กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 101-130

  1. ผู้ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือนายอำเภอในการปฏิบัติหน้าที่ประจำอำเภอ คือข้อใด
  • ปลัดอำเภอ
  • ปลัดอำเภอ และ หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ
  • นักพัฒนาชุมชน
  • ผิดทุกข้อ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายอำเภอ
  • ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน
  • บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
  • บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย
  • ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย

 

  1. ให้อำเภอมีอำนาจหน้าที่ในเขตอำเภอ ยกเว้นข้อใด
  • ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อร่วมมือกับชุมชนในการดำเนินการให้มีแผนชุมชน
  • ส่งเสริม สนับสนุน และจัดให้มีการบริการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐในลักษณะศูนย์บริการร่วม
  • ไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
  • บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่น

 

  1. ในอำเภอให้มีคณะบุคคลทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมเรื่องพิพาททางแพ่งตามข้อใด
  • ที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
  • ที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท
  • ที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 400,000 บาท
  • ที่ดิน มรดก และข้อพิพาททางแพ่งอื่นที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 500,000 บาท

 

  1. เรื่องพิพาททางแพ่งเกี่ยวกับที่ดิน และมรดก จำกัดทุนทรัพย์ไว้ไม่เกินเท่าใด
  • 200,000 บาท
  • ไม่จำกัดทุนทรัพย์
  • 300,000 บาท
  • ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

 

  1. ใครมีหน้าที่ให้ความเห็นชอบบัญชีรายชื่อคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งที่นายอำเภอได้จัดทำขึ้น
  • คณะกรมการจังหวัด
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • คณะกรมการอำเภอ
  • ปลัดจังหวัด

 

  1. ตำแหน่งตามข้อใดที่สามารถเป็นประธานคณะผู้ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาททางแพ่งได้
  • นายอำเภอ
  • พนักงานอัยการประจำจังหวัด
  • ปลัดอำเภอ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำบัญชี การดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และการจัดทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ทางแพ่ง กำหนดไว้ในกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • พระราชกำหนด

 

  1. เมื่อคู่พิพาทได้ตกลงกันแล้ว และภายหลังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ยื่นคำขอต่อผู้ใด เพื่อให้ศาลออกคำบังคับให้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ
  • พนักงานอัยการ
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • นายอำเภอ
  • ปลัดอำเภอ

 

  1. ข้อใดคือหลักในการไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญาที่เกิดขึ้นในเขตอำเภอ
  • เป็นความผิดอันยอมความได้
  • มิใช่เป็นความผิดเกี่ยวกับเพศ
  • ผู้เสียหายและผู้ถูกกล่าวหายินยอม
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ผู้ใดมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยความผิดที่มีโทษทางอาญาในเขตอำเภอ
  • นายอำเภอ
  • ปลัดอำเภอ
  • พนักงานอัยการ
  • นายอำเภอ หรือ ปลัดอำเภอที่นายอำเภอมอบหมาย

 

  1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการแบ่งส่วนราชการในอำเภอ
  • สำนักงานอำเภอ
  • ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอ
  • ตำบล และ หมู่บ้าน
  • ข้อ และ 2. ถูก

 

  1. การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแล้วให้เป็นไปตามกฎหมายใดด้วย
  • รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
  • กฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม
  • กฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่
  • กฎหมายว่าด้วยหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

 

  1. ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นข้อใดถูกต้อง
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
  • เทศบาล สุขาภิบาล
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ในปัจจุบันมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใดบ้าง
  • อบจ. เทศบาล อบต.
  • กทม. อบจ. สุขาภิบาล อบต.
  • กทม. อบจ. เทศบาล อบต.
  • กทม. อบจ. เทศบาล อบต. เมืองพัทยา

 

  1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีชื่อเรียกโดยย่อว่าอย่างไร
  • ก.พ.ร.
  • “ก.พ.น.”
  • “ก.ร.ก.”
  • “ค.พ.ร.”

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • นายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
  • รองนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

  1. คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนกี่คน
  • 10 คน
  • ไม่เกิน 10 คน
  • 12 คน
  • ไม่เกิน 12 คน

 

  1. ตำแหน่งตามข้อใดเป็นรองประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ผู้แทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจ
  • รองนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีหนึ่งคนที่นายกรัฐมนตรีกำหนด

 

  1. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมาจากการแต่งตั้งของ
  • คณะรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • คณะกรรมการ “ก.พ.ร”

 

  1. ผู้คุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมาจากผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ ยกเว้นข้อใด
  • นิติศาสตร์
  • รัฐศาสตร์
  • รัฐประศาสนศาสตร์
  • เศรษฐศาสตร์

 

  1. ผู้คุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการจำนวนเท่าใดต้องทำงานเต็มเวลา
  • อย่างน้อย 3 คน
  • ไม่น้อยกว่า 3 คนแต่ไม่เกิน 5 คน
  • อย่างน้อย 5 คน
  • ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 7 คน

 

  1. ผู้คุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • คราวละ 6 ปี
  • คราวละ 4 ปี วาระเดียว
  • คราวละ 3 ปี วาระเดียว
  • คราวละ 4 ปี แต่ไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน

 

  1. ถ้าผู้คุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการว่างลงก่อนครบวาระ ให้ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน

 

  1. ค่าตอบแทนของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ต้องทำงานเต็มเวลาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง
  • ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ

 

  1. อำนาจหน้าที่ ก.พ.ร. ข้อใดผิด
  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่รัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการและงานของรัฐอย่างอื่น
  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่มิได้อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหารตามที่หน่วยงานดังกล่าวร้องขอ
  • รายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรณีที่มีการดำเนินการขัดหรือไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา 3/1
  • ดำเนินการให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจแก่ส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป รวมตลอดทั้งการฝึกอบรม

 

  1. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ อยู่ในส่วนราชการใด
  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงมหาดไทย
  • สำนักงาน ก.พ.
  • ไม่สังกัดส่วนราชการใดแต่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี

 

  1. ตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ
  • เลขานุการ ก.พ.ร.
  • เลขาธิการ ก.พ.ร
  • เลขาธิการ ก.พ.
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. เมื่อ ก.พ.ร. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการและงานของรัฐเสร็จแล้วให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อที่คณะรัฐมนตรีจะได้เสนอต่อ
  • สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • วุฒิสภา
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเลขาธิการ ก.พ.ร.
  • เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ
  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างของสำนักงาน ก.พ.ร.
  • ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี
  • ถูกทุกข้อ