รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ 121-160

  1. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีสภาผู้แทนราษฎรจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
  • 95 วัน
  • 105 วัน
  • 125 วัน
  • 250 วัน

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบแล้ว ต้องส่งมาที่วุฒิสภา วุฒิสภาจะต้องให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 20 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. การแปรญัตติในขั้นตอนการพิจารณาสิ่งใดที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามารถทำได้
  • ตัดทอนรายจ่าย
  • เปลี่ยนแปลงรายการ
  • แก้ไขเพิ่มเติมรายการ
  • แก้ไขจำนวนในรายการ

 

  1. การแปรญัตติในขั้นตอนการพิจารณา สภาผู้แทนราษฎรสามารถการแปรญัตติในเรื่องใดได้บ้าง
  • เงินส่งใช้ต้นเงินกู้
  • ดอกเบี้ยเงินกู้
  • เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. องค์กรที่มีอำนาจพิจารณาหากการแปรญัตติของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือคณะกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • วุฒิสภา

 

  1. กรณีที่คณะรัฐมนตรี เป็นผู้กระทำการหรืออนุมัติให้กระทำการหรือรู้ว่ามีการกระทำให้มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย อำนาจการเรียกเงินคืนเงินมีกำหนดระยะเวลากี่ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี
  • 15 ปี
  • 20 ปี

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว ให้นายกรัฐมนตรี รอไว้กี่วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัตินั้นจากรัฐสภา
  • 5 วัน
  • 10 วัน
  • 20 วัน
  • 21 วัน

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาแล้วให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายภายในกี่วัน
  • 5 วัน
  • 10 วัน
  • 20 วัน
  • 21 วัน

 

  1. หากสงสัยว่าข้อความในร่างพระราชบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ องค์กรใดที่มีอำนาจวินิจฉัย
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา

 

  1. หากสงสัยว่าข้อความในร่างพระราชบัญญัติขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ สมาชิกของทั้งสองสภารวมกันตามจำนวนในข้อใดสามารถเสนอความเห็นต่อประธานรัฐสภาได้
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. ส.ส. อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลหรือทั้งคณะ ต้องเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป จำนวนเท่าใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 7
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. ส.ส. อภิปรายคณะรัฐมนตรีเพื่อซักถามข้อเท็จจริง ต้องเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป จำนวนเท่าใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 7
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. ส.ว. อภิปรายคณะรัฐมนตรีเพื่อแถลงข้อเท็จจริง ต้องเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา จำนวนเท่าใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 7
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. ผู้นำฝ่ายค้านจะแจ้งขอเปิดอภิปรายทั่วไปในปัญหาสำคัญของประเทศ ต้องแจ้งขอเปิดต่อผู้ใด
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานนายกรัฐมนตรี

 

  1. กรณีตามข้อใดที่ไม่ต้องมีการประชุมร่วมกันของรัฐสภา
  • การตราข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร
  • การให้ความเห็นชอบในการปิดสมัยประชุม
  • การเปิดประชุมรัฐสภา
  • การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

 

  1. องค์ประกอบเป็นคณะรัฐมนตรีข้อใดถูกต้อง
  • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน
  • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 36 คน
  • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 37 คน
  • นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 38 คน

 

  1. อำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นของ
  • พระมหากษัตริย์
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานวุฒิสภา

 

  1. การเสนอชื่อผู้สมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรับรองตามข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. ผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้ต้องมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใดของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร
  • ร้อยละ 3
  • ร้อยละ 5
  • ร้อยละ 10
  • ร้อยละ 15

 

  1. นายกรัฐมนตรีห้ามดำรงตำแหน่งเกินกี่ปี ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่
  • 4 ปี
  • 8 ปี
  • 10 ปี
  • 16 ปี

 

  1. คณะรัฐมนตรีที่จะเข้าบริหารราชการแผ่นดินต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภาภายในกี่วัน นับแต่วันเข้ารับหน้าที่
  • 15 วัน
  • 20 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของรัฐมนตรีข้อใดไม่ถูกต้อง
  • มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 45 ปี
  • สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์

 

  1. ข้อใดถือว่าเป็นเหตุให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ
  • สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ
  • ลาออก
  • คณะรัฐมนตรีลาออก
  • ตาย

 

  1. พระราชกำหนดจะตราได้ในกรณีใด
  • ความปลอดภัยของประเทศ
  • ความปลอดภัยสาธารณะ
  • ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. อำนาจการพระราชกำหนดเป็นของ
  • พระมหากษัตริย์
  • ประธานรัฐสภา
  • นายกรัฐมนตรี
  • ประธานวุฒิสภา

 

  1. พระราชกำหนดเกี่ยวกับภาษีอากรหรือเงินตรา ถ้าเป็นการตราขึ้นในระหว่างสมัยประชุมจะต้องนำเสนอต่อ…ภายใน…วัน
  • รัฐสภา / 7 วัน
  • วุฒิสภา / 7 วัน
  • รัฐสภา / 3 วัน
  • สภาผู้แทนราษฎร / 3 วัน

 

  1. พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจตามข้อใด
  • ตราพระราชกฤษฎีกา
  • ประกาศสงคราม
  • พระราชทานอภัยโทษ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ใดในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือตำแหน่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น” เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร
  • การขัดกันแห่งผลประโยชน์
  • ผลประโยชน์ทับซ้อน
  • ผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม
  • การทุจริตคอร์รัปชั่นประเภทหนึ่ง

 

  1. การจัดตั้งศาลให้ตราเป็น
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกำหนด
  • พระราชกฤษฎีกา
  • ประกาศ

 

  1. ใครเป็นประธานพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง หรือศาลทหาร
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  • ประธานศาลปกครองสูงสุด
  • ประธานศาลฎีกา
  • ประธานรัฐสภา

 

  1. แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อยู่ที่ศาลใด
  • ศาลชั้นต้น
  • ศาลอุทธรณ์
  • ศาลฎีกา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะประกอบด้วยผู้พิพากษาตามข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 3 คนแต่ไม่เกิน 9
  • ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9
  • ไม่น้อยกว่า 9 คนแต่ไม่เกิน 10
  • ไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 10

 

  1. คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ให้อุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 20 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. ใครเป็นประธานคณะกรรมการสรรหาศาลรัฐธรรมนูญ
  • ประธานศาลฎีกา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานศาลปกครองสูงสุด
  • ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร

 

  1. ศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวนกี่คน
  • 5 คน
  • 7 คน
  • 9 คน
  • 11 คน

 

  1. สัดส่วนที่มาของศาลรัฐธรรมนูญข้อใดไม่ถูกต้อง
  • ผู้พิพากษาในศาลฎีกา จำนวน 3 คน
  • ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จำนวน 3 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ จำนวน 1 คน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 1 คน

 

  1. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 3 ปี วาระเดียว
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพ้นจากตำแหน่งเมื่อมีอายะครบกี่ปี
  • 60 ปี
  • 65 ปี
  • 70 ปี
  • 75 ปี

 

  1. องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการนั่งพิจารณาและในการทำคำวินิจฉัย ต้องประกอบด้วยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่น้อยกว่ากี่คน
  • 5 คน
  • 6 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2560 มีกี่องค์กร
  • 3 องค์กร
  • 5 องค์กร
  • 7 องค์กร
  • 9 องค์กร