด มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ทำงาน มีความเกี่ยวพันกับพื้นที่ที่สมัคร
  • เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

 

  1. ข้อใดเป็นลักษณะต้องห้ามของ ส.ว. (ไม่สามารถสมัครได้)
  • นายแดงเป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  • นายดำเป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และได้พ้นจากการเป็นสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  • นายเขียวเป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง และได้พ้นจากการดำรงตำแหน่ง ในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  • นายฟ้าเป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี และได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก

 

  1. อายุของวุฒิสภามีกำหนดคราวละกี่ปี
  • 4 ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก
  • 4 ปีนับแต่วันประกาศผลการคัดเลือก
  • 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือก
  • 5 ปีนับแต่วันประกาศผลการคัดเลือก

 

  1. สมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาเริ่มตั้งแต่
  • วันสมัครรับเลือก
  • วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรอง
  • วันประชุมวุฒิสภาครั้งแรก
  • วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือก

 

  1. การสิ้นสุดสมาชิกภาพของ ส.ว. ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • ถึงคราวออกตามอายุของวุฒิสภา
  • ตาย
  • ลาออก
  • ขาดประชุมเกินจำนวน 1 ใน 5 ของจำนวนวันประชุม

 

  1. นายแดงเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกภาพสิ้นสุดลงมาแล้วยังไม่เกิน 2 ปี สามารถดำรงตำแหน่งใดได้
  • นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

 

  1. สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สามารถมีรองประธานได้กี่คน
  • 1 คน
  • 2 คน
  • 1 หรือ 2 คน
  • ไม่เกิน 4 คน

 

  1. บทที่ใช้แก่สภาทั้งสองของ ส.ส. และ ส.ว. กล่าวถึงเรื่องใด
  • ส.ส. และ ส.ว. ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
  • ส.ส. และ ส.ว. ต้องไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใด ๆ
  • ส.ส. และ ส.ว. ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ภายในกี่วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อันเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 1 คือวันใด
  • วันประชุมครั้งแรก
  • วันที่ 1 มกราคม
  • แล้วแต่ความเห็นชอบของรัฐสภา
  • วันที่รัฐสภาเป็นผู้กำหนด

 

  1. วันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 2 ใครเป็นผู้กำหนด
  • รัฐสภา
  • วุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. ในปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภากี่สมัย
  • 2 สมัย
  • 3 สมัย
  • 2 สมัย แต่ไม่เกิน 4 สมัย
  • 4 สมัย

 

  1. สมัยประชุมสามัญของรัฐสภา 1 สมัยมีกำหนดเวลากี่วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • 180 วัน
  • 240 วัน

 

  1. การปิดสมัยประชุมสามัญประจำปีก่อนครบกำหนดเวลา 120 วัน จะกระทำได้ก็แต่โดยความเห็นชอบของ
  • รัฐสภา
  • วุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. อำนาจเรียกประชุมรัฐสภาเป็นของ
  • พระมหากษัตริย์
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานวุฒิสภา

 

  1. การขอประชุมสมัยวิสามัญสามารถกระทำได้ ถ้าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดเข้าชื่อ
  • 1 ใน 3
  • 1 ใน 4
  • 3 ใน 5
  • 4 ใน 5

 

  1. การขอประชุมสมัยวิสามัญให้เข้าชื่อร้องขอต่อ
  • พระมหากษัตริย์
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานวุฒิสภา

 

  1. การประชุมสมัยวิสามัญใครมีหน้าที่นำความกราบบังคมทูลและลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
  • พระมหากษัตริย์
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานวุฒิสภา

 

  1. การเรียกประชุม การขยายเวลาประชุม และการปิดประชุมรัฐสภาให้กระทำได้โดยตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • พระราชกำหนด
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. กลุ่มบุคคลตามข้อใดสามารถร้องขอให้มีการประชุมลับได้
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • สมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการตั้งกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุหรือคนพิการ หรือทุพพลภาพ ต้องกำหนดให้บุคคลประเภทดังกล่าวร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย ตามสัดส่วนในข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5

 

  1. การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อเสนอ ต้องกำหนดให้ ผู้แทนของผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวร่วมเป็นกรรมาธิการวิสามัญด้วย ตามสัดส่วนในข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 3 ใน 5

 

  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 บังคับให้ตราขึ้นมีกี่ฉบับ
  • 9 ฉบับ
  • 10 ฉบับ
  • 11 ฉบับ
  • 12 ฉบับ

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฉบับใดที่ไม่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การตรวจเงินแผ่นดิน
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย วิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง

 

  1. ผู้ใดไม่สามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญได้
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คนเข้าชื่อ
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10
  • ข้อ และ 3.

 

  1. ถ้า ส.ส. ต้องการเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต้องเข้าชื่อตามสัดส่วนในข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. การเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญให้เสนอต่อ
  • รัฐสภา
  • วุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. การประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในเวลากี่วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • 180 วัน
  • 240 วัน

 

  1. ภายในกี่วันนับแต่วันที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้รัฐสภาส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นไปยังศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์กรอิสระ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความเห็น
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน

 

  1. ใครสามารถเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อสภาผู้แทนราษฎรได้
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 20 คน
  • ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินจะเสนอได้ต้องมีคำรับรองของของผู้ใด
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

  1. ข้อใดถือเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน
  • การกู้เงิน
  • การค้ำประกัน
  • เงินตรา
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ใครเป็นผู้วินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติใดเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินหรือไม่
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ
  • ประธานวุฒิสภาและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภาทุกคณะ
  • นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรทุกคณะ
  • ศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. เมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอและลงมติเห็นชอบแล้ว ให้สภาผู้แทนราษฎรเสนอร่างพระราชบัญญัตินั้นต่อ
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา

 

  1. …ต้องพิจารณาร่างพระราชบัญญัติที่เสนอมานั้นให้เสร็จภายใน…วัน
  • รัฐสภา / 60 วัน
  • วุฒิสภา / 60 วัน
  • รัฐสภา / 30 วัน
  • วุฒิสภา / 30 วัน

 

  1. ถ้าร่างพระราชบัญญัตินั้นเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงินต้องพิจารณาให้เสร็จภายในกี่วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ จะยกขึ้นพิจารณาใหม่ก็ให้กระทำได้ และเป็นอำนาจของผู้ใด
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติที่ต้องยับยั้งไว้ จะยกขึ้นพิจารณาใหม่ได้ต้องล่วงพ้นระยะเวลากี่วันแล้ว
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • 180 วัน
  • 240 วัน