แนวข้อสอบพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. 2487
แนวข้อสอบพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. ๒๔๘๗
๑. ผู้ใดรักษาการตามพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช ๒๔๘๗
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. อธิบดีกรมการปกครอง
จ. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๒. คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรมีจำนวนทั้งหมดกี่คน
ก. ๓ คน
ข. ๔ คน
ค. ๖ คน
ง. ๗ คน
จ. ๒๑ คน
๓. ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร กรรมการต้องมาประชุมไม่น้อยกว่ากี่คน จึงเป็นองค์ประชุม
ก. ๓ คน
ข. ๔ คน
ค. ๖ คน
ง. ๗ คน
จ. กึ่งหนึ่ง
๔. บุคคลที่สามรถทำการเรี่ยไรได้ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
ก. ๑๕ ปี
ข. ๑๖ ปี
ค. ๑๗ ปี
ง. ๑๘ ปี
จ. ๒๐ ปี
๕. ข้อใดต่อไปนี้ที่เป็นข้อห้ามในการจัดให้มีการเรี่ยไรหรือทำการเรี่ยไร
ก. การเรี่ยไรเพื่อรวบรวมทรัพย์สินมาให้หรือชดใช้แก่จำเลย เพื่อใช้เป็นค่าปรับ เว้นแต่จะเป็นการเรี่ยไรในระหว่างวงศ์ญาติของจำเลย
ข. การเรี่ยไรโดยกำหนดเก็บเงินหรือทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นอัตราโดยคำนวณตามเกณฑ์ ปริมาณสินค้าผลประโยชน์หรือวัตถุอย่างอื่น
ค. การเรี่ยไรอันอาจเป็นเหตุให้เสื่อมทรามแก่ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน
ง. การเรี่ยไรอันอาจเป็นเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงถึงทางสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ หรือการเรี่ยไรเพื่อการจัดหายุทธภัณฑ์ให้แก่ต่างประเทศ
จ. ถูกทุกข้อ
๖. การเรี่ยไรซึ่งอ้างว่าเพื่อประโยชน์แกราชการ เทศบาล หรือสาธารณะประโยชน์ (เว้นแต่การเรี่ยไรซึ่งกระทรวง ทบวงหรือกรมเป็นผู้จัดให้มี) จะจัดให้มีได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ใด
ก. คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
ข. ประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่
ง. อธิบดีกรมการปกครอง
จ. ข้อ ค. หรือ ง.
๗. การเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ การเรี่ยไรโดยการโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ด้วยวิทยุกระจายเสียงหรือด้วยเครื่องเปล่งเสียง จะจัดให้มีหรือทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว เว้นแต่กรณีใดบ้าง
ก. การเรี่ยไรซึ่งได้รับอนุญาตหรือการเรี่ยไรซึ่งกระทรวงทบวงกรมเป็นผู้จัดให้มี
ข. การเรี่ยไรเพื่อการกุศลสงเคราะห์ในโอกาสที่บุคคลชุมนุมกันประกอบศาสนกิจ
ค. การเรี่ยไรโดยการขายสิ่งของในงานออกร้าน หรือในที่นัดประชุมเฉพาะแห่งอันได้จัดให้มีขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งผู้ได้รับอนุญาตให้มีการออกร้าน หรือผู้จัดให้มีการนัดประชุมเป็นผู้จัดมีขึ้น
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค.
๘. เมื่อมีผู้ขอรับอนุญาตทำการเรี่ยไร คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรมีอำนาจสั่งไม่อนุญาต หรือสั่งอนุญาตโดยกำหนดเงื่อนไขใดบ้าง
ก. จำนวนเงินหรือทรัพย์สินอื่นอย่างสูงที่ให้เรี่ยไรได้
ข. เขตหรือสถานที่และเวลาที่อนุญาตให้ทำการเรี่ยไร
ค. วิธีการเก็บรักษาและทำบัญชีเงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้
ง. วิธีทำการเรี่ยไร
จ. ถูกทุกข้อ
๙. เมื่อมีผู้ขอรับอนุญาตเพื่อการเรี่ยไรในถนนหลวงหรือในที่สาธารณะ หรือการเรี่ยไรโดยการโฆษณาด้วยสิ่งพิมพ์ด้วยวิทยุกระจายเสียงหรือด้วยเครื่องเปล่งเสียง หากคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรสั่งไม่อนุญาต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งและแสดงเหตุผลให้ผู้ขออนุญาตทราบภายในกำหนดกี่วัน
ก. ๗ วัน
ข. ๑๐ วัน
ค. ๑๕ วัน
ง. ๓๐ วัน
จ. ๔๕ วัน
๑๐. การยื่นอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ ๙ ให้ยื่นต่อผู้ใด
ก. คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
ข. ประธานคณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไร
ค. คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น
ง. คณะกรรมการจังหวัด
จ. ข้อ ค. หรือ ง.
๑๑. ผู้ใดเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในเขตกรุงเทพมหานคร
ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. อธิบดีกรมการปกครอง
จ. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
๑๒. ผู้ใดเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการเรี่ยไร พุทธศักราช ๒๔๘๗
ก. คณะกรรมการซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นหรือคณะกรรมการจังหวัด
ข. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ค. อธิบดีกรมการปกครอง
ง. นายอำเภอ
จ. ข้อ ค. หรือ ง.
๑๓. การยื่นคำขออนุญาต ฯ ให้ยื่น ณ ที่ใด
ก. ที่ว่าการอำเภอ / ที่ว่าการกิ่งอำเภอ
ข. ที่ทำการปกครองจังหวัด
ค. กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
ง. ข้อ ก. หรือ ค.
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค.
๑๔. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. บุคคลผู้ได้รับอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรต้องมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ในขณะทำการเรี่ยไรและต้องให้เจ้าหน้าที่หรือบุคคลผู้ประสงค์จะเข้าส่วนในการเรี่ยไรตรวจดู เมื่อเจ้าหน้าที่หรือบุคคลนั้นเรียกร้อง
ข. ในกรณีการเรี่ยไรซึ่งได้รับอนุญาตให้จัดทำประจำที่ผู้รับอนุญาตต้องแสดงใบอนุญาตไว้ ณ ที่ทำการเรี่ยไรให้เห็นได้โดยชัดเจน
ค. ในการรับเงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้ ต้องออกใบรับให้แก่ผู้บริจาคกับมีใบต้นขั้วใบรับไว้เป็น หลักฐาน และให้ผู้จัดให้มีการเรี่ยไรประกาศยอดรับและจ่ายเงินและทรัพย์สินให้ประชาชนทราบ
เป็นครั้งคราวตามสมควรและเมื่อได้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินนั้นหมดไปแล้วให้ประกาศยอดบัญชีอีก ครั้งหนึ่ง
ง. ห้ามมิให้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้มาในกิจการอย่างอื่นนอกวัตถุประสงค์ แห่งการเรี่ยไรตามที่ได้แสดงไว้ เว้นแต่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายพอสมควรในการเรี่ยไรนั้นเอง
จ. ถูกทุกข้อ
๑๕. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้มานั้น ถ้าไม่ต้องจ่ายเพราะไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งการเรี่ยไรตามที่ได้แสดงไว้ หรือเหลือจ่ายเพราะเหตุใดๆ ให้ผู้จัดให้มีการเรี่ยไรรายงานให้คณะกรรมการควบคุมการเรี่ยไรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วแต่กรณีทราบ
ข. เงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้มานั้นนั้น ถ้าไม่ต้องจ่ายเพราะไม่อาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์แห่งการเรี่ยไรตามที่ได้แสดงไว้ หรือเหลือจ่ายเพราะเหตุใดๆให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่
มีอำนาจสั่งให้ส่งเงินหรือทรัพย์สินดังกล่าวแล้วไปประกอบการกุศลหรือสาธารณะประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดตามแต่เห็นควร
ค. ในการเรี่ยไรห้ามมิให้ใช้ถ้อยคำหรือวิธีการใดๆ ซึ่งเป็นการบังคับผู้ถูกเรี่ยไรโดยตรงหรือ โดยปริยาย หรือซึ่งจะทำให้ผู้ถูกเรี่ยไรเกิดความหวาดหวั่นหรือกลัวเกรง
ง. ในการรับเงินหรือทรัพย์สินที่เรี่ยไรได้ ผู้จัดให้มีการเรี่ยไรต้องออกใบรับให้แก่ผู้บริจาคกับมีใบต้นขั้ว ใบรับไว้เป็นหลักฐานและให้ผู้จัดให้มีการเรี่ยไรประกาศยอดรับและจ่ายเงินและทรัพย์สินให้ ประชาชนทราบ
จ. ถูกทุกข้อ
๑๖. ผู้ใดจัดให้มีการเรี่ยไรหรือทำการเรี่ยไรอันอาจเป็นเหตุกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงถึงทางสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกิน ๒๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. ปรับไม่เกิน ๕๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ค. ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. ปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. ปรับไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท หรือจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
เฉลยแนวข้อสอบพระราชบัญญัติควบคุมการเรี่ยไร พ.ศ. ๒๔๘๗
ข้อ ๑. | ข | ข้อ ๕. | จ | ข้อ ๙. | ข | ข้อ ๑๓. | ง |
ข้อ ๒. | ง | ข้อ ๖. | ก | ข้อ ๑๐. | จ | ข้อ ๑๔. | จ |
ข้อ ๓. | ข | ข้อ ๗. | จ | ข้อ ๑๑. | ค | ข้อ ๑๕. | จ |
ข้อ ๔. | ข | ข้อ ๘. | จ | ข้อ ๑๒. | จ | ข้อ ๑๖. | ก |