กฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ข้อ 1-25

  1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 มีผลใช้บังคับในวันที่
  • 23 สิงหาคม 2560
  • 23 กันยายน 2560
  • 24 สิงหาคม 2560
  • 24 กันยายน 2560

 

  1. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

  1. พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 บังคับใช้กับ
  • กรมการปกครอง
  • กระทรวงมหาดไทย
  • ที่ทำการปกครองอำเภอ
  • ทุกหน่วยงานตามที่กล่าวมา

 

  1. การจัดซื้อจัดจ้างที่ห้ามนำพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 ไปใช้บังคับคือข้อใด
  • การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง
  • การบริการที่เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล
  • การจัดซื้อจัดจ้างยุทโธปกรณ์
  • ทุกข้อที่กล่าวมา

 

  1. การที่จะยกเว้นไม่ให้นำกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การจัดซื้อจัดจ้างใดทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามข้อเสนอของ
  • คณะกรรมการราคากลาง
  • คณะกรรมการวินิจฉัย
  • คณะกรรมการนโยบาย
  • คณะกรรมการ ค.ป.ท.

 

  1. วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นใด รวมทั้งงานบริการที่รวมอยู่ในสินค้านั้นด้วย แต่มูลค่าของงานบริการต้องไม่สูงกว่ามูลค่าของสินค้านั้น คือ
  • สาธารณูปโภค
  • สินค้า
  • งานบริการ
  • พัสดุ

 

  1. สินค้า งานบริการ งานก่อสร้าง งานจ้างที่ปรึกษาและงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง รวมทั้งการดำเนินการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง คือ
  • สินค้า
  • พัสดุ
  • สาธารณูปโภค
  • งานบริการ

 

  1. งานจ้างบริการ งานจ้างเหมาบริการ งานจ้างทำของและการรับขนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล คือ
  • พัสดุ
  • สินค้า
  • สาธารณูปโภค
  • งานบริการ

 

  1. งานอันเกี่ยวกับการประปา การไฟฟ้า การสื่อสาร การโทรคมนาคมการระบายน้ำ การขนส่งทางท่อ ทางน้ำ คือ
  • สาธารณูปโภค
  • สินค้า
  • งานบริการ
  • พัสดุ

 

  1. การเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบการบำรุงรักษา และการจำหน่ายพัสดุ คือข้อใด
  • การบริหารพัสดุ
  • พัสดุ
  • กระบวนการบริหารพัสดุ
  • การจัดซื้อจัดจ้าง

 

  1. ถ้าความเป็นจริงราคากลาง มี 4 ตัวเลือกนี้ จะใช้ราคากลางในลำดับใดก่อน
  • ราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ
  • ราคาที่ได้มาจากการสืบราคาจากท้องตลาด
  • ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
  • ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ

 

  1. ถ้าความเป็นจริงราคากลาง มี 4 ตัวเลือกนี้ จะใช้ราคากลางในลำดับใดก่อน
  • ราคามาตรฐานที่สำนักงบประมาณหรือหน่วยงานกลางอื่นกำหนด
  • ราคาที่ได้มาจากฐานข้อมูลราคาอ้างอิงของพัสดุที่กรมบัญชีกลางจัดทำ
  • ราคาที่ได้มาจากการคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการราคากลางกำหนด
  • ราคาอื่นใดตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐนั้น ๆ

 

  1. คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต คือ
  • คณะกรรมการ ค.ป.ก.
  • คณะกรรมการ ค.ป.ท.
  • คณะกรรมการ ค.ร.ท.
  • คณะกรรมการ ค.ร.ป.

 

  1. หลักการการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ 2560 มีกี่ข้อ
  • 3 ข้อ
  • 4 ข้อ
  • 5 ข้อ
  • 6 ข้อ

 

  1. การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุที่บอกว่ามีการเก็บข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุอย่างเป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ คือหลักการใด
  • มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • โปร่งใส
  • คุ้มค่า
  • ตรวจสอบได้

 

  1. ร่างขอบเขตของงาน เรียกโดยย่อว่า
  • TOR
  • ROT
  • TOT
  • TCR

 

  1. ใครเป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • ปลัดกระทรวงการคลัง

 

  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มีจำนวนตามข้อใด
  • ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 7 คน
  • ไม่น้อยกว่า 5 คนแต่ไม่เกิน 9 คน
  • ไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 10 คน
  • ไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 11 คน

 

  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ใครเป็นผู้แต่งตั้ง
  • คณะรัฐมนตรี
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • ปลัดกระทรวงการคลัง

 

  1. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ บังคับว่าต้องมาจากแห่งไหน
  • สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
  • สภาสถาปนิก
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ วาระในการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
  • 3 ปี
  • 3 ปีไม่เกิน 2 วาระ
  • 4 ปี
  • 4 ปีไม่เกิน 2 วาระ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่
  • กำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามแนวทางของพระราชบัญญัตินี้
  • เสนอแนะนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐต่อนายกรัฐมนตรี
  • เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างและการ

 

  1. ใครเป็นประธานคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • นายกรัฐมนตรี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง
  • ปลัดกระทรวงการคลัง

 

  1. ใครไม่ได้เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ในคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
  • ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  • อธิบดีกรมบัญชีกลาง
  • ผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

 

  1. ข้อใดผิดเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
  • ไม่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งโดยตรงกับการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งกรรมการ
  • ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ