แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 40 ข้อ
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
๑. เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามกฎหมายใด
ก. จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ข. กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
ค. หลักกฎหมายทั่วไป
ง. ข้อ ก. หรือ ข. ตามลำดับ
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค. ตามลำดับ
๒. ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบทกฎหมาย อันชัดแจ้งให้ใช้อัตราร้อยละเท่าใด
ก. ร้อยละหกครึ่ง
ข. ร้อยละเจ็ดครึ่ง
ค.ร้อยละแปดครึ่ง
ง. ร้อยละสิบสองครึ่ง
จ. ร้อยละสิบห้า
๓. “.......................” หมายความว่า เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควร อันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
ก. เหตุสุดวิสัย
ข. ประมาท
ค. อุบัติเหตุ
ง. ภัยพิบัติ
จ. เหตุการณ์
๔. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. กิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือจำเป็นต้องเขียนเองและต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
ข. ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ ที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลง
ลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย ๒ คน ให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
ค. เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้ ให้ถือเอา
ตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ข้อ ก. และ ค.
ตอบ ก.
๕. ในกรณีที่จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข ถ้าตัวอักษรกับตัวเลขไม่ตรงกัน
และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้ ให้ถือเอาจำนวนหรือปริมาณใด
ก. จำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษร
ข. จำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวเลข
ค. จำนวนเงินที่เป็นตัวเลขและปริมาณที่เป็นตัวอักษร
ง. จำนวนเงินที่เป็นตัวอักษรและปริมาณที่เป็นตัวเลข
จ. จำนวนเงินหรือปริมาณที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลขก็ได้
ตอบ ก.
๖. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สภาพบุคคลเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
ข. สภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลงเมื่อตาย
ค. บุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้ว่าคนไหน
ตายก่อนหลังให้ถือว่าตายพร้อมกัน
ง. การนับอายุของบุคคล ให้เริ่มนับแต่วันเกิด
จ. ถูกทุกข้อ
ตอบ จ.
๗. บุคคลในข้อใดถือว่าพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะ
ก. นาย ก มีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ และได้ทำการหมั้นแล้ว
ข. นาย ข มีอายุ ๑๗ ปีบริบูรณ์ และได้ทำการสมรสตามกฎหมายแล้ว
ค. นาย ค มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ และยังไม่ได้ทำการสมรส
ง. ข้อ ข. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๘. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน
ข. การใดๆที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ค. ผู้เยาว์อาจทำการใดๆได้ทั้งสิ้น หากเป็นเพียงเพื่อจะได้ใช้สิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็นการให้หลุดพ้น
จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๙. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นของบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ
ข. ถ้าเป็นบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไปหรือมีหลักเกณฑ์แหล่งที่ทำการงาน
เป็นปกติหลายแห่ง ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นที่อยู่ของบุคคลนั้น
ค. ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมลำเนา
ง. ข้อ ก. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๐. บุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้ และไม่มีใครรู้แน่ว่า
บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน
ของผู้ไม่อยู่นั้นได้ เมื่อล่วงพ้นระยะเวลาใด
ก. ๓ เดือน
ข. ๖ เดือน
ค. ๑ ปี
ง. ๒ ปี
จ. ๕ ปี
๑๑. บุคคลใดไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ตลอดระยะเวลา........... เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ
ก. ๖ เดือน
ข. ๑ ปี
ค. ๒ เดือน
ง. ๓ ปี
จ. ๕ ปี
๑๒. "................" หมายความรวมทั้งทรัพย์ และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้
ก. ทรัพย์
ข. ทรัพย์สิน
ค. สังหาริมทรัพย์
ง. อสังหาริมทรัพย์
จ. ส่วนควบของทรัพย์
๑๓. สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้น ตามปกตินิยม
และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น เรียกว่า..........
ก. ดอกผลธรรมดา
ข. ดอกผลไม่ธรรมดา
ค. ดอกผลนิตินัย
ง. ดอกผลตามธรรมชาติ
จ. ดอกผลพฤตินัย
๑๔. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดเเจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความ
สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ
ข. การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของปะชาชนการนั้นไม่เป็นโมฆะ
ค. การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ
ง. การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคลการนั้นเป็นโมฆียะ
จ. ถูกทุกข้อ
๑๕. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สิทธิเรียกร้องใดๆถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ
ข. สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ ลูดหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้
ค. อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้
ง. อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้เว้นกระทำการอย่างใดให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น
จ.ถูกทุกข้อ
๑๖. อายุความย่อมสะดุดหยุดลงได้ในกรณีใดบ้าง
ก. เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐาน สิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
ข. เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
ค. เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
ง. ข้อ ก. หรือ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๗. ถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ให้อายุความมีกำหนดกี่ปี
ก. ๑ ปี
ข. ๒ ปี
ค. ๕ ปี
ง. ๑๙ ปี
จ. ๒๐ ปี
๑๘. การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ชนิดใดบ้าง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมีผล
เป็นโมฆะ
ก. เรือมีระวางตั้งแต่ ๕ ขึ้นไป
ข. แพ
ค . สัตว์พาหนะ
ง. ข้อ ก. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๙. ในการซื้อขาย ผู้ขายย่อมไม่ต้องรับผิดในความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ ในกรณีใดบ้าง
ก. ถ้าผู้ซื้อได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่ามีความชำรุดบกพร่องหรือคสรจะได้รู้เช่นนั้นหากได้ใช้ความระมัดระวังอันจะพึงคาดหมายได้แต่วิญญูชน
ข. ถ้าความชำรุดบกพร่องนั้นเป็นอันเห็นประจักษ์แล้วในเวลาส่งมอบและผู้ซื้อรับเอาทรัพย์สินนั้นไว้โดยมิได้อิดเอื้อน
ค. ถ้าทรัพย์สินนั้นได้ขายทอดตลาด
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๒๐. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน
ข. ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางน้ำทางหลวง ทะเลสาบ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ค. ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้นจะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจแห่งบท กฎหมายเฉพาะหรือพระราชกฤษฎีกา
ง. บุคคลภายนอกสามารถยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดิน ในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสารณสมบัติของแผ่นดินได้
จ. ห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดินไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่
๒๑. ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกริมตลิ่งนั้นเป็นทรัพย์สินของผู้ใด
ก. เจ้าของที่ดินแปลงนั้น
ข. เจ้าของที่ดินแปลงถัดไปที่มีเขตแดนดินต่อกัน
ค. เป็นของแผ่นดิน
ง. กรมเจ้าท่า
จ. ข้อ ค. และ ข้อ ง.
๒๒. บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริต บุคคลนั้นต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
ก. ทำที่ดินให้เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ
ข. หากเจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ เจ้าของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น
ค. ให้ผู้สร้างโรงเรือนนั้นส่งคืนตามที่เป็นอยู่ โดยเจ้าของที่ดินไม่ต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าแห่งที่ดินที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ข้อ ก. หรือ ค.
๒๓. บุคคลใดเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย ต้องดำเนินการอย่างไร
ก. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
ข. แจ้งแก่ผู้ของหายหรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธจะรับทรัพย์นั้นโดยมิชักช้า
ค. ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายใน ๓ วันและแจ้ง
พฤติการณ์ตามที่ราบอันอาจเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
ง. ข้อ ก.หรือ ข.
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค.
๒๔. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตนั้น มิเสียไป ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะและนิติกรรมนั้นได้ถูกบอกล้างภายหลัง
ข. สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่งเจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้น มิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์สินนั้น มิใช่ของจำเลยหรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย
ค. สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่า เงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา
ง. บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด หรือจากพ่อค้าซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
จ. ถูกทุกข้อ
๒๕. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. แดนแห่งกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย
ข. เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตน และได้ซึ่งดอกผล แห่งทรัพย์สินนั้น
ค. เจ้าของทรัพย์สินที่มีสิทธิติดตามแลเอาคืนซึ่งทรัพย์ สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้
ง. เจ้าของทรัพย์มีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จ. ถูกทุกข้อ
๒๖. บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา............ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
ก. ๓ ปี / ๑ ปี
ข. ๕ ปี / ๓ ปี
ค. ๗ ปี / ๕ ปี
ง. ๑๐ ปี / ๕ ปี
จ. ๑๐ ปี / ๗ ปี
๒๗. การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุครบ....................แล้ว
ก. ๑๕ ปีบริบูรณ์
ข. ๑๖ ปีบริบูรณ์
ค. ๑๗ ปีบริบูรณ์
ง. ๑๘ ปีบริบูรณ์
จ. ๒๐ ปีบริบูรณ์
๒๘. ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลใด
ก. บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดาและมารดา
ข. บิดาหรือมารดา ในกรณีที่บิดาหรือมารดาตายหรือถูกถอนอำนาจปกครองหรือไม่อยู่ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจากมารดา
หรือบิดาได้
ค. ผู้รับบุตรบุญธรรมในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
ง. ผู้ปกครองในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตามข้อ ก. ข. และ ค. หรือมี แต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
จ. ถูกทุกข้อ
๒๙.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง
ข. เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสินสมรส
ค. สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุญบุญธรรมหรือผู้ปกครองของฝ่ายหญิงแล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
ง. ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
จ. การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้ามีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
๓๐. เมื่อมีการหมั้นแล้วถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น ให้สิทธิเรียกคืนของหมั้นหรือสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทนของอีกฝ่ายหนึ่งมีความอายุความเท่าใด
ก. ๓ เดือน
ข. ๖ เดือน
ค. ๑ ปี
ง. ๒ ปี
จ. ๑๐ ปี
๓๑. การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ.......................แล้ว
ก. ๑๕ ปีบริบูรณ์
ข. ๑๖ ปีบริบูรณ์
ค. ๑๗ ปีบริบูรณ์
ง. ๑๘ ปีบริบูรณ์
จ. ๒๐ ปีบริบูรณ์
๓๒. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การสมรสสามารถกระทำได้แม้กระทั่งชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
ข. ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขั้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือ ร่วมแต่บิดาหรือมารดา จะทำการสมรสกันไม่ได้ โดยความเป็นญาติดังกล่าว ต้องเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น
ค. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมสมรสกันได้
ง. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
จ. ถูกทุกข้อ
๓๓. หญิงที่สามีตายหรือการสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น จะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อการสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่า ................วัน
ก. ๙๐ วัน ข. ๑๘๐ วัน ค. ๒๗๐ วัน
ง. ๓๑๐ วัน จ. ๓๖๐ วัน
๓๔. การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้โดยวิธีใดบ้าง
ก. ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
ข. ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้สมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือชื่อของผู้
ให้ความยินยอม
ค. ถ้ามีเหตุจำเป็นจะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อย ๒ คนก็ได้
ง. ข้อ ก.หรือ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๓๕. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
ข. การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
ค. การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๓๖. เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งมิอาจจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบหรือสงครามถ้าชายและหญิงนั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายในกี่วัน ให้ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลอื่นดังกล่าวเป็นวันจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว
ก. ๙๐ วัน
ข. ๑๘๐ วัน
ค. ๒๗๐ วัน
ง. ๓๑๐ วัน
จ. ๓๖๐ วัน
๓๗. สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกันหรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งในกรณี ดังต่อไปนี้
ยกเว้นข้อใด
ก. มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
ข. ประนีประนอมยอมความ
ค. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ ๓ ปี
ง. ให้กู้ยืมเงิน
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๓๘. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. สามีหรือภริยามีอำนาจทำพินัยกรรมยกสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดก็ได้
ข. ถ้าสามีหรือภริยฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส อีกใยหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือสั่งให้แยกสินสมรสได้
ค. ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
ง. ถ้าสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกันโดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น
จ. ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว สามีและภริยาต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับการบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน
๓๙. หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้นให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างการสมรสซึ่งได้แก่........
ก. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดูตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
ข. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
ค. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
ง. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวแต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
จ. ถูกทุกข้อ
๔๐. การสมรสกรณีใดบ้างมีผลเป็นโมฆะ
ก. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
ข. การสมรสที่ชายหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงขั้นไปหรือลงมาหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา
ค. ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
ง. ข้อ ข. และ ค.
จ. ถูกทุกข้อ
๔๑. การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วย...............
ก. ความตาย
ข. การหย่า
ค. ศาลพิพากษาให้เพิกถอน
ง. ข้อ ก. หรือ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๔๒. สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดคู่สมรสเป็นอันระงับเมื่อได้ผ่านพ้นไปแล้วกี่วันนับแต่วันสมรส
ก. ๙๐ วัน
ข. ๑๘๐ วัน
ค. ๒๗๐ วัน
ง. ๓๑๐ วัน
จ. ๓๖๐ วัน
๔๓. สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเมื่อได้ผ่านพ้นไปแล้วกี่วันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล
ก. ๙๐ วัน
ข. ๑๘๐ วัน
ค. ๒๗๐ วัน
ง. ๓๑๐ วัน
จ. ๓๖๐ วัน
๔๔. สามีหรือภริยาจงใจทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน ....... อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
ก. ๑ ปี
ข. ๒ ปี
ค. ๓ ปี
ง. ๔ ปี
จ. ๕ ปี
๔๕. หญิงที่สามารถตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่น ได้ทำการสมรสใหม่และได้คลอดบุตรภายใน ๓๑๐ วัน นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ใด
ก. ชายผู้เป็นสามีคนใหม่
ข. ชายผู้เป็นสามีคนเดิม
ค. ชายผู้เป็นสามีคนใดก็ได้แล้วแต่จะตกลง
ง. ไม่เป็นบุตรของชายคนใดเลย
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๔๖. เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของบิดาต่อเมื่อ .......
ก. บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง
ข. บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
ค. ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ง. ถูกทุกข้อ
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๔๗. การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามข้อ ๔๖ ให้มีผลนับแต่เมื่อใด
ก. วันที่บิดามารดาได้สมรสกัน
ข. วันที่บิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร
ค. วันที่ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
ง. วันที่เด็กเกิด
จ. ข้อ ก. หรือ ข. หรือ ค. แล้วแต่กรณี
๔๘. ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรมีสิทธิอย่างไรบ้าง
ก. กำหนดที่อยู่ของบุตร
ข. ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
ค. ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
ง. เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
จ. ถูกทุกข้อ
๔๙. บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
ก. ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
ข. ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
ค. ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมที่จะปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
ง. ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
จ. ถูกทุกข้อ
๕๐. ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อใดบ้าง
ก. เมื่อผู้ปกครองตาย หรือถูกถอนโดยคำสั่งศาล
ข. เมื่อผู้ปกครองลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล
ค. เมื่อผู้ปกครองเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ง. เมื่อผู้ปกครองเป็นบุคคลล้มละลาย
จ. ถูกทุกข้อ
๕๑. การกู้ยืมเงินจำนวนเท่าใด ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง ลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
ก. ตั้งแต่ ๕๐ บาทขึ้นไป
ข. กว่า ๕๐ บาทขึ้นไป
ค. ตั้งแต่ ๒๐๐ บาทขึ้นไป
ง. ตั้งแต่ ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
จ. กว่า ๒,๐๐๐ บาทขึ้นไป
๕๒. พินัยกรรมมีกี่แบบ
ก. ๒ แบบ
ข. ๓ แบบ
ค. ๔ แบบ
ง. ๕ แบบ
จ. ๖ แบบ
๕๓. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
ข. คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นก็ได้
ค. ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้นให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ทำพินัยกรรมเท่านั้น
ง. ความสามารถของผู้รับพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตายเท่านั้น
จ. พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้
๕๔. บุคคลใดสามารถเป็นพยานในการทำพินัยกรรมได้
ก. ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ข. บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
ค. บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๕๕. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์
ข. พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบ ๑๕ ปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้นเป็นโมฆียะ
ค. พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆียะ
ง. ผู้จัดการมรดกมีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดก
จ. ถูกทุกข้อ
แนวข้อสอบกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ข้อ ๑. | จ | ข้อ ๑๕. | จ | ข้อ ๒๙. | ข | ข้อ ๔๓. | ก |
ข้อ ๒. | ข | ข้อ ๑๖. | จ | ข้อ ๓๐. | ข | ข้อ ๔๔. | ก |
ข้อ ๓. | ก | ข้อ ๑๗. | ง | ข้อ ๓๑. | ค | ข้อ ๔๕. | ก |
ข้อ ๔. | ก | ข้อ ๑๘. | จ | ข้อ ๓๒. | ง | ข้อ ๔๖. | ง |
ข้อ ๕. | ก | ข้อ ๑๙. | จ | ข้อ ๓๓. | จ | ข้อ ๔๗. | ง |
ข้อ ๖. | จ | ข้อ ๒๐. | ง | ข้อ ๓๔. | จ | ข้อ ๔๘. | จ |
ข้อ ๗. | ง | ข้อ ๒๑. | ก | ข้อ ๓๕. | จ | ข้อ ๔๙. | จ |
ข้อ ๘. | ข | ข้อ ๒๒. | ง | ข้อ ๓๖. | ก | ข้อ ๕๐. | จ |
ข้อ ๙. | จ | ข้อ ๒๓. | จ | ข้อ ๓๗. | ค | ข้อ ๕๑. | จ |
ข้อ ๑๐. | ค | ข้อ ๒๔. | จ | ข้อ ๓๘. | ก | ข้อ ๕๒. | ง |
ข้อ ๑๑. | จ | ข้อ ๒๕. | จ | ข้อ ๓๙. | จ | ข้อ ๕๓. | ข |
ข้อ ๑๒. | ข | ข้อ ๒๖. | ง | ข้อ ๔๐. | จ | ข้อ ๕๔. | จ |
ข้อ ๑๓. | ก | ข้อ ๒๗. | ค | ข้อ ๔๑. | จ | ข้อ ๕๕. | ก |
ข้อ ๑๔. | จ | ข้อ ๒๘. | จ | ข้อ ๔๒. | ก |
| ก |