พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ข้อ 1-30

  1. มาตราใดของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพระราชกฤษฎีกานี้
  • มาตรา 3
  • มาตรา 3/1
  • มาตรา 70
  • มาตรา 71

 

  1. ข้อใดคือชื่อพระราชกฤษฎีกาที่ถูกต้อง
  • พระราชกฤษฎีกาการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
  • พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546

 

  1. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เริ่มบังคับใช้วันที่
  • 9 ตุลาคม พ.ศ. 2546
  • 10 ตุลาคม พ.ศ. 2546
  • 9 ธันวาคม พ.ศ. 2546
  • 10 ธันวาคม พ.ศ. 2546

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ” ตามพระราชกฤษฎีกานี้
  • กระทรวง
  • กรม
  • จังหวัด
  • องค์การบริหารส่วนตำบล

 

  1. รัฐวิสาหกิจ ตามพระราชกฤษฎีกานี้ หมายถึงรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายใด
  • พระราชบัญญัติ
  • พระราชกฤษฎีกา
  • พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
  • กฎกระทรวง

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ “ส่วนราชการ” ตามคำนิยามของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  • กระทรวง
  • ทบวง
  • กรม

 

  1. ใครเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ตามข้อใด
  • ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
  • หากแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
  • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
  • กรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว

 

  1. ข้อใดไม่ใช่เป้าหมายของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  • ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
  • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
  • มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

 

  1. ข้อใดถือเป็นการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
  • การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต
  • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  • จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
  • เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  • การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องมีรายละเอียดของขั้นตอนที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ ความหมายของการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  • การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
  • การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสงบและปลอดภัยของสังคมส่วนรวม
  • การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศ

 

  1. การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่า
  • ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ
  • ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี
  • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก
  • ประชาชนและประเทศมีความสงบและปลอดภัย

 

  1. ข้อใดเป็นแนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  • การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
  • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  • ถ้าแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
  • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่แนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  • การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
  • ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ
  • การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
  • ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน

 

  1. ข้อใดถือว่าเป็นแนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
  • ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน
  • ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
  • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
  • ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ

 

  1. แนวทางการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • ต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของสังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา
  • การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องสอดคล้องกับนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
  • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  • กรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว

 

  1. ตามตัวเลือกข้อใดเป็นการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ แก้ไขปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว
  • มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  • ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
  • ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า

 

  1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ข้อใดไม่ถูกต้อง
  • กำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องมีเป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
  • ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ
  • ถ้าการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
  • การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้

 

  1. การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ คือตัวเลือกใด
  • การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
  • มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  • ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
  • ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • กรณีที่การปฏิบัติภารกิจเกิดผลกระทบต่อประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่จะต้องดำเนินการแก้ไขหรือบรรเทาผลกระทบนั้น
  • ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการไว้เป็นการล่วงหน้า
  • การกำหนดแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลาและงบประมาณที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน
  • ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วนทุกด้าน

 

  1. แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการเป็นแผนกี่ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี

 

  1. หน่วยงานใดต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการ (ถามความเข้าใจ)
  • กรมการปกครอง
  • กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  • สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. แผนปฏิบัติราชการต้องทำให้สอดคล้องกับ
  • ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท
  • แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • นโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. เมื่อนายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ใครมีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการและให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่
  • เลขาธิการ ก.พ.ร.
  • เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
  • หัวหน้าคณะผู้แทน
  • หัวหน้าส่วนราชการ

 

  1. การปฏิบัติราชการภายในส่วนราชการจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนราชการต้องดำเนินการอย่างไร
  • กำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน
  • กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ
  • เผยแพร่ให้ข้าราชการและประชาชนทราบทั่ว
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. หน่วยงานใดเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดทำบัญชีต้นทุนในงานบริการสาธารณะ
  • สำนักงบประมาณ
  • ก.พ.ร.
  • กรมบัญชีกลาง
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

  1. ส่วนราชการต้องมีการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ เพื่อรายงานให้หน่วยงานใดทราบ
  • สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร.
  • กรมบัญชีกลาง ก.พ.ร. และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร.
  • กรมบัญชีกลาง ก.พ.ร. และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

  1. องค์กรใดเป็นผู้กำหนดให้ส่วนราชการต้องคำนวณรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ
  • สำนักงบประมาณ
  • ก.พ.ร.
  • กรมบัญชีกลาง
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

  1. แผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะต้องเสนอหน่วยงานใดทราบ
  • กรมบัญชีกลาง ก.พ.ร. และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
  • สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร.
  • กรมบัญชีกลาง ก.พ.ร. และ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  • สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร.