ระเบียบเกี่ยวกับงานสารบรรณ ข้อ 31-60

  1. หนังสือประชาสัมพันธ์ประเภท “ข่าว” คือข้อใด
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ
  • บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ

 

  1. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มีกี่ชนิด
  • 2 ชนิด
  • 3 ชนิด
  • 4 ชนิด
  • 5 ชนิด

 

  1. ข้อใดไม่ใช่หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ
  • หนังสือรับรอง
  • บันทึก
  • หนังสือลับ
  • รายงานการประชุม

 

  1. หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงานเพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่ง อย่างใดให้ปรากฏแก่บุคคลโดยทั่วไปไม่จำเพาะเจาะจง คือหนังสือตามข้อใด
  • หนังสือรับรอง
  • บันทึก
  • รายงานการประชุม
  • หนังสืออื่น

 

  1. หนังสือรับรองที่เป็นเรื่องสำคัญที่ออกให้แก่บุคคล ให้ติดรูปถ่ายขนาดเท่าใด
  • ขนาด 2 x 3 เซนติเมตร
  • ขนาด 4 x 6 เซนติเมตร
  • ขนาด 2 x 3 นิ้ว
  • ขนาด 4 x 6 นิ้ว

 

  1. ข้อใดไม่ใช่สิ่งที่ต้องบันทึกไว้ในรายงานการประชุม
  • ความคิดเห็นของผู้มาประชุม
  • มติของที่ประชุม
  • ข้อเท็จจริงของการประชุม
  • ความคิดเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม

 

  1. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติมีกี่ประเภท
  • 2 ประเภท
  • 3 ประเภท
  • 4 ประเภท
  • 5 ประเภท

 

  1. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น เป็นหนังสือประเภทใด
  • ด่วนที่สุด
  • ด่วนภายใน
  • ด่วนมาก
  • ด่วน

 

  1. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว เป็นหนังสือประเภทใด
  • ด่วนที่สุด
  • ด่วนภายใน
  • ด่วนมาก
  • ด่วน

 

  1. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติ เป็นหนังสือประเภทใด
  • ด่วนที่สุด
  • ด่วนภายใน
  • ด่วนมาก
  • ด่วน

 

  1. ในกรณีที่ต้องการให้หนังสือส่งถึงผู้รับภายในเวลาที่กำหนด ให้ระบุคำว่า
  • ด่วนที่สุด
  • ด่วนภายใน
  • ด่วนมาก
  • ด่วน

 

  1. หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติให้ระบุชั้นความเร็วด้วยตัวอักษรสีใด
  • สีแดง
  • สีน้ำเงิน
  • สีเหลือง
  • สีดำ

 

  1. การส่งข้อความด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ทางใดที่ผู้ส่งและผู้รับต้องบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐาน
  • ทางโทรศัพท์
  • วิทยุสื่อสาร
  • วิทยุกระจายเสียง
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. โดยปกติให้มีสำเนาคู่ฉบับเก็บไว้ที่ต้นเรื่อง และสารบรรณกลาง ฝ่ายละกี่ฉบับ
  • 1 ฉบับ
  • 2 ฉบับ
  • 3 ฉบับ
  • 4 ฉบับ

 

  1. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง เกี่ยวกับผู้ที่ต้องลงลายมือชื่อข้างท้ายขอบล่างขวาของสำเนาคู่ฉบับ
  • ผู้พิมพ์ ผู้ตรวจ ผู้ทาน
  • ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ ผู้ตรวจ
  • ผู้สร้าง ผู้พิมพ์ ผู้ตรวจ
  • ผู้ร่าง ผู้พิมพ์ ผู้ทาน

 

  1. หนังสือที่เจ้าของหนังสือเห็นว่ามีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องควรได้รับทราบด้วย ให้ทำเป็นหนังสือชนิดใด
  • หนังสือประทับตรา
  • หนังสือเวียน
  • หนังสือประชาสัมพันธ์
  • หนังสือภายใน

 

  1. สำเนาหนังสือที่มีคำรับรองว่า สำเนาถูกต้อง เจ้าหน้าที่ระดับใดมีอำนาจลงชื่อรับรอง
  • ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป
  • ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป
  • ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไปซึ่ง
  • ถูกทั้ง และ 2

 

  1. หนังสือที่มีถึงผู้รับเป็นจำนวนมาก มีใจความอย่างเดียวกัน ให้เพิ่มรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง เป็นหนังสือชนิดใด
  • หนังสือภายนอก
  • หนังสือเวียน
  • หนังสือสั่งการ
  • หนังสือภายใน

 

  1. หนังสือภาษาต่างประเทศใช้กระดาษแบบใด
  • กระดาษตราครุฑ
  • กระดาษบันทึกข้อความ
  • กระดาษตามประเพณีนิยม
  • ผิดทุกข้อ

 

  1. สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกในการรับหนังสือเข้ามาจากภายนอกคือข้อใด
  • ประทับตรารับที่มุมบนด้านขวาของหนังสือ
  • จัดลำดับความสำคัญและความเร่งด่วนของหนังสือ
  • ลงทะเบียนรับหนังสือในทะเบียนหนังสือรับ
  • จัดแยกหนังสือที่ลงทะเบียนรับแล้วส่งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

 

  1. สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกในการส่งหนังสือออกไปภายนอกคือข้อใด
  • ลงทะเบียนส่งหนังสือในทะเบียนหนังสือส่ง
  • ตรวจความเรียบร้อยของหนังสือ
  • บรรจุซอง
  • ส่งหนังสือโดยทางไปรษณีย์

 

  1. การเก็บหนังสือแบ่งได้กี่ประเภท
  • 2 ประเภท
  • 3 ประเภท
  • 4 ประเภท
  • 5 ประเภท

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของการเก็บหนังสือ
  • การเก็บเพื่อรอการทำลาย
  • การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ
  • การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
  • การเก็บระหว่างปฏิบัติ

 

  1. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้วและไม่มีอะไรที่จะต้องปฏิบัติต่อไปอีก เรียกว่า
  • การเก็บระหว่างปฏิบัติ
  • การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
  • การเก็บเพื่อรอการทำลาย
  • การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

 

  1. ข้อใดคือ การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติยังไม่เสร็จให้อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าของเรื่อง โดยให้กำหนดวิธีการเก็บให้เหมาะสมตามขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
  • การเก็บระหว่างปฏิบัติ
  • การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
  • การเก็บเพื่อรอการทำลาย
  • การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

 

  1. การเก็บหนังสือที่ปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่จำเป็นจะต้องใช้ในการตรวจสอบเป็นประจำไม่สะดวกในการส่งไปเก็บยังหน่วยเก็บของส่วนราชการ คือการเก็บหนังสือแบบใด
  • การเก็บระหว่างปฏิบัติ
  • การเก็บเมื่อปฏิบัติเสร็จแล้ว
  • การเก็บเพื่อรอการทำลาย
  • การเก็บไว้เพื่อใช้ในการตรวจสอบ

 

  1. หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไปให้ประทับตราคำว่า
  • เก็บตลอดไป
  • ห้ามทำลาย
  • เก็บไว้ห้ามทำลาย
  • ห้ามเปิดผนึก

 

  1. หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลา ให้ประทับตราคำว่า เก็บถึง พ.ศ. … ด้วยหมึกสีใด
  • สีน้ำเงิน
  • สีแดง
  • สีเหลือง
  • สีดำ

 

  1. หนังสือที่ต้องเก็บไว้ตลอดไป ให้ประทับตราคำว่า ห้ามทำลาย ด้วยหมึกสีใด
  • สีน้ำเงิน
  • สีแดง
  • สีเหลือง
  • สีดำ

 

  1. อายุการเก็บหนังสือโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่ากี่ปี
  • 1 ปี
  • 5 ปี
  • 10 ปี
  • เก็บไว้ตลอดไป