แนวข้อสอบกฎหมายอาญา 40 ข้อ
แนวข้อสอบกฎหมายอาญา
๑. “...................” หมายความว่า เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
ก. โดยทุจริต
ข. โดยมิชอบ
ค. โดยประมาท
ง. การละเว้น
จ. โดยเจตนา
๒. “.....................” หมายความว่า ทางบกหรือทางน้ำสำหรับประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความ
รวมถึงทางรถไฟและทางรถรางที่มีรถเดิน สำหรับประชาชนโดยสารด้วย
ก. ที่สาธารณ
ข. ทางสาธารณ
ค. สาธารณสถาน
ง. เคหสถาน
จ. ถนนสาธารณ
๓. “คุมขัง” หมายความว่า ...........................
ก. คุมตัว
ข. ควบคุม
ค. ขัง
ง. กักขัง
จ. ถูกทุกข้อ
๔. “...................” หมายความว่า ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่เรียกเอา หรือให้เพื่อแลกเปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง
ก. ค่าประกัน
ข. ค่าจ้าง
ค. ค่าไถ่
ง. ค่าแลกเปลี่ยน
จ. ค่าปรับ
๕. ข้อใดกล่าวถูก
ก. บุคคลจักจ้องรับโทษในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้
ข. โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
ค. เมื่อได้กระทำความผิดแล้ว ถ้าต่อมาภายหลังกฎหมายได้บัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้น
ไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำนั้น พ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
ง. การกระทำความผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดให้ถือว่าเป็นการกระทำความผิดในราชอาณาจักร
จ. ถูกทุกข้อ
๖. ข้อใดมิใช่โทษทางอาญา
ก. ประหารชีวิต
ข. จำคุก
ค. กักขัง
ง. ปรับ
จ. ยึดทรัพย์สิน
๗. โทษประหารชีวิตและโทษจำคุกตลอดชีวิต มิให้นำมาบังคับใช้แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มี
อายุต่ำกว่ากี่ปี
ก. ๑๕ ปี
ข. ๑๗ ปี
ค. ๑๘ ปี
ง. ๑๙ ปี
จ. ๒๐ ปี
๘. ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีใด
ก. ยิงเสียให้ตาย
ข. ฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย
ค. แขวนคอ
ง. กระทำด้วยวิธีใดๆให้ตาย
จ. ข้อ ก. หรือ ข. แล้วแต่กรณี
๙. ในการกักขังแทนค่าปรับ ให้ถืออัตรากี่บาทต่อหนึ่งวัน
ก. ๗๐ บาท
ข. ๘๐ บาท
ค. ๑๐๐ บาท
ง. ๒๐๐ บาท
จ. ๒๔๐ บาท
๑๐. ข้อใดมิใช่วิธีการเพื่อความปลอดภัย
ก. กักขัง
ข. ห้ามเข้าเขตกำหนด
ค. เรียกประกันทัณฑ์บน
ง. คุมตัวไว้ในสถานพยาบาล
จ. ไม่มีข้อใดถูก
๑๑. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับวิธีเพิ่มโทษ ลดโทษ
ก. ในการเพิ่มโทษ มิให้เพิ่มขึ้นถึงขั้นประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกเกินสิบห้าปี
ข. ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลงถ้าจะลดหนึ่งในสามให้ลดเป็นทาจำคุกตลอดชีวิต
ค. ในการลดโทษประหารชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการลดมาตราส่วนโทษหรือลดโทษที่จะลงถ้าจะลดกึ่งหนึ่ง ให้ลดเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือโทษจำคุกตั้งแต่ยี่สิบห้าปีถึงห้าสิบปี
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๒. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดย................
ก. เจตนา
ข. ประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิด
ค. ไม่มีเจตนา ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิด
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๑๓. การกระทำตามข้อใดไม่มีความผิด
ก. กระทำด้วยความจำเป็น
ข. กระทำเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
ค. บันดาลโทสะ
ง. เด็กอายุยังไม่เกิน ๑๐ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด
จ. ถูกทุกข้อ
๑๔. ข้อใดกล่าวผิด
ก. ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ได้กระทำต่ออีกบุคคลหนึ่งโดยสำคัญผิด ผู้นั้นจะยกเอาความสำคัญผิดเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้กระทำโดยเจตนาก็ได้
ข. เด็กอายุยังไม่เกิน ๑๐ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดเด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ
ค. เด็กอายุกว่า ๑๐ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๕ ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด เด็กนั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ให้ศาลมีอำนาจที่จะว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นได้
ง. ในคดีที่มีโทษปรับสถานเดียว ถ้าที่ผู้ที่ต้องหาว่ากระทำความผิดนำค่าปรับในอัตตราอย่างสูงสำหรับความผิดนั้นมาชำระก่อนที่ศาลเริ่มต้นสืบพยาน ให้คดีนั้นเป็นอันระงับไป
จ. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
๑๕. ผู้ใดลงมือกระทำความผิดแต่ทำไปไม่ตลอด หรือกระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. เป็นตัวการ
ข. เป็นผู้ใช้
ค. พยายามกระทำความผิด
ง. ผู้สนับสนุน
จ. เป็นผู้กระทำความผิด
๑๖. ในกรณีความผิดใดเกิดขึ้นโดยการกระทำของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ผู้ที่ได้ร่วมกระทำความผิดด้วยกันนั้นเป็น……………..
ก. ตัวการ
ข. ผู้ใช้
ค. ผู้พยายามกระทำความผิด
ง. ผู้สนับสนุน
จ. ผู้ถูกใช้
๑๗. ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม
หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็น .............
ก. ตัวการ
ข. ผู้ใช้
ค. ผู้พยายามกระทำความผิด
ง. ผู้สนับสนุน
จ. ผู้ถูกใช้
๑๘. ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดต้องระวางโทษอย่างไร
ก. เสมือนเป็นตัวการ
ข. สองในสาม
ค. ครึ่งหนึ่ง
ง. หนึ่งในสาม
จ. ไม่ต้องรับโทษ
๑๙. เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปแต่ไม่ว่าจะมีการเพิ่มโทษ ลดโทษ หรือลดมาตราส่วนโทษด้วยหรือไม่ก็ตาม เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้วโทษจำคุกทั้งสิ้นต้องไม่เกินกำหนดกี่ปี
ก. ๑๐ ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน ๓ ปี
ข. ๒๐ ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๓ ปีแต่ไม่เกิน ๑๐ ปี
ค. ๕๐ ปี สำหรับกรณีความผิดกระทงที่หนักที่สุดมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน ๑๐ ปี ขึ้นไป เว้นแต่กรณีที่ศาลลงโทษจำคุกตลอดชีวิต
ง. ข้อ ก. และ ข.
จ. ถูกทุกข้อ
๒๐. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษ หนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด
ข. ความผิดอันได้กระทำโดยประมาท ความผิดลหุโทษ และความผิดซึ่งผู้กระทำได้กระทำในขณะที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีนั้น ไม่ว่าจะกระทำในครั้งก่อนหรือครั้งหลังไม่ถือว่าเป็นความผิดเพื่อการเพิ่มโทษ
ค. ในคดีอาญา ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนด เป็นอันขาดอายุความ
ง. เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษผู้นั้นทุกกรรม เป็นกระทงความผิดไป
จ. การกระทำความผิดลหุโทษโดยไม่มีเจตนาไม่เป็นความผิด
๒๑. ในคดีอาญากรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในระยะเวลาใด ให้คดีนั้นเป็นอันขาดอายุความ
ก. ๑ เดือน
ข. ๓ เดือน
ค. ๖ เดือน
ง. ๑ ปี
จ. ๒ ปี
๒๒. ในคดีอาญาสำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกยี่สิบปี
ถ้ามิได้ฟ้องหรือได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดกี่ปี นับแต่วันกระทำความผิดคดีนั้นเป็นอันขาดอายุความ
ก. ๕๐ ปี
ข. ๓๐ ปี
ค. ๒๐ ปี
ง. ๑๕ ปี
จ. ๑๐ ปี
๒๓. เมื่อได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุกยี่สิบปีแก่ผู้ใด ผู้นั้นยังมิได้รับโทษก็ดี ได้รับโทษแต่ยังไม่ครบถ้วนโดยหลบหนีก็ดี ถ้ายังมิได้ตัวผู้นั้นมาเพื่อรับโทษ นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือนับแต่วันที่ผู้กระทำความผิดหลบหนี แล้วแต่กรณี เกินกำหนดเวลากี่ปี เป็นอันล่วงเลยการลงโทษ และจะลงโทษผู้นั้นมิได้
ก. ๕๐ ปี
ข. ๓๐ ปี
ค. ๒๐ ปี
ง. ๑๕ ปี
จ. ๑๐ ปี
๒๔. ความผิดลหุโทษ คือความผิดซึ่งต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ข. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินหนนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่อนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๕. ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ต้องระวางโทษอย่างไร
ก. จำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ข. จำคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปีและปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
ค. จำคุกตั้งแต่หนึ่งปี ถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ง. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จ. จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
๒๖. ผู้ใดตระเตรียมเพื่อวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น ผู้นั้นต้องระวางโทษอย่างไร
ก. ต้องระวางโทษเสมือนเป็นตัวการ
ข. ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับพยายามกระทำความผิดนั้น
ค. ต้องระวางโทษสองในสาม
ง. ต้องระวางโทษหนึ่งในสาม
จ. ไม่ต้องรับโทษเพราะเพียงแค่ขั้นตระเตรียมการ
๒๗. ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใด หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริงผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ปลอมเอกสาร
ข. แปลงเอกสาร
ค. ทำลายเอกสาร
ง. ปลอมลายมือชื่อ
จ. ฉ้อโกง
๒๘. ผลที่เกิดจากการทำร้ายร่างกายตามข้อใดถือว่าได้รับอันตรายสาหัส
ก. ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท
ข. เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์
ค. เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้ว หรืออวัยวะอื่นใด
ง. หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว
จ. ถูกทุกข้อ
๒๙. ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ
ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ดูหมิ่น
ข. หมิ่นประมาท
ค. ใส่ความผู้อื่น
ง. แจ้งความเท็จ
จ. ไม่มีข้อถูก
๓๐. ผู้ใดเอาทรัพย์ของผู้อื่นที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. ชิงทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๑. ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้า ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. ชิงทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๒. ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือโดยขู่เข็ญว่าจะทำอันรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญหรือของบุคคลที่สาม จนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. ชิงทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๓. ผู้ใดข่มขืนใจผู้อื่นให้ยอมให้หรือยอมจะให้ตนหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สิน โดยโดยขู่เข็ญว่าจะเปิดเผยความลับ ซึ่งการเปิดเผยนั้นจะทำให้ผู้ถูกขู่เข็ญหรือบุคคลที่สามเสียหายจนผู้ถูกข่มขืนใจยอมเช่นว่านั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. รีดเอาทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๔. ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการาทรัพย์นั้นไป หรือให้พ้นจากการจับกุม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. ชิงทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๕. ผู้ใดชิงทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. วิ่งราวทรัพย์
ค. ชิงทรัพย์
ง. ปล้นทรัพย์
จ. กรรโชก
๓๖. ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ยักยอก
ข. ฉ้อโกง
ค. โกงเจ้าหนี้
ง. กรรโชก
จ. หลอกลวง
๓๗. ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้น เป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ยักยอก
ข. ฉ้อโกง
ค. โกงเจ้าหนี้
ง. กรรโชก
จ. หลอกลวง
๓๘. ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์สิน ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ยักยอก
ข. ฉ้อโกง
ค. โกงเจ้าหนี้
ง. กรรโชก
จ. รับของโจร
๓๙. ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่า หรือทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งทรัพย์ของผู้อื่นหรือผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย ผู้นั้นกระทำความผิดฐานใด
ก. ลักทรัพย์
ข. ทำลายทรัพย์
ค. ทำให้เสียทรัพย์
ง. กรรโชก
จ. รับของโจร
๔๐. ความผิดใดแม้ไม่มีเจตนาก็เป็นความผิดได้
ก. ความผิดอันยอมความได้
ข. ความผิดอาญาแผ่นดิน
ค. ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ
ง. ความผิดที่กระทำโดยประมาท
จ. ผิดทุกข้อ
เฉลยแนวข้อสอบกฎหมายอาญา
ข้อ ๑. | ก | ข้อ ๑๑. | จ | ข้อ ๒๑. | ข | ข้อ ๓๑. | ข |
ข้อ ๒. | ข | ข้อ ๑๒. | จ | ข้อ ๒๒. | ค | ข้อ ๓๒. | จ |
ข้อ ๓. | ง | ข้อ ๑๓. | ข | ข้อ ๒๓. | ค | ข้อ ๓๓. | ค |
ข้อ ๔. | ค | ข้อ ๑๔. | ก | ข้อ ๒๔. | ค | ข้อ ๓๔. | ค |
ข้อ ๕. | จ | ข้อ ๑๕. | ค | ข้อ ๒๕. | ค | ข้อ ๓๕. | ง |
ข้อ ๖. | จ | ข้อ ๑๖. | ก | ข้อ ๒๖. | ข | ข้อ ๓๖. | ข |
ข้อ ๗. | ค | ข้อ ๑๗. | ข | ข้อ ๒๗. | ก | ข้อ ๓๗. | ก |
ข้อ ๘. | ข | ข้อ ๑๘. | ข | ข้อ ๒๘. | จ | ข้อ ๓๘. | จ |
ข้อ ๙. | ง | ข้อ ๑๙. | จ | ข้อ ๒๙. | ข | ข้อ ๓๙. | ค |
ข้อ ๑๐. | ก | ข้อ ๒๐. | จ | ข้อ ๓๐. | ก | ข้อ ๔๐. | ง |