กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 1-40

  1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 บังคับใช้วันที่
  • 5 กรกฎาคม 2534
  • 5 สิงหาคม 2534
  • 5 กันยายน 2534
  • 6 ตุลาคม 2534

 

  1. การบริหารราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องเป็นไปตามข้อใด
  • ตามความเหมาะสมของภารกิจ
  • เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  • ความคุ้มค่า
  • ความมีประสิทธิภาพ

 

  1. การปฏิบัติหน้าที่ของส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินต้องใช้วิธีการอย่างไร
  • วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • วิธีลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
  • วิธีการกระจายอำนาจการตัดสินใจ
  • วิธีกระจายภารกิจและทรัพยากรให้แก่ท้องถิ่น

 

  1. การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อใดถูกต้อง
  • ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
  • ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
  • ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. เมื่อมีการแบ่งส่วนราชการให้ส่วนราชการกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือนของส่วนราชการโดยต้องคำนึงถึงเรื่องใด
  • คุณภาพและปริมาณงาน
  • คุณภาพและประสิทธิภาพ
  • ความคุ้มค่าและปริมาณงาน
  • ความคุ้มค่าและการลดขั้นตอน

 

  1. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินคือข้อใด
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปลัดกระทรวงมหาดไทย

 

  1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการบริหารราชการส่วนกลาง
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
  • สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
  • สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม
  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม

 

  1. สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็น
  • กระทรวง
  • ทบวง
  • กรม
  • ไม่มีฐานะเป็นกระทรวงแต่สังกัดสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

 

  1. การจัดตั้งกระทรวง ให้ตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. การรวมกรม 2 กรมเข้าด้วยกัน ให้ตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. การจัดตั้ง การรวม การโอน สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ให้ตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. การรวมหรือการโอน สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. เมื่อมีการรวมหรือโอนส่วนราชการโดยไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น ข้อใดมีหน้าที่ต้องตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างเพิ่มขึ้น
  • สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณ
  • คณะรัฐมนตรี
  • คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและคณะกรรมการงบประมาณ

 

  1. ส่วนราชการที่มีหน้าที่ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตรากำลังเพิ่มขึ้นให้ตรวจสอบจนกว่าจะครบกี่ปี
  • 1 ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี

 

  1. การเปลี่ยนชื่อ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง หรือกรม ให้กระทำได้โดยออกเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. การจะยุบ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง หรือกรม ให้สามารถทำได้โดยตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. เมื่อมีการยุบ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง หรือกรม หากส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจประสงค์จะรับโอนข้าราชการหรือลูกจ้างต้องดำเนินการภายในกี่วันนับแต่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน

 

  1. การแบ่งส่วนราชการ สำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมให้ออกเป็น……………โดยให้………………..เป็นผู้ออก
  • พระราชบัญญัติ, รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
  • พระราชกฤษฎีกา, รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
  • กฎกระทรวง, รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
  • ประกาศกระทรวง, รัฐมนตรีเจ้าสังกัด

 

  1. เมื่อมีการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรมให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อ
  • คณะรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรี
  • ก.พ.ร.

 

  1. การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นไปตาม
  • กฎหมายสภาการศึกษาแห่งชาติ
  • กฎหมายข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา
  • กฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
  • กฎหมายจัดตั้งสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

 

  1. การจัดระเบียบในสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นไปตามกฎหมายในข้อใด
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของกรม
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

 

  1. ส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นไปตามข้อใด
  • กระทรวง
  • ทบวง
  • กรม
  • ไม่มีฐานะเป็นกรม

 

  1. กฎหมายใดที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรีเอาไว้
  • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กฎกระทรวงการแบ่งส่วนราชการของกรม
  • ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม

 

  1. เมื่อนายกรัฐมนตรีตาย ขาดคุณสมบัติ ต้องคำพิพากษาให้จำคุก สภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่ไว้วางใจ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลง หรือวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนจากตำแหน่ง กฎหมายกำหนดให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีทำงานแทนนายกรัฐมนตรีได้นั้น เรียกว่า
  • ปฏิบัติหน้าที่แทน
  • ปฏิบัติราชการแทน
  • รักษาราชการแทน
  • ทำการแทนในตำแหน่ง

 

  1. อำนาจหน้าที่นายกรัฐมนตรีข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
  • บังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารทุกตำแหน่งซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรม
  • แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี
  • แต่งตั้งข้าราชการตั้งแต่ตำแหน่งอธิบดีขึ้นไป ไปดำรงตำแหน่งอีกกระทรวง ทบวง กรมหนึ่ง โดยไม่ต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
  • แต่งตั้งข้าราชการการเมืองให้ปฏิบัติราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงานในสำนักนายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปลัดกระทรวง

 

  1. กรณีที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง ถ้านายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไปทำหน้าที่แทนตนนั้น เรียกว่า
  • ปฏิบัติหน้าที่แทน
  • ปฏิบัติราชการแทน
  • รักษาราชการแทน
  • รักษาการในตำแหน่ง

 

  1. ถ้านายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม แต่มิได้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทบวง นายกรัฐมนตรีจะมอบหมายให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดไปปฏิบัติราชการแทนตนได้
  • รองนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • รองนายกรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. ส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการทางการเมือง
  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • สำนักงาน ก.พ.ร.
  • สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. ตำแหน่งตามข้อใดไม่เป็นข้าราชการการเมือง
  • ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • เลขานุการรัฐมนตรี
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

 

  1. ตำแหน่งตามข้อใดเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร
  • รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อใดถูกต้อง
  • รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมือง
  • เลขาธิการคณะรัฐมนตรี รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เลขานุการรัฐมนตรี ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้าราชการการเมือง

 

  1. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีอำนาจหน้าเกี่ยวกับราชการตามข้อใด
  • คณะรัฐมนตรี วุฒิสภา และราชการในพระองค์
  • คณะรัฐมนตรี รัฐสภา และราชการในพระองค์
  • สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา และราชการในพระองค์

 

  1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
  • รับผิดชอบควบคุมราชการประจำในสำนักนายกรัฐมนตรี
  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. ตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการประเภทใด
  • ข้าราชการพลเรือน
  • ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • ข้าราชการการเมือง
  • ไม่มีข้อถูก

 

  1. ข้อใดผิดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ราชการประจำทั่วไปของสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรมใดกรมหนึ่งในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยเฉพาะ
  • เร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการของส่วนราชการที่หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

 

  1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการของกระทรวง
  • สำนักงานรัฐมนตรี กรม
  • สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรม
  • กระทรวง ทบวง กรม
  • สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง กรม

 

  1. ตามการจัดระเบียบราชการของกระทรวง ส่วนราชการใดที่มีฐานะเป็นกรม
  • สำนักงานรัฐมนตรี
  • สำนักงานปลัดกระทรวง
  • กรม
  • สำนักงานปลัดกระทรวง และ กรม

 

  1. กระทรวงจะจัดตั้งส่วนราชการเพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่โดยเฉพาะ ซึ่งไม่มีฐานะเป็นกรมแต่มีผู้บังคับบัญชาเป็นอธิบดี ให้กระทำได้โดยตราเป็นกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศกระทรวง

 

  1. การพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งอธิบดีหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อรับผิดชอบภาระหน้าที่โดยเฉพาะตามที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเสนอ ข้อใดมีหน้าที่พิจารณาอนุมัติ
  • คณะรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี
  • ปลัดกระทรวง
  • ก.พ.ร.