แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 35 ข้อ
แนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
๑. “..............” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจาการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง
ก. ผู้ต้องหา
ข. จำเลย
ค. ผู้เสียหาย
ง. พนักงานอัยการ
จ. พนักงานสอบสวน
๒. “.............” หมายความถึงการที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้นจะรู้ตัวผู้กระทำ ความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้โดยมีเจตนาจะทำให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ
ก. คำร้องทุกข์
ข. คำกล่าวโทษ
ค. ความหมายอาญา
ง. การสืบสวน
จ. การไต่สวนมูลฟ้อง
๓. “..............” หมายความถึงการแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติหน้าที่ไปตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด
ก. คำร้องทุกข์
ข. คำกล่าวโทษ
ค. ความหมายอาญา
ง. การสืบสวน
จ. การไต่สวนมูลฟ้อง
๔. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. “ที่รโหฐาน” หมายความถึงที่ต่างๆซึ่งเป็นสาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา
ข. “โจทก์” หมายความถึงพนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อในเมื่อพนักงานอัยการและผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน
ค. “คู่ความ” หมายความถึงโจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง
ง. “ถ้อยคำสำนวน” หมายถึงหนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น
จ. “บันทึก” หมายความถึงหนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย
๕. บุคคลตามข้อใดมิได้เป็นพนักงานงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
ก. พัสดี
ข. เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต
ค. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
ง. พนักงานตรวจคนเข้าเมือง
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๖. บุคคลตามข้อใดเป็นพนักงานใยปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ก. หัวหน้าสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ข. ผู้รักษาราชการแทนหัวหน้าสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ค. หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ง. ข้อ ก. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๗. ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิอย่างไรบ้าง
ก. พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
ข. ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน
ค. ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร
ง. ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
จ. ถูกทุกข้อ
๘. เมื่อได้มีการยื่นฟ้องแล้ว จำเลยมีสิทธิอย่างไรบ้าง
ก. ได้รับการพิจารณาคดีด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม
ข. แต่งทนายแก้ต่างในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณาในศาลชั้นต้นตลอดจนขั้นศาลอุทธรณ์และศาลฎีกา
ค. ปรึกษาทนายความหรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว
ง. ตรวจดูสิ่งที่ยื่นเป็นพยานหลักฐาน และคัดสำเนาหรือรูปถ่ายสิ่งนั้นๆ
จ. ถูกทุกข้อ
๙. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา
ก. การสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ให้ใช้ภาษาไทย
ข. ถ้ามีความจำเป็นต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยหรือต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศให้ใช้ล่ามแปล
ค. กรณีผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทย หรือสามารถพูดหรือเข้าใจเฉพาะภาษาท้องถิ่น และไม่มีล่าม ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาลจัดหาล่ามให้โดยมิชักช้า
ง. กรณีผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยินหรือสื่อความหมายได้ และไม่มีล่ามภาษามือ ให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ หรือศาล จัดหาล่ามภาษามือให้หรือจัดให้ถามตอบ หรือสื่อความหมายโดยวิธีอื่นที่เห็นสมควร
จ. ถูกทุกข้อ
๑๐. บุคคลใดมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้
ก.พนักงานฝ่ายปกครอง
ข. ตำรวจ
ค. กำนัน
ง. ผู้ใหญ่บ้าน
จ. ถูกทุกข้อ
๑๑. ในจังหวัดอื่นนอกจากจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้ผู้ใดมีอำนาจทำการสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้างหรือเชื่อว่าได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน หรือผู้ต้องหาที่มีอยู่ หรือถูกจับ ภายในเขตอำนาจของตน
ก. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่
ข. ข้าราชการตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป
ค. ปลัดอำเภอ
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๒. ในกรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดทางอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่หรือเมื่อเกิด ความผิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทางหรือเมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทางให้พนักงานสอบสวนในท้องที่ใดมีอำนาจสอบสวน
ก. ท้องที่ที่เริ่มกระทำความผิด
ข. ท้องที่ที่กระทำความผิดครั้งสุดท้าย
ค. ท้องที่ที่พบตัวผู้กระทำความผิด
ง. ท้องที่หนึ่งท้องที่ใดก็ได้ที่เกี่ยวข้อง
จ. ท้องที่ที่ผู้กระทำความผิดมีภูมิลำเนาอยู่
๑๓. ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ให้ผู้ใดเป้นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ
ก. อัยการสูงสุด
ข. ผู้รักษาการแทนอัยการสูงสุด
ค. พนักงานสอบสวนที่ได้รับมอบหมาย
ง. พนักงานอัยการที่ได้รับมอบหมาย
จ. ถูกทุกข้อ
๑๔. ในกรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกันควรเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ให้ผู้ใดเป็นผู้มีอำนาจชี้ขาด
ก. ข้าหลวงประจำจังหวัด (ผู้ว่าราชการจังหวัด)
ข. ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด
ค. ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ง. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
จ. อัยการสูงสุดหรือผู้ทำการแทน
๑๕. บุคคลใดมีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลได้บ้าง
ก. พนักงานอัยการ
ข. ผู้เสียหาย
ค. พนักงานสอบสวน
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ.ถูกทุกข้อ
๑๖. เมื่อผู้เสียหายได้ยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้ใดสามารถดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้บ้าง
ก. ผู้บุพการี
ข. ผู้สืบสันดาน
ค. สามีหรือภริยา
ง. ข้อ ก. และ ข.เท่านั้น
จ. ถูกทุกข้อ
๑๗. ข้อใดกล่าถูกต้อง
ก. คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
ข. คดีอาญาที่มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
ค. คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้ว พนักงานอัยการจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดก่อนคดีเสร็จเด็ดขาดก็ได้
ง. ข้อ ก.และ ข.
จ. ข้อ ก. และ ค.
๑๘. คดีอาญาเลิกกันในกรณีใดบ้าง
ก. ในคดีมีโทษปรับสถานเดียว เมื่อผู้กระทำผิดยินยอมเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นแก้พนักงานเจ้าหน้าที่ก่อนศาลพิจารณา
ข. ในคดีความผิดที่เป็นลหุโทษหรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเที่ยบแล้ว
ค. คดีอื่นที่มีโทษปรับสถานเดียวอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
ง. ความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรซึ่งมีโทษปรับอย่างสูงไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทเมื่อผู้ต้องหาชำระค่าปรับตามพนักงานสอบสวนได้เปรียบเทียบแล้ว
จ. ถูกทุกข้อ
๑๙. สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับในกรณีใดบ้าง
ก. โดยความตายของผู้กระทำผิด
ข. ในคดีความผิดต่อส่วนตัว เมื่อได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมาย
ค. เมื่อคดีเลิกกัน
ง. เมื่อคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้อง
จ. ถูกทุกข้อ
๒๐. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. คดีเรื่องใดถึงแม้ว่าได้ฟ้องในทางอาญาแล้ว ก็ไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะฟ้องในทางแพ่งอีก
ข. ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในพิพากษาคดีส่วนอาญา
ค. เมื่อศาลพิพากษาให้คืนทรัพย์สินแต่ยังไม่ปรากฏตัวเจ้าของ เมื่อใดปรากฏตัวเจ้าของแล้วให้เจ้าหน้าที่ซึ่งรักษาของคืนของนั้นให้แก่เจ้าของไป
ง. ถูกทุกข้อ
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๒๑. ข้อใดเป็นเหตุที่จะออกหมายจับได้
ก. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๓ ปี
ข. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี
ค. เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ง. ข้อ ก. หรือ ข. เท่านั้น
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค.
๒๒. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือรคำสั่งของศาลได้ในกรณีใดบ้าง
ก. เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า
ข. เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดพยันตรายแก่บุคคลหรือ
ทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกรทำความผิด
ค. เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้น แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับ
บุคคลนั้นได้
ง. เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราว
จ. ถูกทุกข้อ
ตอบ จ.
๒๓. การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก ยกเว้นข้อใด
ก. เมื่อลงมือค้นแต่ในเวลากลางวัน ถ้ายังไม่เสร็จจะค้นต่อไปในเวลากลางคืนก็ได้
ข. ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้
ค. การค้นเพื่อจับผู้ดุร้ายหรือผู้ร้ายสำคัญจะทำในเวลากลางคืนก็ได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตพิเศษจากศาลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อง
๒๔. หลักประกันที่ใช้ในการปล่อยชั่วคราวมีกี่ชนิด
ก. ๒
ข. ๓
ค. ๔
ง. ๕
จ. ๖
๒๕. พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีใดได้บ้าง
ก. เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ
ข. เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน
ค. เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษ หรือบันทึกคำกล่าวโทษ
ง. ข้อ ข. หรือ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๒๖. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับการสอบสวนสามัญ
ก. ให้เริ่มการสอบสวนโดยมิชักช้า
ข. จะทำการสอบสวนในที่ใดเวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร
ค. จะทำการสอบสวนโดยผู้ต้องหาไม่อยู่ด้วยก็ได้
ง. ถูกทุกข้อ
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๒๗. คดีที่มีอัตราโทษอย่างไร ที่กฎหมายกำหนดว่า “ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้”
ก. คดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต
ข. คดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน ๑๘ ปี ในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา
ค. คดีที่มีอัตราโทษจำคุก
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๒๘. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวนปากคำตนได้
ข. ในการถามคำผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อน ว่าผู้ต้องหามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ก็ได้ ถ้าผู้ต้องหาให้การ ถ้อยคำที่ผู้ต้องหาให้การนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้
ค. ในการถามคำผู้ต้องหา ให้พนักงานสอบสวนแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อน ว่าผู้ต้องหามีสิทธิให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้
ง. ข้อ ก. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๒๙. ในคดีซึ่งมีอัตราโทษอย่างสูงเท่าใดห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริง
ก. จำคุกไม่เกินสามปี
ข. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
ค. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. จำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๓๐. การยื่นอุทธรณ์ ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นในกำหนดเวลาใด
ก. ๑ เดือน
ข. ๓ เดือน
ค. ๖ เดือน
ง. ๑ ปี
จ. ๒ ปี
๓๑. ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่มีลักษณะอย่างไร
ก. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ
ข. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสี่ปี
ค. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปี
ง. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสามปี หรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินสามปี
จ. คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่าง หรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปี
๓๒. พยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยผิดหรือบริสุทธิ์ให้อ้างเป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานที่มิได้เกิดขึ้นจาก...............
ก. การจูงใจ
ข. การมีคำมั่นสัญญา
ค. การขู่เข็ญ หลอกลวง
ง. ข้อ ข. หรือ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๓๓. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. โจทก์อ้างจำเลยเป็นพยานได้
ข. ห้ามมิให้จำเลยอาจอ้างตนเองเป็นพยาน
ค. ในระหว่างพิจารณา ศาลมีอาจสั่งให้เป็นพยานซึ่งมิใช่จำเลย ออกไปอยู่นอกห้องพิจารณาจนกว่าจะเข้ามาเบิกความก็ได้
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๓๔. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับพยานเอกสาร
ก. ต้นฉบับเอกสารเท่านั้นที่อ้างเป็นพยานเอกสารได้
ข. ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ สำเนาที่รับรองว่าถูกต้องก็อ้างเป็นพยานได้
ค. ถ้าหาต้นฉบับไม่ได้ พยานบุคคลที่รู้ข้อความก็อ้างเป็นพยานได้
ง. ถ้าอ้างหนังสือราชการเป็นพยาน แม้ต้นฉบับยังมีอยู่จะส่งสำเนาที่เจ้าหน้าที่รับรองว่าถูกต้อง
จ. ถูกทุกข้อ
๓๕. หญิงใดจะต้องประหารชีวิต ถ้ามีครรภ์อยู่ให้รอไว้จนครบกำหนดกี่ปี นับแต่คลอดบุตรแล้ว
ก. ๑ ปี
ข. ๒ ปี
ค. ๓ ปี
ง. ๔ ปี
จ. ๕ ปี
เฉลยแนวข้อสอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ข้อ ๑. | ค | ข้อ ๘. | จ | ข้อ ๑๕. | ง | ข้อ ๒๒. | จ | ข้อ ๒๙. | ค |
ข้อ ๒. | ก | ข้อ ๙. | จ | ข้อ ๑๖. | จ | ข้อ ๒๓. | จ | ข้อ ๓๐. | จ |
ข้อ ๓. | จ | ข้อ ๑๐. | จ | ข้อ ๑๗. | ง | ข้อ ๒๔. | ข | ข้อ ๓๑. | ก |
ข้อ ๔. | ก | ข้อ ๑๑. | จ | ข้อ ๑๘. | จ | ข้อ ๒๕. | จ | ข้อ ๓๒. | จ |
ข้อ ๕. | จ | ข้อ ๑๒. | ง | ข้อ ๑๙. | จ | ข้อ ๒๖. | ง | ข้อ ๓๓. | ค |
ข้อ ๖. | จ | ข้อ ๑๓. | จ | ข้อ ๒๐. | ง | ข้อ ๒๗. | ง | ข้อ ๓๔. | จ |
ข้อ ๗. | จ | ข้อ ๑๔. | ก | ข้อ ๒๑. | จ | ข้อ ๒๘. | จ | ข้อ ๓๕. | ค |