- ถ้ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะใดของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะประเภทและคุณภาพเดียวกัน ส่วนราชการต้องจัดทำแผนตามข้อใด
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- แผนการลดรายจ่ายต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ
- แผนการลดต้นทุน
- แผนการบริหารราชการแผ่นดิน
- หน่วยงานใดมีหน้าที่ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่
- กรมบัญชีกลาง และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- สำนักงบประมาณ และ ก.พ.ร.
- กรมบัญชีกลาง ก.พ.ร.
- สำนักงบประมาณ และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- การประเมินความคุ้มค่าในการปฏิบัติภารกิจของรัฐต้องรายงานใครเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาว่าภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือยุบเลิก
- คณะรัฐมนตรี
- รัฐมนตรี
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- ข้อใดเป็นหลักในการจัดซื้อหรือจัดจ้างของส่วนราชการ ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 (ถามความเข้าใจ)
- หลักการคุ้มค่า
- เปิดเผยและเที่ยงธรรม
- มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- ตรวจสอบได้
- การปฏิบัติภารกิจหากส่วนราชการจำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจแจ้งผลการพิจารณาให้ส่วนราชการที่ยื่นคำขอทราบภายในกี่วัน
- 7 วัน
- 15 วัน
- 30 วัน
- 45 วัน
- ในการลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ต้องมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจโดยมุ่งผลในข้อใด
- เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
- เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
- มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
- ความสะดวกและรวดเร็วในการบริการประชาชน
- องค์กรใดสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการหรือแนวทางในการกระจายอำนาจการตัดสินใจ การลดขั้นตอนในการปฏิบัติราชการเพื่อให้ส่วนราชการถือปฏิบัติได้
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- กรมบัญชีกลาง
- หน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบและกำหนดให้ส่วนราชการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง
- สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
- สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
- สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
- การบริการประชาชนและการติดต่อประสานงานระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ต้องกระทำโดย
- คอนเทนต์จิทัลแพลตฟอร์ม
- แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง
- แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม
- หนังสือราชการ
- ภายในกระทรวงใครเป็นผู้รับผิดชอบในการร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม
- ปลัดกระทรวง
- อธิบดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัด
- นายอำเภอ
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหวัด
- ปลัดกระทรวง
- อธิบดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัด
- นายอำเภอ
- ใครเป็นผู้รับผิดชอบให้ส่วนราชการที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอ
- ปลัดกระทรวง
- อธิบดี
- ผู้ว่าราชการจังหวัด
- นายอำเภอ
- การทบทวนภารกิจของส่วนราชการต้องคำนึงถึงสิ่งใด
- ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท แผนการปฏิรูปประเทศ
- แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- นโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภา
- ถูกทุกข้อ
- ใครเป็นผู้กำหนดเวลาให้ส่วนราชการทบทวนภารกิจ
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- กรมบัญชีกลาง
- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- ถ้าส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจของตนเอง ต้องเสนอเรื่องให้ผู้ใดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
- คณะรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
- ก.พ.ร.
- สำนักงบประมาณ
- ใครมีอำนาจเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ว่าภารกิจของส่วนราชการสมควรเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิก
- คณะรัฐมนตรี
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
- ก.พ.ร.
- สำนักงบประมาณ
- โดยหลักแล้วถ้ามีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการแล้ว ห้ามมิให้จัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่
- รักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ
- คณะรัฐมนตรีพิจารณาสังการ
- รักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชน
- ข้อ 1 และ 3
- หากมีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการแล้ว จะจัดตั้งส่วนราชการที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ที่มีลักษณะเดียวกันขึ้นใหม่ต้องได้รับความเห็นชอบจาก
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- กรมบัญชีกลาง
- คณะรัฐมนตรี
- เมื่อส่วนราชการใดได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือจากประชาชน จะต้องตอบคำถามหรือแจ้งการดำเนินการให้ทราบภายในระยะเวลากี่วัน
- 3 วัน
- 7 วัน
- 15 วัน
- 30 วัน
- เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่จะสามารถติดต่อสอบถามหรือขอข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการ ให้ส่วนราชการจัดทำอะไร
- คอนเทนต์จิทัลแพลตฟอร์ม
- แพลตฟอร์มดิจิทัลกลาง
- แอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม
- ระบบเครือข่ายสารสนเทศ
- หน่วยงานใดที่ต้องจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลาง
- กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
- กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (หรือกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เดิม)
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- สำนักงาน ก.พ.ร.
- ให้ส่วนราชการจัดให้มีคณะผู้ประเมินอิสระเพื่อมาประเมินผลการปฏิบัติราชการตามข้อใด
- ความคุ้มค่าในภารกิจ
- ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ
- ผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ
- ถูกทุกข้อ
- ถ้าส่วนราชการใดดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด องค์กรใดสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินเพิ่มพิเศษเป็นบำเหน็จความชอบแก่ส่วนราชการนั้นได้
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- กรมบัญชีกลาง
- คณะรัฐมนตรี
- ส่วนราชการใดได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงาน และผลสัมฤทธิ์โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายและคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ ใครสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัลการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ส่วนราชการนั้น
- สำนักงบประมาณ
- ก.พ.ร.
- กรมบัญชีกลาง
- คณะรัฐมนตรี
- ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ ในเรื่องใด
- การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และ การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน
- การประเมินผลการปฏิบัติราชการ และ การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
- การอำนวยความสะดวกและการตอบสนองความต้องการของประชาชน และ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
- การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ และ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในหมวดใด
- หมวด 1 และหมวด 2
- หมวด 2 และหมวด 5
- หมวด 5 และหมวด 7
- หมวด 6 และหมวด 8
- หน่วยงานใดเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
- สำนักนายกรัฐมนตรี
- กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
- สำนักงาน ก.พ.ร.
- กระทรวงมหาดไทย
- กรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจใดไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ให้แจ้งต่อผู้ใดซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล เพื่อให้องค์การมหาชนหรือรัฐวิสาหกิจดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
- คณะรัฐมนตรี
- นายกรัฐมนตรี
- รัฐมนตรี
- ก.พ.ร.
- สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เป็นหน่วยงานประเภทใด
- หน่วยงานของรัฐ
- รัฐวิสาหกิจ
- องค์การมหาชน
- เอกชน
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ได้มีการแก้ไขในประเด็นใดบ้าง (ถามความเข้าใจ)
- ยกเลิกแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
- ยกเลิกแผนนิติบัญญัติ
- แก้ไขแผนปฏิบัติราชการ จาก 4 ปี เป็น 5 ปี
- ถูกทุกข้อ