กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ข้อ 1-15

  1. ข้อใดคือชื่อพระราชบัญญัติที่ถูกต้อง
  • ระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการ พ.ศ. 2539
  • พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2539
  • พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
  • พระราชบัญญัติความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ พ.ศ. 2539

 

  1. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 บังคับใช้วันที่
  • 14 พฤศจิกายน 2539
  • 15 พฤศจิกายน 2539
  • 14 พฤษภาคม 2539
  • 15 พฤษภาคม 2539

 

  1. เจ้าหน้าที่ตามข้อใดที่ต้องรับผิดทางละเมิด หากตนเองได้กระทำ
  • ข้าราชการ
  • พนักงาน
  • ลูกจ้าง
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อใดเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
  • กระทรวง ทบวง กรม
  • ราชการส่วนภูมิภาค
  • ราชการส่วนท้องถิ่น
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำแหน่งพนักงานขับรถ สังกัดหน่วยงานรัฐแห่งหนึ่ง ได้รับมอบหมายให้ขับรถพาเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานไปปฏิบัติงานต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ของทางราชการที่นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
  • หน่วยงานของรัฐ
  • เจ้าหน้าที่
  • แม่ค้า
  • กระทรวงการคลัง

 

  1. ถ้าการละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่ซึ่งไม่ได้สังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งใดหน่วยงานใดต้องรับผิดชอบ
  • สำนักนายกรัฐมนตรี
  • กระทรวงการคลัง
  • กระทรวงมหาดไทย
  • กระทรวงยุติธรรม

 

  1. นาย ก เจ้าหน้าที่ของรัฐ วันหยุดราชการ ได้พาครอบครัวไปเที่ยวต่างจังหวัด ระหว่างทางรถยนต์ส่วนตัวของ นาย ก ขับมา ไม่สามารถบังคับได้และเบรกไม่อยู่ ทำให้ไปชนกับรถเข็นขายผลไม้ของแม่ค้าข้างทางได้รับความเสียหาย ผู้เสียหายต้องฟ้องใคร
  • หน่วยงานของรัฐ
  • เจ้าหน้าที่
  • แม่ค้า
  • กระทรวงการคลัง

 

  1. ถ้าศาลพิพากษายกฟ้องเพราะเหตุที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ที่ถูกฟ้องมิใช่ผู้ต้องรับผิด ให้ขยายอายุความฟ้องร้องผู้ที่ต้องรับผิดได้ตามระยะเวลาในข้อใดนับแต่วันที่คำพิพากษานั้นถึงที่สุด
  • 6 เดือน
  • 1 ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี

 

  1. หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ในกรณีใดบ้าง
  • เรียกคืนได้ทุกกรณีเพราะเป็นเงินของรัฐ
  • เจ้าหน้าที่ได้กระทำการด้วยความจงใจ
  • เจ้าหน้าที่ได้กระทำการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
  • ข้อ 2 และ 3

 

  1. ในกรณีที่การละเมิดเกิดจากเจ้าหน้าที่หลายคน มิให้นำหลักเรื่องใดของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาบังคับ
  • ลูกหนี้ร่วม
  • ประนีประนอมยอมความ
  • ค้ำประกัน
  • ภาระจำยอม

 

  1. ถ้าหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหาย สิทธิที่จะเรียกให้อีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตนให้มีกำหนดอายุความกี่ปี
  • 1 ปี
  • 3 ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี

 

  1. กรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐถ้ามิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดำเนินการตามกฎหมายใด
  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
  • ประมวลกฎหมายอาญา
  • ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

 

  1. เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะทำในขณะปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ก็ตาม สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่กำหนดอายุความกี่ปี
  • 1 ปี
  • 2 ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี

 

  1. ในกรณีที่ผู้เสียหายเห็นว่า หน่วยงานของรัฐต้องรับผิด ผู้เสียหายจะยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายที่เกิดแก่ตนก็ได้ โดยให้ฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายในกี่วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน
  • ปี

 

  1. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม