วินัยกองอาสารักษาดินแดน

พระราชบัญญัติวินัยกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ.2509

          วินัย คือการที่ต้องประพฤติหรือปฏิบัติตามข้อบังคับ ระเบียบและแบบธรรมเนียมของกองอาสารักษาดินแดน ผู้บังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน เฉพาะในขณะที่รวมกันอยู่เป็นหมู่ หมวด กองร้อย หรือในเวลาปฏิบัติงานตามหน้าที่ ต้องรักษาวินัยโดยเคร่งครัด

การกระทำผิดวินัยให้รวมถึงการกระทำต่อไปนี้ด้วย

          1. ดื้อดึง ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่

          2. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย

          3. ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของกองอาสารักษาดินแดน

          4. ก่อให้เกิดการแตกแยกความสามัคคีในกองอาสารักษาดินแดน

          5. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่

          6. กล่าวเท็จต่อผู้บังคับบัญชา

          7. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควรหรือประพฤติไม่สมควร

          8. ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือไม่ลงทัณฑ์ผู้อยู่ในบังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ

          9. เสพสุรายาเมาจนเสียกิริยา หรือเสพยาเสพติดให้โทษ

          10. กระทำด้วยประการใด ๆ เป็นเชิงบังคับผู้บังคับบัญชาเป็นทางทำให้เสียวินัยกองอาสารักษาดินแดน

การลงทัณฑ์

          การลงทัณฑ์ให้ลงได้เพียงสถานเดียว โดยก่อนที่จะลงทัณฑ์ผู้ใดให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นอย่างน้อย 3 คนเพื่อทำการสอบสวน และการสั่งลงทัณฑ์ผู้มียศตั้งแต่ชั้นนายหมวดขึ้นไป ให้ผู้สั่งลงทัณฑ์รายงานถึงผู้บังคับบัญชา ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย มี 3 สถาน ได้แก่

          1. ภาคทัณฑ์ ใช้สำหรับลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย แต่มีเหตุอันควรปรานี

          2. ทัณฑกรรม ใช้สำหรับลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย โดยให้ทำงานสุขาภิบาล งานโยธา หรืองานอื่น

          3. กักบริเวณ ใช้สำหรับลงแก่ผู้กระทำผิดวินัย โดยกักตัวไว้ในบริเวณหนึ่งบริเวณใด

การร้องทุกข์

          การร้องทุกข์จะกระทำได้แต่สำหรับตนเองเท่านั้น ห้ามร้องทุกข์แทนผู้อื่น และห้าม
ร้องทุกข์ในเวลาที่ตนกำลังเข้าแถว และห้ามร้องทุกข์ก่อน 24 ชั่วโมงนับแต่ที่มีเหตุ การร้องทุกข์ต่อผู้บังคับบัญชา ถ้าเวลาล่วงพ้นไป 7 วัน ยังมิได้รับคำชี้แจง ให้ร้องทุกข์ใหม่ต่อผู้บังคับบัญชาชั้นสูง
ถัดขึ้นไปอีก