พระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540
มัสยิด หมายถึง สถานที่ซึ่งมุสลิมใช้ประกอบศาสนกิจ โดยจะต้องมีละหมาดวันศุกร์เป็นปกติ และเป็นที่สอนศาสนาอิสลาม แบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1. มัสยิดส่วนบุคคล 2. มัสยิดที่จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีสภาพเป็นนิติบุคคล และมัสยิดที่ได้จดทะเบียนจัดตั้งแล้วให้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดภายใน 90 วัน
นิยาม
สัปปุรุษประจำมัสยิด หมายถึง มุสลิมที่คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด มีมติรับเข้าเป็นสัปปุรุษประจำมัสยิด
อิหม่าน หมายถึง ผู้นำศาสนาอิสลาม
คอเต็บ หมายถึง ผู้แสดงธรรมประจำมัสยิด
บิหลั่น หมายถึง ผู้ประกาศเชิญชวนให้มุสลิมปฏิบัติศาสนากิจ
จุฬาราชมนตรี
พระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรี 1 คน เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย โดยนายกรัฐมนตรี เป็นผู้นำชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรี ให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา
คุณสมบัติของจุฬาราชมนตรี
1. เป็นมุสลิมผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
2. อายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี
อำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรี
1. ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อราชการ
2. แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษา
3. ออกประกาศผลการดูดวงจันทร์
4. ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบทบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
อิสลามวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการอาจก่อตั้ง “อิสลามวิทยาลัย” ได้ เพื่อการศึกษาทางวิชาการ วิชาทั่วไป และวิชาชีพ
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย
ให้มีสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย
1. จุฬาราชมนตรี เป็นประธาน
2. กรรมการจากผู้แทนกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จังหวัดละ 1 คน
3. กรรมการอื่นที่จุฬาราชมนตรีเลือกจำนวน 1 ใน 3
คุณสมบัติและอำนาจหน้าที่
1. อายุไม่ต่ำกว่า 30 ปี
2. มีอำนาจให้คำปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
3. คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ถ้าว่างลงให้เลือกแทนที่ว่างภายใน 90 วัน
คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด
จังหวัดใดมีมัสยิดไม่น้อยกว่า 3 มัสยิด ให้จังหวัดนั้นมีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ประกอบด้วยกรรมการ ไม่น้อยกว่า 9 คน แต่ไม่เกิน 30 คน
ให้มีสำนักงานคณะกรรมอิสลามประจำจังหวัด มีฐานะเป็นนิติบุคคล คณะกรรมอิสลามประจำจังหวัด มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. เป็นสัปปุรุษประจำมัสยิดไม่น้อยกว่า 1 ปี
2. มีภูมิลำเนาในจังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ปี
คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด
คณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด ประกอบไปด้วย
1. อิหม่าน เป็นประธาน
2. คอเต็บ เป็นรองประธาน
3. บิหลั่น เป็นรองประธาน
4. กรรมการอื่น ไม่น้อยกว่า 6 คน แต่ไม่เกิน 12 คน และให้มีวาระในการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี