รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ 161-200

  1. ข้อใดไม่ใช่องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 2560
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีจำนวนกี่คน
  • 5 คน
  • 6 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 3 ปี วาระเดียว
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจสั่งระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกไว้เป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินกี่ปี
  • 1 ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี
  • 5 ปี

 

  1. หากพบว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือผู้สมัครรับเลือกผู้ใดกระทำการทุจริต ศาลฎีกาสามารถเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นเป็นเวลากี่ปี
  • 3 ปี
  • 5 ปี
  • 7 ปี
  • 10 ปี

 

  1. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีจำนวนกี่คน
  • 3 คน
  • 5 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. ผู้ตรวจการแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 6 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินข้อใดไม่ถูกต้อง
  • เสนอแนะต่อหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีการปรับปรุงกฎหมาย
  • แสวงหาข้อเท็จจริงเมื่อเห็นว่ามีผู้ได้รับความเดือดร้อนเนื่องมาจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ
  • เสนอต่อปลัดกระทรวงให้ทราบถึงการที่หน่วยงานของรัฐยังมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องครบถ้วน
  • บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่อง พร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีกรรมการจำนวนกี่คน
  • 3 คน
  • 5 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 6 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ถ้ามาจากราชการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดีหรือหัวหน้าส่วนราชการ ต้องทำงานมาแล้วไม่น้อยกว่ากี่ปี
  • 3 ปี
  • 5 ปี
  • 7 ปี
  • 10 ปี

 

  1. องค์กรใดมีอำนาจไต่สวนและวินิจฉัยว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

  1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวหาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ใดมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ให้ยื่นเรื่องต่อ
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
  • ประธานศาลปกครองสูงสุด
  • ประธานศาลฎีกา
  • ประธานรัฐสภา

 

  1. ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่ากี่คน มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ใดมีพฤติการณ์จงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
  • ไม่น้อยกว่า 5,000 คน
  • ไม่น้อยกว่า 10,000 คน
  • ไม่น้อยกว่า 15,000 คน
  • ไม่น้อยกว่า 20,000 คน

 

  1. สมาชิกของทั้งสองสภารวมกันจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใด มีสิทธิเข้าชื่อกล่าวหาว่ากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ผู้ใดมีพฤติการณ์ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วยกรรมจำนวนกี่คน
  • 3 คน
  • 5 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 6 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. ผู้ถูกสั่งลงโทษทางปกครองกรณีมีการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยวินัยการเงินการคลังของรัฐ สามารถอุทธรณ์ต่อ…ได้ภายใน…วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
  • คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน / 90 วัน
  • ป.ป.ช. / 90 วัน
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง / 90 วัน
  • ศาลปกครอง / 90 วัน

 

  1. ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของ
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา

 

  1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประกอบด้วยกรรมการจำนวนกี่คน
  • 3 คน
  • 5 คน
  • 7 คน
  • 9 คน

 

  1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีวาระการดำรงตำแหน่ง ตามข้อใด
  • 5 ปี วาระเดียว
  • 6 ปี วาระเดียว
  • 7 ปี วาระเดียว
  • 9 ปี วาระเดียว

 

  1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต้องจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศเสนอต่อ
  • รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
  • วุฒิสภาและคณะรัฐมนตรี
  • สภาผู้แทนราษฎรและคณะรัฐมนตรี
  • คณะรัฐมนตรี

 

  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 บัญญัติเรื่ององค์กรอัยการไว้ตามข้อใด
  • อิสระในการพิจารณาสั่งคดี
  • ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เที่ยงธรรม
  • การพิจารณาสั่งคดีไม่ให้ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครอง
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. การจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น ต้องอยู่ภายใต้มาตราใดแห่งรัฐธรรมนูญ 2560
  • มาตรา 1
  • มาตรา 2
  • มาตรา 3
  • มาตรา 4

 

  1. การจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดก็ตาม เช่น อบต. เทศบาล อบจ. ให้คำนึงถึงเรื่องใด
  • เจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
  • ความสามารถในการปกครองตนเองในด้านรายได้
  • จำนวนและความหนาแน่นของประชากร
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. รัฐธรรมนูญ 2560 ด้านการปกครองท้องถิ่น ได้กำหนดสิทธิของประชาชนในพื้นที่เรื่องใดบ้าง
  • เสนอข้อบัญญัติ
  • การถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • เสนอข้อบัญญัติ และการถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
  • สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ

 

  1. ผู้มีสิทธิในการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อใดผิด
  • คณะรัฐมนตรี
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน

 

  1. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นกี่วาระ
  • 3 วาระ
  • 4 วาระ
  • 5 วาระ
  • 6 วาระ

 

  1. ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญ ในวาระที่ 1 ขั้นรับหลักการ ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าสัดส่วนตามข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 4
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 5
  • ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10

 

  1. การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 ขั้นสุดท้าย ของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิก มิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละเท่าใด
  • ร้อยละ 5
  • ร้อยละ 10
  • ร้อยละ 15
  • ร้อยละ 20

 

  1. องค์กรใดมีอำนาจพิจารณา กรณีร่างรัฐธรรมนูญเป็นการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตย
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • ศาลปกครอง
  • ศาลฎีกา
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. ข้อใดเป็นเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศ
  • ประเทศชาติมีความสงบเรียบร้อย มีความสามัคคีปรองดอง มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • สังคมมีความสงบสุข เป็นธรรม และมีโอกาสอันทัดเทียมกันเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำ
  • ประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. การปฏิรูปประเทศตามให้เป็นไปตาม “กฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ” คือกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
  • พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2561
  • พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
  • พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561

 

  1. ในหมวด 16 การปฏิรูประเทศ ของรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่มีการกำหนดอย่างชัดเจนให้มีการปฏิรูประเทศด้านใด
  • ด้านกระบวนการยุติธรรม
  • ด้านการศึกษา
  • ด้านเศรษฐกิจ
  • ด้านเกษตรกรรม

 

  1. ห้วงเวลาและขั้นตอนการปฏิรูปด้านต่างๆ ของรัฐธรรมนูญ 2560 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
  • เริ่มดำเนินการปฏิรูปภายใน 1 ปี และคาดหวังว่าจะบรรลุผลใน 5 ปี
  • เริ่มดำเนินการปฏิรูปภายใน 2 ปี และคาดหวังว่าจะบรรลุผลใน 10 ปี
  • เริ่มดำเนินการปฏิรูปภายใน 5 ปี และคาดหวังว่าจะบรรลุผลใน 10 ปี
  • เริ่มดำเนินการปฏิรูปภายใน 5 ปี และคาดหวังว่าจะบรรลุผลใน 20 ปี

 

  1. การปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม ให้คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปเกี่ยวกับหน้าที่อำนาจ และภารกิจของตำรวจให้แล้วเสร็จภายในกี่ปีนับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
  • 1 ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี

 

  1. การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ให้คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน

 

  1. การปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ปัจจุบันคือหน่วยงานใด
  • กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • กองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ (กชท.)
  • กองทุนเพื่อต่อทุนหนุนฝัน (กตท.)
  • กองทุนเพื่อเด็กเรียนดีแต่ยากจน (กยจ.)

 

  1. บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดไว้ว่าในวาระเริ่มแรกให้วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
  • 150 คน
  • 200 คน
  • 250 คน
  • 300 คน

 

  1. บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ได้กำหนดที่มาของวุฒิสภาเอาไว้ ข้อใดกล่าวถูกต้อง
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกจำนวน 150 คน / คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกมา 50 คน
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกจำนวน 200 คน / คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกมา 50 คน
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกจำนวน 50 คน / คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกมา 150 คน
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการเลือกจำนวน 50 คน / คณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภา คัดเลือกมา 200 คน