แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แนวข้อสอบความรู้เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แบบทดสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐
๑. พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ บังคับใช้วันที่
ก. ๓๑ ธันวาคม ๒๕๔๐ ข. ๑ กันยายน ๒๕๔๐
ค. ๓๑ ตุลาคม ๒๕๔๐ ง. ๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๐
๒. ข้อใดเป็นราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐
ก. องค์การบริหารส่วนตำบล ข. กรุงเทพมหานคร
ค. เทศบาล ง. ถูกทุกข้อ
๓. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดคือข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ง. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
๔. องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๕. ฐานะองค์การบริหารส่วนจังหวัดข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. เป็นนิติบุคคล ข. เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
ค. เป็นนิติบุคคล และราชการส่วนท้องถิ่น ง. ไม่เป็นนิติบุคคล แต่เป็นราชการส่วนท้องถิ่น
๖. ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรไม่เกินห้าแสนคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. ๒๔ คน ข. ๓๐ วัน
ค. ๓๖ คน ง. ๔๒ คน
๗. ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านห้าแสนคน แต่ไม่เกินสองล้านคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. ๒๔ คน ข. ๓๐ วัน
ค. ๓๖ คน ง. ๔๒ คน
๘. ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินห้าแสนคน แต่ไม่เกินหนึ่งล้านคนให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. ๒๔ คน ข. ๓๐ วัน
ค. ๓๖ คน ง. ๔๒ คน
๙. ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินหนึ่งล้านคน แต่ไม่เกินหนึ่งล้านห้าแสนคน ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. ๒๔ คน ข. ๓๐ วัน
ค. ๓๖ คน ง. ๔๒ คน
๑๐. ถ้าจังหวัดใดมีราษฎรเกินสองล้านคนขึ้นไป ให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กี่คน
ก. ๒๔ คน ข. ๓๐ วัน
ค. ๓๖ คน ง. ๔๘ คน
๑๑. อายุของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีกำหนดคราวละกี่ปี
ก. ๔ ปี ข. ๔ ปี ไม่เกิน ๒ วาระ
ค. ๔ ปีวาระเดียว ง. ๘ ปี
๑๒. สมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มตั้งแต่เมื่อใด
ก. วันสมัครรับเลือกตั้ง ข. วันเลือกตั้ง
ค. วันประกาศผลการเลือกตั้ง ง. วันที่ กกต. ประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
๑๓. ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลงเพราะครบวาระให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ๓๐ วัน ข. ๔๕ วัน
ค. ๖๐ วัน ง. ๙๐ วัน
๑๔. ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากครบวาระให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ๓๐ วัน ข. ๔๕ วัน
ค. ๖๐ วัน ง. ๙๐ วัน
๑๕. การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. การยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ตาย ง. ขาดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ๒ ครั้งติดต่อกัน
๑๖. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดกี่คน
ก. ๑ คน ข. ๒ คน
ค. ๓ คน ง. ๔ คน
๑๗. ถ้าประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะลาออกให้ยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ดำรงตำแหน่งใด
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
๑๘. ถ้าประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดว่างลงจากตำแหน่งเพราะเหตุอื่นนอกจากออกตามอายุ ให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๑๙. ในปีหนึ่งให้สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีสมัยประชุมสามัญกี่สมัย
ก. ๒ สมัย ข. ๒ สมัยแต่ไม่เกิน ๔ สมัย
ค. ๔ สมัย ง. ๒ สมัยแต่ไม่เกิน ๕ สมัย
๒๐. การปิดสมัยประชุมสามัญก่อนครบกำหนดเวลาตามข้อใดจะกระทำมิได้
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๑. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้มาประชุมเป็นการประชุมครั้งแรกนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒๒. ถ้าจะขยายเวลาสมัยประชุมวิสามัญออกไปอีกต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใด
ก. กึ่งหนึ่ง ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๒๓. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจร้องขอให้ประชุมลับได้
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และ รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒๔. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามกฎหมาย และเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. หัวหน้าส่วนราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒๕. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระในการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ๔ ปี ข. ๘ ปี
ค. ๔ ปี แต่ไม่เกิน ๒ วาระ ง. ๘ ปี แต่ไม่เกิน ๒ วาระ
๒๖. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ข. มีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปีบริบูรณ์ในวันประกาศรับสมัครเลือกตั้ง
ค. เคยเป็นผู้บริหารท้องถิ่น ง. เคยเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๒๗. ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเข้ารับหน้าที่ต้องแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยไม่มีการลงมติภายในกี่วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๘. ถ้านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ให้แจ้งเป็นหนังสือส่งให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทุกคนทราบภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน
๒๙. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. แต่งตั้งและถอดถอนรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. แต่งตั้งและถอดถอนเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. แต่งตั้งและถอดถอนปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. แต่งตั้งและถอดถอนปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๓๐. การพ้นจากตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อใดถูกต้อง
ก. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ข. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐมนตรี
ง. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งเข้าชื่อถอดถอนจำนวนไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓
๓๑. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. กึ่งหนึ่ง ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๓๒. ถ้ามีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนสี่สิบแปดคน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ค. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๓. ถ้ามีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวน ๒๔ หรือ ๓๐ คน นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกินกี่คน
ก. สองคน ค. สามคน
ค. สี่คน ง. ห้าคน
๓๔. ถ้านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ไม่เกิน ๓ คน จะต้องมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจำนวนตามข้อใด
ก. จำนวน ๓๖ หรือ ๔๒ คน ข. จำนวน ๒๔ หรือ ๓๐ คน
ค. จำนวน ๓๐ คน ง. จำนวน ๔๘ คน
๓๕. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง
ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ยื่นหนังสือลาออกต่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. ถูกทุกข้อ
๓๖. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจแต่งตั้งเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดรวมกันไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ค. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๗. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและที่ปรึกษานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง ข้อใดผิด
ก. รัฐมนตรีสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ข. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ค. ตาย ง. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่ง
๓๘. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๓๙. ถ้านายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามลำดับที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดไว้เป็นผู้ทำงานแทน เรียกว่า
ก. ปฏิบัติราชการแทน ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. รักษาการในตำแหน่ง
๔๐. อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ทำงานแทน เรียกว่า
ก. ปฏิบัติราชการแทน ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. รักษาการในตำแหน่ง
๔๑. ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดห้ามมิให้กำหนดโทษเกินกว่าที่กำหนดไว้ตามข้อใด
ก. ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท ข. จำคุกเกิน ๖ เดือน และหรือปรับเกิน ๑,๐๐๐ บาท
ค. ปรับไม่เกิน ๓,๐๐๐ บาท ง. จำคุกเกิน ๖ เดือน และหรือปรับเกิน ๑๐,๐๐๐ บาท
๔๒. ผู้ดำรงตำแหน่งใดไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๔๓. ผู้ใดมีอำนาจในการพิจารณาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดยืมตัวข้าราชการ พนักงานหรือลูกจ้างของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นมาช่วยปฏิบัติราชการชั่วคราว
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๔๔. ข้อใดเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการปฏิบัติงานในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
ก. การมีส่วนร่วมของประชาชน ข. การจัดทำงบประมาณ และการตรวจสอบ
ค. การจัดซื้อจัดจ้าง ง. ถูกทุกข้อ
๔๕. ถ้าองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการพาณิชย์อาจทำได้โดยการตราเป็น
ก. เทศพาณิชย์ ข. ข้อบัญญัติ
ค. เทศบัญญัติ ง. ประกาศจังหวัด
๔๖. องค์การบริหารส่วนจังหวัดอาจมอบให้เอกชนกระทำกิจการซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก
ก. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด
ข. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๔๗. ถ้ากิจการใดเป็นกิจการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่จัดทำ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลตามข้อใดมีอำนาจให้ราชการส่วนกลางหรือราชการส่วนภูมิภาคจัดทำกิจการนั้นก็ได้
ก. นายกรัฐมนตรี ข. คณะรัฐมนตรี
ค. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๔๘. ผู้ใดมีอำนาจเสนอร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้
ก. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ถูกทุกข้อ
๔๙. เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติแล้วให้ส่งร่างไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน
๕๐. ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติเห็นชอบร่างข้อบัญญัติแล้วส่งร่างไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน
๕๑. ถ้าผู้ว่าราชการไม่เห็นชอบกับร่างข้อบัญญัติให้ส่งคืนแก่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีมติยืนไม่น้อยกว่าคะแนะเสียงเท่าใด ให้ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดส่งร่างไปยังนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพื่อลงนามประกาศใช้ต่อไป
ก. กึ่งหนึ่ง ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๕๒. ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่รับหลักแห่งร่างข้อบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัดตั้งคณะกรรมการจำนวนกี่คนเพื่อมาพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้ง
ก. ๗ คน ข. ๑๔ คน
ค. ๑๕ คน ง. ๓๐ คน
๕๓. คณะกรรมการพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้งร่างข้อบัญญัติมาจากผู้ที่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเสนอชื่อจำนวนกี่คน
ก. ๗ คน ข. ๑๔ คน
ค. ๑๕ คน ง. ๓๐ คน
๕๔. เมื่อได้คณะกรรมการพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้งร่างข้อบัญญัติครบตามจำนวนแล้วให้พิจารณาร่างข้อบัญญัติให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน
๕๕. งบประมาณรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้ทำเป็น
ก. เทศพาณิชย์ ข. ข้อบัญญัติ
ค. เทศบัญญัติ ง. ประกาศจังหวัด
๕๖. ภาษีตามข้อใดที่อยู่นอกเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดจัดเก็บเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งนั้นเลย
ก. ภาษีบำรุงท้องที่ ข. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ค. ภาษีป้าย ง. ถูกทุกข้อ
๕๗. ภาษีตามข้อใดที่รัฐต้องจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ก. ค่าภาคหลวงแร่ ข. ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
ค. ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ง. ถูกทุกข้อ
๕๘. ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บตามประมวลรัษฎากรในจังหวัดใด ให้ส่งมอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่จัดเก็บได้จำนวนร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๕ ข. ร้อยละ ๑๐
ค. ร้อยละ ๑๕ ง. ร้อยละ ๒๐
๕๙. ภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้าน้ำมันเบนซินหรือน้ำมันดีเซลให้เก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินลิตรละเท่าใด
ก. ๕ สตางค์ ข. ๑๐ สตางค์
ค. ๑๕ สตางค์ ง. ๒๐ สตางค์
๖๐. ภาษีบำรุงองค์การบริหารส่วนจังหวัดจากการค้ายาสูบให้เก็บเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินมวนละเท่าใด
ก. ๕ สตางค์ ข. ๑๐ สตางค์
ค. ๑๕ สตางค์ ง. ๒๐ สตางค์
๖๑. องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจออกข้อบัญญัติเพื่อเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละเท่าใดของภาษีค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุราตามกฎหมายว่าด้วยสุรา
ก. ๕ สตางค์ ข. ๑๐ สตางค์
ค. ๑๕ สตางค์ ง. ๒๐ สตางค์
๖๒. ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละศูนย์ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเก็บในอัตราร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๐ ข. ร้อยละ ๕
ค. ร้อยละ ๑ ใน ๕ ง. ร้อยละ ๑ ใน ๙
๖๓. ในกรณีที่ประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเก็บในอัตราร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๐ ข. ร้อยละ ๕
ค. ร้อยละ ๑ ใน ๕ ง. ร้อยละ ๑ ใน ๙
๖๔. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดได้โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือมีคำสั่งเมื่อได้รับความเห็นชอบจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
ก. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ข. หัวหน้าส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ หัวหน้าส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ง. รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๖๕. ทุกปีงบประมาณให้รัฐบาลจัดสรรเงินให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นเงินประเภทใด
ก. เงินภาษีอากร ข. เงินอุดหนุน
ค. เงินค่าธรรมเนียม ง. เงินค่าใบอนุญาต
๖๖. ข้อใดเป็นรายจ่ายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่อาจมีได้
ก. เงินเดือน ข. ค่าจ้าง
ค. ค่าใช้สอย ง. ถูกทุกข้อ
๖๗. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้เป็นไปตามกฎหมาย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๖๘. ผู้ใดมีอำนาจสั่งเพิกถอนมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ไม่ใช่ข้อบัญญัติได้ถ้าเห็นว่ามตินั้นฝ่าฝืนกฎหมาย
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
๖๙. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพ้นจากตำแหน่งถ้าเห็นว่าละเลยไม่ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่หรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ หรือประพฤติตนฝ่าฝืนความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
๗๐. ผู้ใดมีอำนาจยุบสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดถ้าเห็นว่าเพื่อเป็นการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ง. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
เฉลยแบบทดสอบพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐
ข้อ.๑ | ง | ข้อ.๒ | ง | ข้อ.๓ | ค | ข้อ.๔ | ก | ข้อ.๕ | ค |
ข้อ.๖ | ก | ข้อ.๗ | ง | ข้อ.๘ | ข | ข้อ.๙ | ค | ข้อ.๑๐ | ง |
ข้อ.๑๑ | ก | ข้อ.๑๒ | ข | ข้อ.๑๓ | ข | ข้อ.๑๔ | ค | ข้อ.๑๕ | ง |
ข้อ.๑๖ | ข | ข้อ.๑๗ | ค | ข้อ.๑๘ | ก | ข้อ.๑๙ | ก | ข้อ.๒๐ | ค |
ข้อ.๒๑ | ค | ข้อ.๒๒ | ข | ข้อ.๒๓ | ค | ข้อ.๒๔ | ข | ข้อ.๒๕ | ก |
ข้อ.๒๖ | ข | ข้อ.๒๗ | ข | ข้อ.๒๘ | ก | ข้อ.๒๙ | ง | ข้อ.๓๐ | ก |
ข้อ.๓๑ | ข | ข้อ.๓๒ | ค | ข้อ.๓๓ | ก | ข้อ.๓๔ | ก | ข้อ.๓๕ | ง |
ข้อ.๓๖ | ง | ข้อ.๓๗ | ก | ข้อ.๓๘ | ข | ข้อ.๓๙ | ข | ข้อ.๔๐ | ก |
ข้อ.๔๑ | ง | ข้อ.๔๒ | ก | ข้อ.๔๓ | ก | ข้อ.๔๔ | ง | ข้อ.๔๕ | ข |
ข้อ.๔๖ | ก | ข้อ.๔๗ | ข | ข้อ.๔๘ | ง | ข้อ.๔๙ | ก | ข้อ.๕๐ | ข |
ข้อ.๕๑ | ค | ข้อ.๕๒ | ค | ข้อ.๕๓ | ก | ข้อ.๕๔ | ข | ข้อ.๕๕ | ข |
ข้อ.๕๖ | ง | ข้อ.๕๗ | ง | ข้อ.๕๘ | ก | ข้อ.๕๙ | ข | ข้อ.๖๐ | ข |
ข้อ.๖๑ | ข | ข้อ.๖๒ | ก | ข้อ.๖๓ | ง | ข้อ.๖๔ | ค | ข้อ.๖๕ | ข |
ข้อ.๖๖ | ง | ข้อ.๖๗ | ค | ข้อ.๖๘ | ก | ข้อ.๖๙ | ก | ข้อ.๗๐ | ข |
แบบทดสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
๑. พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ บังคับใช้วันที่
ก. ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖ ข. ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
ค. ๑๗ กันยายน ๒๔๙๖ ง. ๑๘ กันยายน ๒๔๙๖
๒. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ คือข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ง. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
๓. เมื่อมีการจัดตั้งเทศบาลให้มีการเลือกสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๔. ถ้าจะเปลี่ยนชื่อ หรือเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลให้ทำตามข้อใด
ก. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข. กฎกระทรวง
ค. พระราชกฤษฎีกา ง. พระราชบัญญัติ
๕. เทศบาลแบ่งได้เป็นกี่ประเภท
ก. ๑ ประเภทคือ เทศบาลตำบล ข. ๓ ประเภทคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร
ค. ๑ ประเภทคือ เทศบาลเมือง ง. ๒ ประเภทคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง
๖. ถ้าจะยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลให้ทำตามข้อใด
ก. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ข. กฎกระทรวง
ค. พระราชกฤษฎีกา ง. พระราชบัญญัติ
๗. เทศบาลอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ ๑๐,๐๐๐ คนขึ้นไป เรียกว่า
ก. เทศบาลตำบล ข. เทศบาลเมือง
ค. เทศบาลนคร ง. ถูกทุกข้อ
๘. เทศบาลอันเป็นที่ตั้งของชุมนุมชนที่มีราษฎรตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ คนขึ้นไป เรียกว่า
ก. เทศบาลตำบล ข. เทศบาลเมือง
ค. เทศบาลนคร ง. ถูกทุกข้อ
๙. เทศบาลประเภทใดที่ห้ามมิให้มีการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล และสารวัตรกำนัน
ก. เทศบาลตำบล และเทศบาลเมือง ข. เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร
ค. เทศบาลนคร และเทศบาลตำบล ง. แต่งตั้งได้ทุกเทศบาล
๑๐. เมื่อพ้นกำหนดกี่ปีนับแต่วันที่ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลแล้ว ให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน
ก. ๑ ปี ข. ๒ ปี
ค. ๓ ปี ง. ๔ ปี
๑๑. องค์การเทศบาลประกอบด้วย
ก. สภาเทศบาล และนายกเทศมนตรี ข. สภาเทศบาล และสมาชิกสภาเทศบาล
ค. ประธานสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี ง. นายกเทศมนตรี และประธานสภาเทศบาล
๑๒. สมาชิกสภาเทศบาลมีวาระในการตำแหน่งได้คราวละกี่ปี
ก. ๒ ปี ข. ๔ ปี
ค. ๔ ปี ไม่เกิน ๒ วาระ ง. ๔ ปี วาระเดียว
๑๓. สภาเทศบาลตำบลประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ๑๒ คน ข. ๑๘ คน
ค. ๒๔ คน ง. ๓๐ คน
๑๔. สภาเทศบาลเมืองประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ๑๒ คน ข. ๑๘ คน
ค. ๒๔ คน ง. ๓๐ คน
๑๕. สภาเทศบาลนครประกอบด้วยสมาชิกจำนวนกี่คน
ก. ๑๒ คน ข. ๑๘ คน
ค. ๒๔ คน ง. ๓๐ คน
๑๖. ข้อใดไม่ใช่การสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
ก. ถึงคราวออกตามวาระ ข. มีการยุบสภาเทศบาล
ค. ตาย ง. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
๑๗. ประธานสภาเทศบาลและรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งข้อใดถูกต้อง
ก. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
ข. สิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาเทศบาล
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ง. สภาเทศบาลมีมติให้พ้นจากตำแหน่งด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า ๒ ใน ๓
๑๘. สภาเทศบาลปีหนึ่งให้มีสมัยประชุมสามัญกี่สมัย
ก. ๒ สมัยแต่ไม่เกิน ๔ สมัย ข. ไม่เกิน ๒ สมัย
ค. ๔ สมัย ง. ๒ สมัยแต่ไม่เกิน ๕ สมัย
๑๙. สมัยประชุมสามัญของสภาเทศบาลสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดเวลาไม่เกินกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๐. ถ้าจะขยายเวลาสมัยประชุมสามัญของสภาเทศบาลออกไปอีกต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. นายกเทศมนตรี
๒๑. ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องกำหนดให้สมาชิกสภาเทศบาลได้มาประชุมสภาเทศบาลครั้งแรกภายในกี่วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๒. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งยุบสภาเทศบาล ถ้าสภาเทศบาลไม่อาจจัดให้มีการประชุมครั้งแรกได้ หรือมีการประชุมสภาเทศบาลแต่ไม่อาจเลือกประธานสภาเทศบาลได้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. นายกเทศมนตรี
๒๓. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดอาจทำคำร้องยื่นต่อผู้ว่าราชการจังหวัดขอให้เปิดประชุมวิสามัญได้
ก. ประธานสภาเทศบาล ข. นายกเทศมนตรี
ค. สมาชิกสภาเทศบาล ง. ถูกทุกข้อ
๒๔. สมัยประชุมวิสามัญของสภาเทศบาล ให้มีกำหนดเวลาไม่เกินกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๕. ถ้าเทศบาลจะดำเนินกิจการใดให้แต่งตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมาเพื่อศึกษาเรื่องใดๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาลแล้วรายงานต่อสภาเทศบาลก่อนดำเนินการเรียกว่า
ก. คณะกรรมการสามัญ ข. คณะกรรมการวิสามัญ
ค. คณะกรรมการเทศบาล ง. คณะกรรมการสภาเทศบาล
๒๖. นายกเทศมนตรีมีวาระในการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ๔ ปี แต่ไม่เกิน ๒ วาระ ข. ๔ ปี
ค. ๔ ปี วาระเดียว ง. ๕ ปี
๒๗. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีหน้าที่และรับผิดชอบในการบริหารกิจการของเทศบาลและเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาล
ก. นายกเทศมนตรี ข. ปลัดเทศบาล
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. รองนายกเทศมนตรี
๒๘. นายกเทศมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาล โดยไม่มีการลงมติภายในกี่วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๒๙. ถ้าหากนายกเทศมนตรีไม่สามารถแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้นายกเทศมนตรีจัดทำนโยบายแจ้งเป็นหนังสือส่งให้แก่สมาชิกสภาเทศบาลทุกคนภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๕ วัน
ค. ๓๐ วัน ง. ๔๕ วัน
๓๐. ข้อใดไม่ใช่คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรี
ก. เคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ข. อายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ง. เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา
๓๑. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของนายกเทศมนตรี
ก. กำหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ข. สั่ง อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของสภาเทศบาล
ค. รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัติ ง. แต่งตั้งและถอดถอนปรึกษานายกเทศมนตรี
๓๒. เกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีข้อใดถูกต้อง
ก. ถึงคราวออกตามวาระ ข. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. ตาย ง. ถูกทุกข้อ
๓๓. สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าเท่าใดมีสิทธิเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้นายกเทศมนตรีแถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการเทศบาล
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๓๔. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีในเทศบาลตำบลได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๕. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีในเทศบาลเมืองได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๖. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งรองนายกเทศมนตรีในเทศบาลนครได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๗. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีในเทศบาลตำบลรวมกันได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๘. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีในเทศบาลเมืองรวมกันได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๓๙. นายกเทศมนตรีอาจแต่งตั้งที่ปรึกษานายกเทศมนตรีและเลขานุการนายกเทศมนตรีในเทศบาลนครรวมกันได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๕ คน
๔๐. ข้อใดเป็นการพ้นจากตำแหน่งของรองนายกเทศมนตรี
ก. นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ข. นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ตาย ง. ถูกทุกข้อ
๔๑. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของที่ปรึกษานายกเทศมนตรี
ก. นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง
ข. นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ตาย
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่ง
๔๒. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของเลขานุการนายกเทศมนตรี
ก. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
ข. นายกเทศมนตรีมีคำสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายกเทศมนตรี
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยพิจารณาสอบสวนและสั่งให้ออกจากตำแหน่ง
๔๓. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและลูกจ้างเทศบาลรองจากนายกเทศมนตรี และรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาล
ก. นายกเทศมนตรี ข. ปลัดเทศบาล
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. รองนายกเทศมนตรี
๔๔. ในกรณีที่ไม่มีนายกเทศมนตรี ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดปฏิบัติหน้าที่ของนายกเทศมนตรีเท่าที่จำเป็นได้เป็นการชั่วคราวจนถึงวันประกาศผลการเลือกตั้งนายกเทศมนตรี
ก. นายกเทศมนตรี ข. ปลัดเทศบาล
ค. ประธานสภาเทศบาล ง. รองนายกเทศมนตรี
๔๕. การแบ่งส่วนราชการในเทศบาล ข้อใดถูกต้อง
ก. สำนักปลัดเทศบาล
ข. สำนักปลัดเทศบาล ส่วนการคลัง และส่วนโยธา
ค. สำนักปลัดเทศบาล และส่วนราชการอื่นตามที่นายกเทศมนตรีประกาศกำหนด
ง. สำนักปลัดเทศบาล และส่วนราชการอื่นตามที่ประธานสภาเทศบาลประกาศกำหนด
๔๖. กรณีที่นายกเทศมนตรีไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกเทศมนตรี ตามลำดับที่นายกเทศมนตรีตั้งไว้เป็นผู้ทำงานแทนนายกเทศมนตรี เรียกว่า
ก. รักษาราชการแทน ข. ปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. รักษาการในตำแหน่ง ง. ปฏิบัติราชการแทน
๔๗. อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ หรือการปฏิบัติราชการ นายกเทศมนตรีอาจมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายกเทศมนตรีเป็นผู้ทำงานแทน เรียกว่า
ก. รักษาราชการแทน ข. ปฏิบัติหน้าที่แทน
ค. รักษาการในตำแหน่ง ง. ปฏิบัติราชการแทน
๔๘. เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขตได้ในกรณีใด
ก. การนั้นจำเป็นต้องทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน
ข. ได้รับความยินยอมจากสภาเทศบาล สภาจังหวัด หรือสภาตำบลแห่งท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
ค. ได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ง. ถูกทุกข้อ
๔๙. ถ้าเทศบาลจะร่วมกับบุคคลอื่นก่อตั้งบริษัทจำกัด ต้องถือหุ้นในบริษัทจำกัดนั้นเกินกว่าร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๕๐ ข. ร้อยละ ๕๑
ค. ร้อยละ ๗๐ ง. ร้อยละ ๗๑
๕๐. ถ้าเทศบาลตั้งแต่ ๒ แห่งขึ้นไปร่วมกันทำกิจการเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งในอำนาจหน้าที่ของเทศบาล เรียกว่าการจัดตั้งองค์การแบบใด
ก. สหกรณ์ ข. สหการ
ค. หน่วยบริการรูปแบบพิเศษ ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
๕๑. การจัดตั้ง หรือการยุบเลิกสหการให้ทำโดยตราเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ ข. พระราชกฤษฎีกา
ค. กฎกระทรวง ง. ประกาศกระทรวงมหาดไทย
๕๒. เทศพาณิชย์ต้องตราเป็นกฎตามข้อใด
ก. ข้อบัญญัติ ข. เทศบัญญัติ
ค. กฎกระทรวง ง. พระราชกฤษฎีกา
๕๓. เทศบัญญัตินั้นห้ามกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืนเกินเท่าใด
ก. ๔๐๐ บาท ข. ๑,๐๐๐ บาท
ค. ๑,๕๐๐ บาท ง. ถูกทุกข้อ
๕๔. การเสนอร่างเทศบัญญัติที่เกี่ยวกับการเงินจะต้องมีคำรับรองของผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. นายกเทศมนตรี ข. ปลัดเทศบาล
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
๕๕. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดสามารถเสนอร่างเทศบัญญัติได้
ก. นายกเทศมนตรี ข. สมาชิกสภาเทศบาล
ค. ราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเทศบาล ง. ถูกทุกข้อ
๕๖. ในเทศบาลตำบลผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจส่งร่างเทศบัญญัติไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา
ก. นายกเทศมนตรี ข. ประธานสภาเทศบาล
ค. นายอำเภอ ง. ปลัดเทศบาล
๕๗. ถ้าเป็นเทศบาลเมือง หรือเทศบาลนคร ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจส่งร่างเทศบัญญัติไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณา
ก. นายกเทศมนตรี ข. ประธานสภาเทศบาล
ค. นายอำเภอ ง. ปลัดเทศบาล
๕๘. ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบกับร่างเทศบัญญัติให้ส่งคืนไปยังสภาเทศบาล เพื่อให้สภาเทศบาลพิจารณาใหม่ภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๕๙. ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดไม่เห็นชอบกับร่างเทศบัญญัติ แล้วสภาเทศบาลมีมติยืนยันตามร่างเทศบัญญัติเดิมด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าเท่าใดให้ประธานสภาเทศบาลส่งร่างไปยังนายกเทศมนตรีเพื่อลงนามประกาศใช้ต่อไป
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๖๐. ถ้าสภาเทศบาลไม่รับหลักแห่งร่างเทศบัญญัติให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ตั้งคณะกรรมการจำนวนกี่คนเพื่อมาพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้งดังกล่าว
ก. ๗ คน ข. ๑๔ คน
ค. ๑๕ คน ง. ๓๐
๖๑. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งให้นายกเทศมนตรีพ้นจากตำแหน่ง ถ้านายกเทศมนตรีไม่เสนอร่างเทศบัญญัตินั้นต่อสภาเทศบาลภายใน ๗ วันนับแต่วันที่ได้ร่างเทศบัญญัตินั้นจากผู้ว่าราชการจังหวัด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๒. เทศบัญญัติจะบังคับใช้ได้เมื่อประกาศไว้ที่เปิดเผย ณ สำนักงานเทศบาลแล้วกี่วัน
ก. ๓ วัน ข. ๗ วัน
ค. ๑๐ วัน ง. ๑๕ วัน
๖๓. ถ้าคณะเทศมนตรีจะออกเทศบัญญัติชั่วคราวต้องได้รับอนุมัติจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. นายกเทศมนตรี ข. ประธานสภาเทศบาล
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
๖๔. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีหน้าที่จัดให้มีการตรวจสอบการคลัง การบัญชี หรือการเงิน ของเทศบาลปีละครั้ง
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๕. เทศบาลจะเงินกู้จากกระทรวงทบวงกรม องค์การ หรือนิติบุคคลต่างๆ ต้องได้รับอนุญาตจากสภาเทศบาล และได้รับอนุมัติจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๖. การจ่ายเงินอุดหนุน และการจ่ายเงินเพื่อการลงทุน เทศบาลจะกระทำได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากสภาเทศบาลและได้รับอนุมัติจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๗. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลเทศบาลในจังหวัด ให้ปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องตามกฎหมาย
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๘. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจหน้าที่ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมดูแลเทศบาลตำบลในอำเภอ และมีอำนาจชี้แจงแนะนำตักเตือน ตลอดจนเรียกสมาชิกสภาเทศบาลหรือพนักงานเทศบาลมาชี้แจงหรือสอบสวน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๖๙. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งให้นายกเทศมนตรี รองนายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่งได้ ถ้าเห็นว่าปฏิบัติฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๗๐. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจสั่งยุบสภาเทศบาล ถ้าเห็นว่าเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตเทศบาลหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๗๑. ผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล ข้อใดผิด
ก. อธิบดีกรมอนามัย ข. อธิบดีกรมการแพทย์
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. เลขาธิการ ก.พ.
๗๒. ใครเป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาการเทศบาล
ก. อธิบดีกรมอนามัย ข. อธิบดีกรมการแพทย์
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ง. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
๗๓. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลตำบล
ก. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง ข. ให้มีและบำรุงส้วมสาธารณะ
ค. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ ง. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้า หรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
๗๔. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลเมือง
ก. ให้มีน้ำสะอาดหรือการประปา ข. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์และรักษาคนเจ็บไข้
ค. ให้มีโรงฆ่าสัตว์ ง. ถูกทุกข้อ
๗๕. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ที่ต้องทำในเขตเทศบาลนคร
ก. การส่งเสริมกิจการการท่องเที่ยว ข. จัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
ค. การวางผังเมืองและการควบคุมการก่อสร้าง ง. ถูกทุกข้อ
๗๖. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบลที่อาจจัดทำได้ในเขตเทศบาลตำบล
ก. ให้มีและบำรุงโรงพยาบาล ข. ให้มีและบำรุงการสงเคราะห์มารดาและเด็ก
ค. ให้มีการสาธารณูปการ ง. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
๗๗. ถ้านายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งครบ ๒ วาระแล้ว สามารถที่จะดำรงตำแหน่งได้อีกหรือไม่ ข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. ไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งได้เพียง ๒ วาระ
ข. ไม่ได้ เพราะดำรงตำแหน่งครบ ๘ ปีแล้ว
ค. ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้นายกเทศมนตรีดำรงตำแหน่งคราวละ ๔ ปี แต่ไม่ได้กำหนดวาระเอาไว้
ง. ได้ เพราะดำรงตำแหน่งมาแล้ว ๒ วาระ และสามารถเป็นได้อีกเพียง ๒ วาระเท่านั้น
๗๘. ในกรณีที่เทศบาลตำบลใดมีทั้งนายกเทศมนตรี กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ให้นายกเทศมนตรี กำนัน และผู้ใหญ่บ้านนั้น มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายใดด้วย
ก. กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ ข. พระราชบัญญัติเทศบาล
ค. กฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการหมู่บ้าน ง. กฎหมายว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน
๗๙. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาเทศบาล และรองประธานสภาเทศบาล
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. นายอำเภอ ง. ประธานสภาเทศบาล
๘๐. พระราชบัญญัติเทศบาลที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมในฉบับที่ ๑๓ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นการแก้ไขในเรื่องใด
ก. วาระการดำรงตำแหน่งของนายกเทศมนตรี ข. วาระการดำรงตำแหน่งของสมาชิกสภาเทศบาล
ค. การยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ง. ถูกทุกข้อ
เฉลยแบบทดสอบพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖
ข้อ.๑ | ข | ข้อ.๒ | ข | ข้อ.๓ | ค | ข้อ.๔ | ก | ข้อ.๕ | ข |
ข้อ.๖ | ก | ข้อ.๗ | ข | ข้อ.๘ | ค | ข้อ.๙ | ข | ข้อ.๑๐ | ก |
ข้อ.๑๑ | ก | ข้อ.๑๒ | ข | ข้อ.๑๓ | ก | ข้อ.๑๔ | ข | ข้อ.๑๕ | ค |
ข้อ.๑๖ | ง | ข้อ.๑๗ | ข | ข้อ.๑๘ | ค | ข้อ.๑๙ | ข | ข้อ.๒๐ | ข |
ข้อ.๒๑ | ก | ข้อ.๒๒ | ก | ข้อ.๒๓ | ง | ข้อ.๒๔ | ก | ข้อ.๒๕ | ก |
ข้อ.๒๖ | ข | ข้อ.๒๗ | ก | ข้อ.๒๘ | ข | ข้อ.๒๙ | ก | ข้อ.๓๐ | ข |
ข้อ.๓๑ | ข | ข้อ.๓๒ | ง | ข้อ.๓๓ | ข | ข้อ.๓๔ | ก | ข้อ.๓๕ | ข |
ข้อ.๓๖ | ค | ข้อ.๓๗ | ก | ข้อ.๓๘ | ข | ข้อ.๓๙ | ง | ข้อ.๔๐ | ง |
ข้อ.๔๑ | ง | ข้อ.๔๒ | ง | ข้อ.๔๓ | ข | ข้อ.๔๔ | ข | ข้อ.๔๕ | ค |
ข้อ.๔๖ | ก | ข้อ.๔๗ | ง | ข้อ.๔๘ | ง | ข้อ.๔๙ | ก | ข้อ.๕๐ | ข |
ข้อ.๕๑ | ข | ข้อ.๕๒ | ข | ข้อ.๕๓ | ข | ข้อ.๕๔ | ก | ข้อ.๕๕ | ง |
ข้อ.๕๖ | ก | ข้อ.๕๗ | ข | ข้อ.๕๘ | ข | ข้อ.๕๙ | ค | ข้อ.๖๐ | ค |
ข้อ.๖๑ | ก | ข้อ.๖๒ | ข | ข้อ.๖๓ | ง | ข้อ.๖๔ | ก | ข้อ.๖๕ | ก |
ข้อ.๖๖ | ข | ข้อ.๖๗ | ข | ข้อ.๖๘ | ค | ข้อ.๖๙ | ก | ข้อ.๗๐ | ก |
ข้อ.๗๑ | ง | ข้อ.๗๒ | ค | ข้อ.๗๓ | ก | ข้อ.๗๔ | ง | ข้อ.๗๕ | ง |
ข้อ.๗๖ | ง | ข้อ.๗๗ | ค | ข้อ.๗๘ | ก | ข้อ.๗๙ | ข | ข้อ.๘๐ | ก |
แบบทดสอบพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
๑. พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ บังคับใช้วันที่
ก. ๑ มีนาคม ๒๕๓๗ ข. ๒ มีนาคม ๒๕๓๗
ค. ๑ มีนาคม ๒๕๓๘ ง. ๒ มีนาคม ๒๕๓๘
๒. ข้อใดไม่ใช่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
ก. องค์การบริหารส่วนตำบล ข. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
ค. เทศบาล ง. สุขาภิบาล
๓. ผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗ คือข้อใด
ก. นายกรัฐมนตรี ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
๔. ข้อใดไม่ใช่สมาชิกสภาตำบลโดยตำแหน่ง
ก. กำนัน ข. ผู้ใหญ่บ้านของทุกหมู่บ้านในตำบล
ค. สารวัตรกำนัน ง. แพทย์ประจำตำบล
๕. สมาชิกสภาตำบลที่มาจากการเลือกตั้งมาจากหมู่บ้านละกี่คน
ก. ๑ คน ข. ๒ คน
ค. ๓ คน ง. ๔ คน
๖. สมาชิกสภาตำบลที่มาจากการเลือกตั้งมีวาระในการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ๒ ปี ข. ๓ ปี
ค. ๔ ปี ง. ๔ ปี แต่ไม่เกิน ๒ วาระ
๗. การพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลข้อใดผิด
ก. ตาย ข. ลาออกโดยยื่นหนังสือลาออกต่อผู้ว่าราชการจังหวัด
ค. มีการยุบสภาตำบล ง. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสัญญากับสภาตำบล
๘. เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลที่ได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะครบวาระให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ๑๕ ข. ๓๐
ค. ๔๕ ง. ๖๐
๙. เมื่อตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลที่ได้รับเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นให้มีการเลือกตั้งภายในกี่วัน
ก. ๑๕ ข. ๓๐
ค. ๔๕ ง. ๖๐
๑๐. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาตำบลต้องมีชื่อในทะเบียนบ้าน ตามข้อใด
ก. ๙๐ วัน ข. ๓ เดือน
ค. ๑ ปี ง. ๒ ปี
๑๑. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นประธานสภาตำบล
ก. สมาชิกสภาตำบลที่ได้รับเลือก ข. กำนัน
ค. ผู้ใหญ่บ้าน ง. แพทย์ประจำตำบล
๑๒. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้แต่งตั้งรองประธานสภาตำบล
ก. ประธานสภาตำบล ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดอำเภอประจำตำบล
๑๓. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีหน้าที่รับผิดชอบงานธุรการและการจัดการประชุม
ก. ประธานสภาตำบล ข. รองประธานสภาตำบล
ค. เลขานุการสภาตำบล ง. ผู้ช่วยเลขานุการสภาตำบล
๑๔. สภาตำบลมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด
ก. การพัฒนาตำบลตามแผนงานโครงการและงบประมาณของสภาตำบล
ข. เสนอแนะส่วนราชการในการบริหารราชการและพัฒนาตำบล
ค. ปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการตำบลตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่
ง. ถูกทุกข้อ
๑๕. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาตำบลที่อาจดำเนินการได้
ก. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
ข. จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตร
ค. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางน้ำและทางบก
ง. บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎร
๑๖. เมื่อสภาตำบลจะทำกิจการนอกเขต สภาตำบล หรือร่วมกับสภาตำบล องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ประธานสภาตำบล ข. นายอำเภอ
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. ปลัดอำเภอประจำตำบล
๑๗. ข้อใดเป็นลักษณะรายได้ของสภาตำบล
ก. ไม่ต้องเสียภาษี ข. ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ค. ไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ง. ถูกทุกข้อ
๑๘. ข้อใดไม่ใช่รายจ่ายของสภาตำบล
ก. เงินเดือน ข. ค่าใช้สอย
ค. ค่าครุภัณฑ์ ง. ค่าใช้จ่ายที่อุทิศให้ผู้ยากจน
๑๙. ผู้มีอำนาจกำกับ ดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลให้เป็นไปตามกฎหมาย คือข้อใด
ก. กำนัน ข. ปลัดอำเภอประจำตำบล
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
๒๐. ผู้ดำรงตำแหน่งใดมีอำนาจสั่งยุบสภาตำบล
ก. กำนัน ข. ปลัดอำเภอประจำตำบล
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
๒๑. สภาตำบลที่อาจจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ต้องมีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกัน ๓ ปี ไม่ต่ำกว่าปีละเท่าใด
ก. ๑๐๐,๐๐๐ บาท ข. ๑๕๐,๐๐๐ บาท
ค. ๓๐๐,๐๐๐ บาท ง. ๓๐๐,๐๐๐ บาท
๒๒. การรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่นให้ทำเป็น
ก. พระราชกฤษฎีกา ข. กฎกระทรวง
ค. ประกาศกระทรวงมหาดไทย ง. ประกาศจังหวัด
๒๓. กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจยุบสภาตำบลที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงเท่าใด ไปรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่นหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน
ก. ๑,๐๐๐ คน ข. ๒,๐๐๐ คน
ค. ๓,๐๐๐ คน ง. ๔,๐๐๐ คน
๒๔. ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. นิติบุคคล ข. นิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น
ค. ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ง. นิติบุคคลและเป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
๒๕. องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วย
ก. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๒๖. โดยปกติสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจะมีจำนวนหมู่บ้านละกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๖ คน
๒๗. ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี ๑ หมู่บ้านให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้กี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๖ คน
๒๘. ถ้าองค์การบริหารส่วนตำบลใดมี ๒ หมู่บ้านให้มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้หมู่บ้านละกี่คน
ก. ๒ คน ข. ๓ คน
ค. ๔ คน ง. ๖ คน
๒๙. อายุของสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีกำหนดตามข้อใดถูกต้องที่สุด
ก. คราวละ ๔ ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ข. คราวละ ๔ ปีนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง
ค. คราวละ ๔ ปี ง. คราวละ ๔ ปีนับแต่วันประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง
๓๐. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้แต่งตั้งประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. นายอำเภอ
ค. ปลัดอำเภอประจำตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๓๑. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นเลขานุการสภาองค์การบริหารส่วนตำบลได้
ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ข้อ ข. และ ค. ถูก
๓๒. ถ้าตำแหน่งประธานหรือรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากครบวาระ ให้มีการเลือกแทนตำแหน่งที่ว่างภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๓๓. กรณีที่ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลทำหน้าที่แทน เรียกว่า
ก. ปฏิบัติราชการแทน ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. รักษาการในตำแหน่ง
๓๔. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสมัยประชุมสามัญของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. มี ๒ สมัย ข. มี ๒ สมัยหรือหลายสมัยแต่ต้องไม่เกิน ๔ สมัย
ค. มี ๔ สมัย ง. มีสมัยเดียวในปีหนึ่งๆ
๓๕. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจกำหนดวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปี
ก. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๓๖. สมัยประชุมสามัญสมัยหนึ่งๆ ให้มีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๓๗. นายอำเภอต้องกำหนดให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมาประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบลครั้งแรกภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๐ วัน
ค. ๑๕ วัน ง. ๓๐ วัน
๓๘. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจทำคำร้องยื่นต่อนายอำเภอขอเปิดประชุมวิสามัญ
ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ค. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๓๙. สมัยประชุมวิสามัญมีกำหนดไม่เกินกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๔๐. ถ้าจะขยายเวลากำหนดสมัยประชุมสามัญ หรือสมัยประชุมวิสามัญ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข. ปลัดอำเภอประจำตำบล
ค. นายอำเภอ ง. ผู้ว่าราชการจังหวัด
๔๑. ข้อใดไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ควบคุมการปฏิบัติงานของปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ง. ให้ความเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
๔๒. ผู้ใดไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. นายแดงมีชื่อในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า ๑ ปี
ข. นายดำไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต
ค. นายเขียวพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลเพราะเหตุมีส่วนได้เสียกับ อบต. มาแล้วเกิน ๖ ปี
ง. นายฟ้าพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาตำบลเพราะเหตุมีส่วนได้เสียกับ อบต. มาแล้ว ๑ ปี
๔๓. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสิ้นสุดสมาชิกภาพของสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ตาย
ข. ขาดประชุมสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ๓ ครั้งติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
ค. มิได้อยู่ประจำในหมู่บ้านที่ได้รับเลือกตั้งเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน ๓ เดือน
ง. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
๔๔. ถ้าราษฎรเห็นว่าสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลผู้ใดไม่สมควรดำรงตำแหน่งต่อไปให้เข้าชื่อไม่น้อยกว่าเท่าใดของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเพื่อถอดถอนผู้นั้นออกจากตำแหน่ง
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๒ ใน ๓
ค. ๓ ใน ๔ ง. ๔ ใน ๕
๔๕. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีวาระการดำรงตำแหน่งตามข้อใด
ก. ๔ ปี ข. ๔ ปีแต่ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน
ค. ๕ ปี ง. ๔ ปี วาระเดียว
๔๖. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. เคยเป็นสมาชิกสภาตำบล ข. อายุไม่ต่ำกว่า ๓๕ ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
ค. ไม่เป็นผู้มีพฤติกรรมในทางทุจริต ง. สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย
๔๗. ก่อนนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเข้ารับหน้าที่ให้แถลงนโยบายต่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบล โดยไม่มีการลงมติภายในกี่วัน
ก. ๗ วัน ข. ๑๐ วัน
ค. ๑๕ วัน ง. ๓๐ วัน
๔๘. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ง. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๔๙. กรณีที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลทำหน้าที่แทน เรียกว่า
ก. ปฏิบัติราชการแทน ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. รักษาการในตำแหน่ง
๕๐. อำนาจหน้าที่ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ ที่มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนเรียกว่า
ก. ปฏิบัติราชการแทน ข. รักษาราชการแทน
ค. ปฏิบัติหน้าที่แทน ง. รักษาการในตำแหน่ง
๕๑. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ถึงคราวออกตามวาระ ข. ตาย
ค. นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง ง. ลาออก โดยยื่นหนังสือลาออกต่อนายอำเภอ
๕๒. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอาจแต่งตั้งรองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลได้ไม่เกินกี่คน
ก. ๑ คน ข. ๒ คน
ค. ๓ คน ง. ๔ คน
๕๓. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการพ้นจากตำแหน่งของเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ตาย ข. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง
ค. ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ง. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพ้นจากตำแหน่ง
๕๔. ผู้ใดเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานส่วนตำบลและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนตำบลรองจากนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและรับผิดชอบควบคุมดูแลราชการประจำขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๕๕. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเข้าชื่อไม่น้อยกว่าเท่าใด มีสิทธิขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ๑ ใน ๒ ข. ๑ ใน ๓
ค. ๒ ใน ๓ ง. ๓ ใน ๔
๕๖. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ก. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ข. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ง. เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
๕๗. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดที่ไม่มีอำนาจเปรียบเทียบคดีละเมิดข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
๕๘. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจหน้าที่ตามข้อใด
ก. การผังเมือง ข. การพัฒนาตำบลในด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
ค. การท่องเที่ยว ง. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
๕๙. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ ข. ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ์
ค. ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว ง. ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
๖๐. ข้อใดเป็นอำนาจหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลอาจทำได้ในเขตขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ให้มีและบำรุงรักษาทางระบายน้ำ ข. คุ้มครอง ดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ค. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ง. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
๖๑. ผู้ใดมีอำนาจในการเสนอร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล
ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๖๒. ข้อบัญญัติที่จะบังคับใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลห้ามกำหนดโทษปรับเกินกี่บาท
ก. ๕๐๐ บาท ข. ๑,๐๐๐ บาท
ค. ๑,๔๐๐ บาท ง. ๒,๐๐๐ บาท
๖๓. ร่างข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลที่นายอำเภอไม่เห็นชอบด้วย ถ้าสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมีมติยืนในร่างข้อบัญญัติดังกล่าวไม่น้อยกว่าเท่าใดให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบลประกาศใช้ต่อไป
ก. ๑ ใน ๓ ข. ๒ ใน ๓
ค. ๓ ใน ๔ ง. ๓ ใน ๕
๖๔. รายได้ตามข้อใดที่จัดเก็บในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลใด ให้เป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลนั้นเลย
ก. ค่าภาคหลวงแร่ ข. ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
ค. ภาษีบำรุงท้องที่ ง. เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
๖๕. รายได้ตามข้อใดที่รัฐต้องจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ค่าภาคหลวงแร่ ข. ภาษีบำรุงท้องที่
ค. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ง. ภาษีป้าย
๖๖. รายได้ตามข้อใดที่รัฐต้องแบ่งให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ภาษีป้าย ข. ค่าภาคหลวงปิโตรเลียม
ค. ภาษีบำรุงท้องที่ ง. เงินที่เก็บตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ
๖๗. ข้อใดที่มีอำนาจอนุญาตให้องค์การบริหารส่วนตำบลกู้เงินจากกระทรวง ทบวง กรม องค์การหรือนิติบุคคลต่างๆ ได้
ก. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ค. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล
ข. อำเภอ ง. ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
๖๘. องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจออกข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อเก็บภาษีอากรจาก ภาษีธุรกิจเฉพาะค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนันได้ไม่เกินร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละ ๐ ข. ร้อยละ ๑ ใน ๙
ค. ร้อยละ ๑๐ ง. ร้อยละ ๒๐
๖๙. ถ้าประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ ๐ ให้องค์การบริหารส่วนตำบลเก็บในอัตราใด
ก. ร้อยละ ๐ ข. ร้อยละ ๑ ใน ๙
ค. ร้อยละ ๑๐ ง. ร้อยละ ๒๐
๗๐ ถ้าประมวลรัษฎากรเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราอื่น (นอกจากร้อยละ ๐) ให้องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บในอัตราใด
ก. ร้อยละ ๐ ข. ร้อยละ ๑ ใน ๙
ค. ร้อยละ ๑๐ ง. ร้อยละ ๒๐
๗๑. ข้อใดไม่ใช่รายจ่ายขององค์การบริหารส่วนตำบล
ก. ค่าปรับ ข. ค่าจ้าง
ค. ค่าใช้สอย ง. ค่าวัสดุ
๗๒. ผู้ใดที่เสนอร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้
ก. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ข. สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล
ค. ราษฎรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ถูกทุกข้อ
๗๓. สภาองค์การบริหารส่วนตำบลต้องพิจารณาร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๗๔. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจอนุมัติร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
ก. ผู้ว่าราชการจังหวัด ข. นายอำเภอ
ค. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ง. ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล
๗๕. เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเห็นชอบร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมแล้วให้ส่งให้นายอำเภอเพื่อที่นายอำเภอจะได้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๗๖. เมื่อสภาองค์การบริหารส่วนตำบลไม่รับหลักแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ให้นายอำเภอตั้งคณะกรรมการจำนวนกี่คนเพื่อมาพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้ง
ก. ๓ คน ข. ๕ คน
ค. ๗ คน ง. ๙ คน
๗๗. ให้คณะกรรมการพิจารณาปัญหาข้อยุติความขัดแย้งแห่งร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๗๘. ผู้ใดมีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลและมีอำนาจเรียกให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล พนักงานส่วนตำบล มาชี้แจงหรือสอบสวนได้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. นายอำเภอ
๗๙. เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดยุบสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเพราะต้องการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหรือประโยชน์ของประเทศ ให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายในกี่วัน
ก. ๑๕ วัน ข. ๓๐ วัน
ค. ๔๕ วัน ง. ๖๐ วัน
๘๐. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดมีอำนาจสั่งให้นายกองค์การบริหารส่วนตำบล รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบล พ้นจากตำแหน่งได้
ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. ผู้ว่าราชการจังหวัด ง. นายอำเภอ
เฉลยแบบทดสอบพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ๒๕๓๗
ข้อ.๑ | ง | ข้อ.๒ | ข | ข้อ.๓ | ข | ข้อ.๔ | ค | ข้อ.๕ | ก |
ข้อ.๖ | ค | ข้อ.๗ | ข | ข้อ.๘ | ค | ข้อ.๙ | ง | ข้อ.๑๐ | ค |
ข้อ.๑๑ | ข | ข้อ.๑๒ | ข | ข้อ.๑๓ | ค | ข้อ.๑๔ | ง | ข้อ.๑๕ | ก |
ข้อ.๑๖ | ค | ข้อ.๑๗ | ง | ข้อ.๑๘ | ง | ข้อ.๑๙ | ค | ข้อ.๒๐ | ง |
ข้อ.๒๑ | ข | ข้อ.๒๒ | ค | ข้อ.๒๓ | ข | ข้อ.๒๔ | ข | ข้อ.๒๕ | ก |
ข้อ.๒๖ | ก | ข้อ.๒๗ | ง | ข้อ.๒๘ | ข | ข้อ.๒๙ | ก | ข้อ.๓๐ | ข |
ข้อ.๓๑ | ง | ข้อ.๓๒ | ก | ข้อ.๓๓ | ค | ข้อ.๓๔ | ข | ข้อ.๓๕ | ก |
ข้อ.๓๖ | ก | ข้อ.๓๗ | ค | ข้อ.๓๘ | ง | ข้อ.๓๙ | ก | ข้อ.๔๐ | ค |
ข้อ.๔๑ | ค | ข้อ.๔๒ | ง | ข้อ.๔๓ | ค | ข้อ.๔๔ | ค | ข้อ.๔๕ | ก |
ข้อ.๔๖ | ข | ข้อ.๔๗ | ง | ข้อ.๔๘ | ก | ข้อ.๔๙ | ข | ข้อ.๕๐ | ก |
ข้อ.๕๑ | ค | ข้อ.๕๒ | ข | ข้อ.๕๓ | ข | ข้อ.๕๔ | ค | ข้อ.๕๕ | ข |
ข้อ.๕๖ | ง | ข้อ.๕๗ | ค | ข้อ.๕๘ | ข | ข้อ.๕๙ | ง | ข้อ.๖๐ | ก |
ข้อ.๖๑ | ง | ข้อ.๖๒ | ข | ข้อ.๖๓ | ข | ข้อ.๖๔ | ค | ข้อ.๖๕ | ก |
ข้อ.๖๖ | ง | ข้อ.๖๗ | ก | ข้อ.๖๘ | ค | ข้อ.๖๙ | ก | ข้อ.๗๐ | ข |
ข้อ.๗๑ | ก | ข้อ.๗๒ | ก | ข้อ.๗๓ | ง | ข้อ.๗๔ | ข | ข้อ.๗๕ | ก |
ข้อ.๗๖ | ค | ข้อ.๗๗ | ก | ข้อ.๗๘ | ง | ข้อ.๗๙ | ค | ข้อ.๘๐ | ค |