ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ข้อ 1-30

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 บังคับใช้วันที่
  • 1 มิถุนายน 2526
  • 10 มิถุนายน 2526
  • 1 มีนาคม 2526
  • 10 มีนาคม 2526

 

  1. งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำการรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม จนถึงการทำลาย เรียกว่า
  • งานบริหารสารบรรณ
  • งานสารบรรณ
  • งานบริหารงานเอกสาร
  • งานทะเบียน

 

  1. ความหมายของ “หนังสือ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณคือข้อใด
  • หนังสือภายใน
  • หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้น
  • หนังสือภายนอก
  • หนังสือราชการ

 

  1. การรับส่งข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือผ่านระบบสื่อสารด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า
  • ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ
  • ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
  • ระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ผู้รักษาการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ คือข้อใด
  • นายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการ ก.พ.
  • ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • คณะรัฐมนตรี

 

  1. หนังสือราชการมีกี่ชนิด
  • 4 ชนิด
  • 5 ชนิด
  • 6 ชนิด
  • 7 ชนิด

 

  1. ข้อใดคือหนังสือราชการ
  • หนังสือที่มีไปมาระหว่างส่วนราชการ
  • หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
  • หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่หนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
  • หนังสือด่วน
  • หนังสือภายนอก
  • หนังสือประชาสัมพันธ์
  • หนังสือประทับตรา

 

  1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑเป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก เรียกว่า
  • หนังสือภายนอก
  • หนังสือภายใน
  • หนังสือแบบพิธี
  • หนังสือติดต่อ

 

  1. การอ้างถึงหนังสือภายนอกโดยปกติให้ทำตามข้อใด
  • อ้างถึงหนังสือทุกฉบับ
  • อ้างถึงหนังสือฉบับสุดท้ายเพียงฉบับเดียว
  • ไม่ต้องอ้างถึง
  • ผิดทุกข้อ

 

  1. ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสือภายนอกอยู่ในระดับกระทรวง หรือทบวง ให้ลงชื่อส่วนราชการระดับใดไว้ด้วย
  • ส่วนราชการระดับกรม
  • ส่วนราชการระดับกรมและกอง
  • ส่วนราชการระดับกอง
  • ส่วนราชการระดับกองและสำนัก

 

  1. ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสือภายนอกอยู่ในระดับกรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการระดับใดไว้ด้วย
  • ส่วนราชการระดับกระทรวง
  • ส่วนราชการระดับกอง
  • ส่วนราชการระดับสำนัก
  • ส่วนราชการระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

 

  1. หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอกเป็นหนังสือติดต่อภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน คือหนังสือตามข้อใด
  • หนังสือภายนอก
  • หนังสือภายใน
  • หนังสือประทับตรา
  • หนังสือสั่งการ

 

  1. หนังสือภายในใช้กระดาษแบบใด
  • กระดาษตราครุฑ
  • กระดาษหนังสือภายใน
  • กระดาษบันทึกข้อความ
  • กระดาษปอนด์ขาว

 

  1. ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสือภายใน อยู่ในระดับกรมขึ้นไปให้ลงชื่อส่วนราชการระดับใดด้วย
  • ส่วนราชการระดับกรม
  • ส่วนราชการระดับกรมและกอง
  • ส่วนราชการระดับกอง
  • ส่วนราชการระดับกองและสำนัก

 

  1. ถ้าส่วนราชการที่ออกหนังสือภายใน อยู่ในระดับต่ำกว่ากรมลงมาให้ลงชื่อส่วนราชการระดับใดด้วย
  • ส่วนราชการระดับกระทรวง
  • ส่วนราชการระดับกองหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • ส่วนราชการระดับสำนัก
  • ส่วนราชการระดับกองหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่อง

 

  1. หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ไดรับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา เป็นหนังสือชนิดใด
  • หนังสือประทับตรา
  • หนังสือสั่งการ
  • หนังสือประชาสัมพันธ์
  • หนังสือภายใน

 

  1. หนังสือประทับตราให้ใช้ได้เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
  • การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
  • การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
  • การเตือนเรื่องที่ค้าง
  • เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกองขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา

 

  1. หนังสือประทับตราใช้กระดาษแบบใด
  • กระดาษตราครุฑ
  • กระดาษหนังสือภายใน
  • กระดาษบันทึกข้อความ
  • กระดาษปอนด์ขาว

 

  1. ผู้ที่ลงชื่อย่อกำกับตราในหนังสือประทับตราเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับใด
  • ระดับกรม
  • ระดับกอง
  • ระดับสำนัก
  • ระดับกระทรวง

 

  1. หนังสือสั่งการมีกี่ชนิด
  • 2 ชนิด
  • 3 ชนิด
  • 4 ชนิด
  • 5 ชนิด

 

  1. ข้อใดเป็นหนังสือสั่งการ
  • คำสั่ง ข้อบังคับ ระเบียบ
  • ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว
  • คำสั่ง ระเบียบ ข้อบัญญัติ
  • ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ

 

  1. ข้อใดเป็น “คำสั่ง” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
  • บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ

 

  1. “ระเบียบ” คือข้อใดต่อไปนี้
  • บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้

 

  1. ข้อใดคือ “ข้อบังคับ” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้
  • บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมายหรือไม่ก็ได้
  • บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ

 

  1. ข้อความที่จะใช้ในระเบียบ และข้อบังคับ ให้เรียงเป็นแบบใด
  • มาตรา
  • ข้อ
  • อนุมาตรา
  • ผิดทุกข้อ

 

  1. หนังสือประชาสัมพันธ์มีกี่ชนิด
  • 2 ชนิด
  • 3 ชนิด
  • 4 ชนิด
  • 5 ชนิด

 

  1. ข้อใดต่อไปนี้เป็นหนังสือประชาสัมพันธ์
  • คำสั่ง ระเบียบ ข้อบังคับ
  • ประกาศ ข่าว คำสั่ง
  • ข่าว ประกาศ แถลงการณ์
  • แถลงการณ์ ข่าว ระเบียบ

 

  1. ข้อใดเป็น “ประกาศ”
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

  1. “แถลงการณ์” ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณคือข้อใด
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย