กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ข้อ 31-60

  1. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่ต้องระบุลงไปในคำสั่งทางปกครอง
  • วัน เดือนและปีที่ทำคำสั่ง
  • ชื่อและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง
  • อัตราเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง
  • ลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่ง

 

  1. คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือต้องจัดให้มีเหตุผลประกอบในการทำคำสั่ง ยกเว้นข้อใด
  • ข้ออ้างอิงของคณะกรรมการ
  • ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
  • ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
  • ข้อกฎหมายที่อ้างอิง

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้คำสั่งทางปกครองใดที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งนั้นเองหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง
  • นายกรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • นายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีมอบหมาย

 

  1. คำสั่งทางปกครองที่อาจอุทธรณ์หรือโต้แย้งต่อไปได้ถ้ามีการฝ่าฝืนให้ระยะเวลาสำหรับการอุทธรณ์หรือการโต้แย้งขยายออกไปอีกกี่ปี
  • 1 ปีนับแต่วันออกคำสั่งทางปกครอง
  • 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง
  • 2 ปีนับแต่วันออกคำสั่งทางปกครอง
  • 2 ปีนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งทางปกครอง

 

  1. คำสั่งทางปกครองใดไม่ได้ออกโดยรัฐมนตรีคู่กรณีอาจอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต่อเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งทางปกครองภายในกี่วัน
  • 3 วัน
  • 7 วัน
  • 10 วัน
  • 15 วัน

 

  1. เมื่อคู่กรณีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองและเจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วให้พิจารณาคำอุทธรณ์และแจ้งผู้อุทธรณ์ภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. เมื่อคู่กรณีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองและเจ้าหน้าที่ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วให้พิจารณาคำอุทธรณ์ ในกรณีที่ไม่เห็นด้วยให้เร่งรายงานความเห็นพร้อมเหตุผลไปยังผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. ผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ตามข้อ 37 ต้องพิจารณาคำอุทธรณ์ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
  • 15 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. ถ้าผู้มีอำนาจพิจารณาคำอุทธรณ์ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาให้ขยายระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ออกไปได้ไม่เกินกี่วัน
  • 15 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน
  • 60 วัน

 

  1. คำสั่งทางปกครองคู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อศาลได้ภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
  • 90 วัน
  • 60 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน

 

  1. คำสั่งทางปกครองคู่กรณีมีสิทธิโต้แย้งต่อศาลใดได้ทั้งปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
  • ศาลปกครอง
  • ศาลฎีกา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้นได้
  • 90 วัน
  • 60 วัน
  • 45 วัน
  • 30 วัน

 

  1. กรณีตามข้อใดที่ไม่สามารถเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ได้
  • แสดงข้อความอันเป็นเท็จ
  • ปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
  • ถูกข่มขู่
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่เป็นการให้เงินหรือให้ทรัพย์สินต้องคำนึงถึงเรื่องใด
  • ความเชื่อโดยสุจริตของผู้รับประโยชน์ และประโยชน์สาธารณะ
  • ความเชื่อโดยสุจริตของคู่กรณี และประโยชน์สาธารณะ
  • ความเชื่อโดยสุจริตของคู่กรณี
  • ประโยชน์สาธารณะ

 

  1. ผู้ได้รับผลกระทบจากการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนความเสียหาย โดยต้องร้องขอค่าทดแทนภายในกี่วัน
  • 30 วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • 180 วัน

 

  1. กรณีตามข้อใดที่คำสั่งทางปกครองเป็นการให้ประโยชน์แก่ผู้รับคำสั่งทางปกครองอาจถูกเพิกถอนทั้งหมดหรือบางส่วน
  • ข้อเท็จจริงและพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไป
  • บทกฎหมายเปลี่ยนแปลงไป
  • มีกฎหมายกำหนดให้เพิกถอนได้หรือมีข้อสงวนสิทธิให้เพิกถอนได้
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. คู่กรณีมีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคำสั่งทางปกครองใหม่ได้ภายในกี่วันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุซึ่งอาจขอให้พิจารณาใหม่
  • 30 วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • 180 วัน

 

  1. เมื่อมีกรณีตามข้อใดคู่กรณีมีสิทธิร้องขอให้เจ้าหน้าที่พิจารณาคำสั่งทางปกครองใหม่ได้
  • มีพยานหลักฐานใหม่ อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ
  • คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
  • คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ก่อนที่จะมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินเพื่อขายทอดตลาด เจ้าหน้าที่ต้องมีหนังสือเตือนให้ผู้นั้นชำระเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่ากี่วัน
  • 3 วัน
  • 7 วัน
  • 10 วัน
  • 15 วัน

 

  1. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำถ้าเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการด้วยตนเองผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองจะต้องชดใช้ค่าใช้จ่ายและเงินเพิ่มในอัตราร้อยละเท่าใด
  • 25 ต่อเดือน
  • 25 ต่อปี
  • 20,000 บาทต่อวัน
  • 20,000 บาทต่อเดือน

 

  1. คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้กระทำหรือละเว้นกระทำ ถ้าผู้อยู่ในบังคับของคำสั่งทางปกครองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามให้มีการชำระค่าปรับทางปกครองตามข้อใด
  • 25 ต่อเดือน
  • 25 ต่อปี
  • 20,000 บาทต่อวัน
  • 20,000 บาทต่อเดือน

 

  1. ระยะเวลาและอายุความของคำสั่งทางปกครองถ้าผู้ใดไม่อาจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในระยะเวลาที่กำหนดเพราะมีพฤติการณ์ที่จำเป็นอันมิได้เกิดขึ้นจากความผิดของผู้นั้นอาจขอขยายระยะเวลาได้ โดยต้องยื่นคำขอภายในกี่วัน
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. การแจ้งคำสั่งทางปกครองโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับถ้าอยู่ในประเทศถ้าครบกำหนดกี่วันให้ถือว่าได้รับแล้ว
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. การแจ้งคำสั่งทางปกครองโดยวิธีส่งทางไปรษณีย์ตอบรับถ้าอยู่ต่างประเทศถ้าครบกำหนดกี่วันให้ถือว่าได้รับแล้ว
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. ในกรณีที่มีผู้รับคำสั่งทางปกครองเกิน 50 คนให้เจ้าหน้าที่แจ้งโดยวิธีปิดประกาศไว้ ณ ที่ใด
  • ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน
  • ที่ทำการของเจ้าหน้าที่หรือที่ว่าการอำเภอที่ผู้รับมีภูมิลำเนา
  • ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ในกรณีที่มีผู้รับคำสั่งทางปกครองเกิน 50 คน หลังจากปิดประกาศแล้วให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลากี่วัน
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. กรณีใดที่คำสั่งทางปกครองต้องประกาศในหนังสือพิมพ์ซึ่งแพร่หลายในท้องถิ่น
  • ไม่รู้ตัวผู้รับ
  • รู้ตัวและภูมิลำเนาแต่มีผู้รับเกิน 100 คน
  • รู้ตัวแต่ไม่รู้ภูมิลำเนา
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. การแจ้งคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือโดยการประกาศในหนังสือพิมพ์ให้ถือว่าได้รับแจ้งเมื่อล่วงพ้นระยะเวลากี่วัน
  • 7 วัน
  • 15 วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน

 

  1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการที่มีอำนาจดำเนินการพิจารณาทางปกครอง
  • มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี วาระเดียว
  • คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระได้ถ้ามีเหตุบกพร่องอย่างยิ่งต่อหน้าที่
  • การแต่งตั้งกรรมการในลักษณะที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิให้แต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคล
  • คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระได้ถ้ามีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

 

  1. ถ้าการพิจารณาเรื่องใดถ้าต้องเลื่อนมาเพราะไม่ครบองค์ประชุม หากได้มีการนัดประชุมเรื่องนั้นอีกภายในกี่วัน และมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งหมด ให้ถือว่าเป็นองค์ประชุม
  • 10 วัน
  • 14 วัน
  • 15 วัน
  • 21 วัน