- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บังคับใช้วันที่
- 14 พฤศจิกายน 2540
- 14 พฤศจิกายน 2539
- 14 พฤษภาคม 2540
- 14 พฤษภาคม 2539
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนดกี่วัน
- วันถัดไป
- 90
- 120
- 180
- ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองห้ามใช้บังคับกับหน่วยงานหรือการดำเนินงาน ยกเว้นข้อใด
- รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
- การดำเนินงานเกี่ยวกับนโยบายการต่างประเทศ
- การพิจารณาของปลัดกระทรวงในงานทางนโยบายโดยตรง
- การดำเนินกิจการขององค์การทางศาสนา
- การยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ไปบังคับแก่การดำเนินกิจการหรือกับหน่วยงานอื่นให้ตราเป็นกฎหมายใด
- พระราชบัญญัติ
- พระราชกฤษฎีกา
- พระราชกำหนด
- กฎกระทรวง
- การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครอง หมายถึง
- กฎ
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- คำสั่งทางปกครอง
- การพิจารณาทางปกครอง
- การเตรียมการและการดำเนินการของเจ้าหน้าที่เพื่อจัดให้มีคำสั่งทางปกครองหรือกฎ หมายถึง
- กฎ
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- คำสั่งทางปกครอง
- การพิจารณาทางปกครอง
- การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราว หมายถึง
- กฎ
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- คำสั่งทางปกครอง
- การพิจารณาทางปกครอง
- ข้อบังคับ หรือบทบัญญัติอื่นที่มีผลบังคับเป็นการทั่วไป โดยไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดหรือบุคคลใดเป็นการเฉพาะ หมายถึง
- กฎ
- วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- คำสั่งทางปกครอง
- การพิจารณาทางปกครอง
- ข้อใดคือคู่กรณีตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- ผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านคำขอ
- ผู้อยู่ในบังคับ
- ผู้ซึ่งได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณา
- ถูกทุกข้อ
- ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- นายกรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- บุคคลหรือคณะบุคคลตามข้อใดมีอำนาจแต่งตั้งประธานคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- นายกรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- ข้อใดไม่ใช่สาขาความเชี่ยวชาญของผู้ที่มาเป็นประธานคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- การบริหารราชการแผ่นดิน
- สังคมศาสตร์
- การบริหารและการจัดการ
- นิติศาสตร์
- ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดไม่ได้เป็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองโดยตำแหน่ง
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- เลขาธิการคณะรัฐมนตรี
- เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
- เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
- บุคคลหรือคณะบุคคลตามข้อใดมีอำนาจแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- นายกรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
- ไม่น้อยกว่า 4 คนแต่ไม่เกิน 10 คน
- ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9 คน
- ไม่น้อยกว่า 10 คนแต่ไม่เกิน 15 คน
- ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่มากกว่า 10 คน
- ข้อใดไม่ใช่สาขาความเชี่ยวชาญของผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- รัฐประศาสนศาสตร์
- รัฐศาสตร์
- สังคมศาสตร์
- เศรษฐศาสตร์
- ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
- 3 ปี วาระเดียว
- 3 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งได้อีก
- 4 ปีไม่เกิน 2 วาระติดต่อกัน
- 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งได้อีก
- ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจแต่งตั้งเลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการในคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- นายกรัฐมนตรี
- คณะรัฐมนตรี
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
- หน่วยงานใดทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักงานปลัด สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักงานอัยการสูงสุด
- ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- จัดทำรายงานเสนอวุฒิสภาเป็นครั้งคราวตามความเหมาะสมแต่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศ
- ให้คำปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ตามที่บุคคลดังกล่าวร้องขอ
- สอดส่องดูแลและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่
- ในกรณีใดที่เจ้าหน้าที่จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้
- เป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
- เป็นเจ้าหนี้
- เป็นคู่กรณีเอง
- ถูกทุกข้อ
- ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เห็นเองว่าการพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลางให้ดำเนินการตามข้อใด
- หยุดการพิจารณาเรื่องไว้ก่อนและแจ้งผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไป
- ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเจ้าหน้าที่ผู้นั้น
- พิจารณาเรื่องต่อไปก็ได้และแจ้งผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไป
- ถูกทุกข้อ
- บุคคลตามข้อใดอาจเป็นคู่กรณีในการพิจารณาทางปกครองได้
- นิติบุคคล
- บุคคลธรรมดา
- คณะบุคคล
- ถูกทุกข้อ
- ความสามารถของคู่กรณีในการทำกระบวนการพิจารณาทางปกครองข้อใดไม่ถูกต้อง
- ผู้ซึ่งมีบทกฎหมายเฉพาะกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้ แม้ผู้นั้นจะยังไม่บรรลุนิติภาวะ
- นิติบุคคลหรือคณะบุคคลโดยผู้แทนหรือตัวแทน
- ผู้ซึ่งมีประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยกำหนดให้มีความสามารถกระทำการในเรื่องที่กำหนดได้
- ผู้ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
- ในการพิจารณาทางปกครองที่คู่กรณีต้องมาปรากฏตัวต่อหน้าเจ้าหน้าที่คู่กรณีมีสิทธินำบุคคลตามข้อใดเข้ามาในการพิจารณาทางปกครองได้
- ญาติ
- ทนายความหรือที่ปรึกษา
- ทนายความหรือผู้ทรงคุณวุฒิ
- ผู้ทรงคุณวุฒิ
- กรณีที่มีการยื่นคำขอโดยมีผู้ลงชื่อร่วมกันเกิน 50 คน ผู้ที่ถูกระบุชื่อทั้งหมดเรียกว่า
- ตัวการ
- ตัวแทนร่วม
- ผู้แทนร่วม
- ผู้สนับสนุน
- ตัวแทนร่วมจะบอกเลิกการเป็นตัวแทนต้องมีหนังสือแจ้งบุคคลตามข้อใด
- เจ้าหน้าที่
- เจ้าหน้าที่และคู่กรณีทุกราย
- ประธานคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
- การพิจารณาคำสั่งทางปกครองข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
- ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองให้คู่กรณีทราบตามความจำเป็น
- เจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานที่ตนเห็นว่าจำเป็นแก่การพิสูจน์ข้อเท็จจริง
- ในการพิจารณาทางปกครอง เจ้าหน้าที่อาจตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ตามความเหมาะสม
- ถูกทุกข้อ
- ข้อใดคือรูปแบบคำสั่งทางปกครอง
- หนังสือ
- การสื่อความหมายในรูปแบบอื่น
- วาจา
- ถูกทุกข้อ
- คำสั่งทางปกครองเป็นคำสั่งด้วยวาจาถ้าผู้รับคำสั่งนั้นร้องขอภายในกี่วันเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งต้องยืนยันคำสั่งนั้นเป็นหนังสือ
- 3 วัน
- 7 วัน
- 10 วัน
- 15 วัน