แนวข้อสอบทะเบียนครอบครัว
แนวข้อสอบทะเบียนครอบครัว
๑. ทะเบียนครอบครัวมีกี่ประเภท
ก. ๑
ข. ๓
ค. ๕
ง. ๗
จ. ๘
๒. ข้อใดมิใช่ทะเบียนครอบครัว
ก. ทะเบียนการสมรส
ข. ทะเบียนการหย่า
ค. ทะเบียนการรับรองบุตร
ง. ทะเบียนการเลิกรับรองบุตร
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๓. บุคคลใดสามารถเป็นพยานในการจดทะเบียนครอบครัวได้
ก. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นเสมือนผู้ไร้ความสามารถ
ข. บุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ค. บุคคลวิกลจริต
ง. บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ จักษุบอดทั้ง ๒ ข้าง
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๔. สำนักทะเบียนสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ สามารถดำเนินการจดทะเบียน ครอบครัวประเภทใดได้บ้าง
ก. สมรส
ข. หย่า
ค. รับรองบุตร
ง. รับบุตรบุญธรรม
จ. ถูกทุกข้อ
๕. ชายและหญิงมีอายุกี่ปีสามารถทำการหมั้นได้
ก. ๑๗ ปีบริบูรณ์
ข. ๑๘ ปีบริบูรณ์
ค. ๑๙ ปี บริบูรณ์
ง. ๒๐ ปีบริบูรณ์
จ. ถูกทุกข้อ
๖. ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมของบุคคลใดบ้าง
ก. บิดาและมารดา กรณีมีทั้งบิดาและมารดา
ข. บิดา กรณีที่มารดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง
ค. มารดา กรณีที่บิดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง
ง. ผู้รับบุตรบุญธรรม กรณีผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค. หรือ ง. แล้วแต่กรณี
๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมมีผลเป็นโมฆียะ
ข. การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง
ค. เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นเป็นสิทธิของฝ่ายหญิง
ง. การหมั้นเป็นสาเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับสมรสได้
จ. ทุกข้อที่กล่าวมาถูกหมด
๘. หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วกี่วัน
ก. ๓๖๐ วัน
ข. ๓๑๐ วัน
ค. ๓๐๑ วัน
ง. ๑๘๐ วัน
จ. ๒๔๐ วัน
๙. การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสทำได้กี่วิธี
ก. ๑ วิธี
ข. ๒ วิธี
ค. ๓ วิธี
ง. ๔ วิธี
จ. ๕ วิธี
๑๐. วิธีการจดทะเบียนสมรสมีกี่วิธี
ก. ๗ วิธี
ข. ๕ วิธี
ค. ๓ วิธี
ง. ๒ วิธี
จ. ๑ วิธี
๑๑. การจดทะเบียนสมรสนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล จะต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
ก. เสียค่าธรรมเนียม ๑ บาท
ข. เสียค่าธรรมเนียม ๒ บาท
ค. เสียค่าธรรมเนียม ๒๐ บาท
ง. เสียค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท
จ. ไม่เสียค่าธรรมเนียม
๑๒. การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยเหตุใดบ้าง
ก. ความตาย
ข. การหย่า หรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
ค. สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า ๓ ปีขึ้นไป
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค.
๑๓. การหย่ากระทำได้กี่วิธี
ก. ๑ วิธี
ข. ๒ วิธี
ค. ๓ วิธี
ง. ๔ วิธี
จ. ๕ วิธี
๑๔. ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็น.........
ก. สินสมรส
ข. สินส่วนตัว
ค. สินส่วนกลาง
ง. สินจ้าง
จ. ข้อ ก. หรือ ข.
๑๕. ข้อใดมิใช่สินส่วนตัว
ก. ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
ข. ของหมั้น
ค. เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ง. ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือโดยการให้โดยเสน่หา
จ. ดอกผลของสินส่วนตัว
๑๖. ข้อใดมิใช่สินสมรส
ก. ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
ข. ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรม หรือโดยการให้เป็นหนังสือ
ค. ดอกผลของสินส่วนตัว
ง. ดอกผลของทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๑๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
ข. เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อ
บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร
ค. เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อ
ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ง. เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ให้ถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่วันที่บิดามารดาได้ทำการจดทะเบียนสมรส หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แล้วแต่กรณี
จ. เมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ให้ถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาตั้งแต่วันเด็กเกิด
๑๘. การจดทะเบียนรับรองบุตรกระทำได้กี่วิธี
ก. ๑ วิธี
ข. ๒ วิธี
ค. ๓ วิธี
ง. ๔ วิธี
จ. ๕ วิธี
๑๙. การจดทะเบียนรับรองบุตรนอกสำนักทะเบียนในท้องที่ห่างไกล จะต้องสียค่าธรรมเนียมหรือไม่
ก. เสียค่าธรรมเนียม ๑ บาท
ข. เสียค่าธรรมเนียม ๒ บาท
ค. เสียค่าธรรมเนียม ๒๐ บาท
ง. เสียค่าธรรมเนียม ๒๐๐ บาท
จ. ไม่เสียค่าธรรมเนียม
๒๐. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจดทะเบียนรับรองบุตร
ก. เมื่อได้จดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้ เว้นแต่จะขอให้ศาลมีคำสั่ง
ข. พระภิกษุสามารถขอจดทะเบียนรับรองบุตรได้
ค. ในกรณีเด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอม การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นจะต้องมีคำพิพากษาของศาล
ง. ในกรณีเด็กหรือมารดาเด็กไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนรับรองบุตรนั้นจะต้องมีคำพิพากษาของศาล
จ. เมื่อบิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร ให้ถือว่าเด็กนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดา ตั้งแต่วันที่ บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตร
๒๑. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า............ปี และต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย...........ปี
ก. ๑๕ / ๒๕
ข. ๒๐ / ๑๕
ค. ๒๕ / ๑๕
ง. ๓๐ / ๑๕
จ. ๓๐ / ๒๕
๒๒. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
ก. กรณีที่ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี ผู้นั้นจะต้องให้ความยินยอมด้วย
ข. กรณีที่ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมเป็นผู้เยาว์ จะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดากรณีมีทั้งบิดาและมารดา
ค. ผู้ที่ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรม ผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
ง. ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่แล้ว จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกใน
ขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่ เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
จ. กรณีไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอม บิดามารดาหรือผู้ที่ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมจะร้องขอต่อ ศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมก็ได้
๒๓. การรับบุตรบุญธรรมมีกี่กรณี
ก. ๑ กรณี
ข. ๒ กรณี
ค. ๓ กรณี
ง. ๔ กรณี
จ. ๕ กรณี
๒๔. เมื่อมีการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะและสิทธิอย่างไร
ก. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมนั้น
ข. บิดามารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครอง นับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรม แต่ไม่ขาดจากการเป็นบิดามารดา และบุตรบุญธรรมไม่สูญเสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา
ค. บุตรบุญธรรมมีสิทธิใช้ชื่อสกุลแลมีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม แต่ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
ง. หากผู้รับบุตรบุญธรรมสมรสกับบุตรบุญธรรม การสมรสมีผลสมบูรณ์ และการรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิก
จ. ไม่มีข้อใดผิด
๒๕. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมสามารถปฏิบัติได้กี่วิธี
ก. ๑ วิธี
ข. ๒ วิธี
ค. ๓ วิธี
ง. ๔ วิธี
จ. ๕ วิธี
๒๖. วิธีการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย มีกี่กรณี
ก. ๑ กรณี
ข. ๒ กรณี
ค. ๓ กรณี
ง. ๔ กรณี
จ. ๕ กรณี
๒๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับการจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรม
ก. การจดทะเบียนเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล จะมีผลเมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ข. เมื่อการเลิกรับบุตรบุญธรรมมีผลแล้ว บุตรบุญธรรมย่อมกลับคืนสู่ฐานะเดิมในครอบครัวของตน
ค.การฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จะต้องให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน
ง. การฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรม หากบุตรบุญธรรมมีอายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์แล้ว บุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลใด
จ. ไม่มีข้อใดผิด
๒๘. การบันทึกฐานะของภริยา สามีภริยาต้องแต่งงานกันก่อน............................
ก. ๑ ตุลาคม ๒๔๗๘
ข. ๑ ตุลาคม ๒๔๘๗
ค. ๑ ตุลาคม ๒๔๗๔
ง. ๑ ตุลาคม ๒๔๘๔
จ. ๑ ตุลาคม ๒๔๙๙
๒๙. การบันทึกฐานะของภริยา สามารถบันทึกได้กี่ชั้น
ก . ๑ ชั้น
ข. ๒ ชั้น
ค. ๓ ชั้น
ง. ๔ ชั้น
จ. ไม่จำกัด
๓๐. การบันทึกฐานะแห่งครอบครัวมีหลักเกณฑ์อย่างไร
ก. ผู้ร้องขอให้บันทึกต้องเป็นคนสัญชาติด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนสัญชาติไทย
ข. ข้อความที่จะให้บันทึกจะต้องเป็นกิจกาจอันเกี่ยวด้วยฐานะแห่งครอบครัว
ค. กิจการนั้นได้กระทำไว้ในต่างประเทศ ตามแบบกฎหมายแห่งประเทศที่ทำขึ้นบัญญัติไว้
ง. ต้องทำเอกสารและสำเนาอันเป็นหลักฐานแห่งการนั้น ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยและมีคำรับรองคำแปล โดยกระทรวงการต่างประเทศมาแสดง
จ. ถูกทุกข้อ
เฉลยแนวข้อสอบทะเบียนครอบครัว
ข้อ ๑. | ง | ข้อ ๑๑. | ก | ข้อ ๒๑. | ค |
ข้อ ๒. | ง | ข้อ ๑๒. | ง | ข้อ ๒๒. | ก |
ข้อ ๓. | จ | ข้อ ๑๓. | ข | ข้อ ๒๓. | ข |
ข้อ ๔. | จ | ข้อ ๑๔. | ก | ข้อ ๒๔. | จ |
ข้อ ๕. | จ | ข้อ ๑๕. | จ | ข้อ ๒๕. | ข |
ข้อ ๖. | จ | ข้อ ๑๖. | จ | ข้อ ๒๖. | ข |
ข้อ ๗. | ง | ข้อ ๑๗. | ง | ข้อ ๒๗. | ค |
ข้อ ๘. | ข | ข้อ ๑๘. | ค | ข้อ ๒๘. | ก |
ข้อ ๙. | ค | ข้อ ๑๙. | ก | ข้อ ๒๙. | ข |
ข้อ ๑๐. | ก | ข้อ ๒๐. | จ | ข้อ ๓๐. | จ |