ข้อสอบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) - 20 ข้อ
1. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เริ่มต้นใช้ในวันที่
1. 1 ตุลาคม 2565* 2. 1 ตุลาคม 2566
3. 1 มกราคม 2565 4. 1 มกราคม 2566
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 มีสถานะเป็นแผนระดับใด
1. แผนระดับที่ 1 2. แผนระดับที่ 2*
3. แผนระดับที่ 3 4. แผนระดับที่ 4
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 เป็นแผนกี่ปี
1. แผนประจำปี 2. แผน 2 ปี
3. แผน 3 ปี 4. แผน 5 ปี*
4. “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นวิสัยทัศน์ของ
1. ยุทธศาสตร์ชาติ*
2. แผนการปฏิรูปประเทศ
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
5. การกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้อาศัยหลักการและแนวคิดกี่ประการ
1. 3 ประการ 2. 4 ประการ*
3. 5 ประการ 4. 6 ประการ
6. หลักการและแนวคิดแรกในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 คือ
1. การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว”
2. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ
3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง*
4. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว
7. การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว” แบ่งการพัฒนาออกเป็นกี่ระดับ
1. 3 ระดับ* 2. 4 ระดับ
3. 5 ระดับ 4. 7 ระดับ
8. ข้อใดไม่ใช่ระดับการสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว”
1. อยู่รอด 2. พอเพียง
3. ยั่งยืน 4. มั่นคง มั่งคั่ง*
9. “การปรับตัว” เป็นการสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว” ในระดับใด
1. อยู่รอด 2. พอเพียง*
3. ยั่งยืน 4. มั่นคง มั่งคั่ง
10. การพัฒนาบนพื้นฐานของแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” เป็นหลักการและแนวคิดในการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ตามข้อใด
1. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. การสร้างความสามารถในการ “ล้มแล้ว ลุกไว”
3. เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ*
4. การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว
11. กฎหมายใดที่กำหนดให้ต้องมียุทธศาสตร์ชาติเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 65*
2. พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
3. พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560
4. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546
12. ข้อใดคือแผนระดับที่ 1
1. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2. แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
3. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4. ยุทธศาสตร์ชาติ*
13. ข้อใดจัดอยู่ในประเภทของแผนระดับที่ 2
1. แผนปฏิบัติราชการประจำปี 2. แผนการปฏิรูปประเทศ*
3. ยุทธศาสตร์ชาติ 4. แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
14. แผนระดับที่ 3 คือข้อใด
1. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี*
3. ยุทธศาสตร์ชาติ
4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
15. ข้อใดไม่ใช่แผนระดับที่ 3
1. แผนการปฏิรูปประเทศ* 2. แผนปฏิบัติราชการประจำปี
3. แผนพัฒนาภาค 4. แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
16. แผนในข้อใดทำหน้าที่เป็นกรอบทิศทางการพัฒนาประเทศในภาพรวม
1. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 2. แผนการปฏิรูปประเทศ
3. ยุทธศาสตร์ชาติ* 4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
17. แผนตามข้อใดที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นยุทธศาสตร์ โดยคำนึงถึงประเด็นร่วม ประเด็นตัดข้าม และการประสานเชื่อมโยงเป้าหมายของแต่ละแผนให้ไปในทิศทางเดียวกัน
1. ยุทธศาสตร์ชาติ
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ*
4. แผนการปฏิรูปประเทศ
18. แผนประเภทใดที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยน แก้ไขปัญหา อุปสรรคเร่งด่วนเชิงโครงสร้าง กลไก หรือกฎระเบียบ เพื่อให้รากฐานการพัฒนาภายในประเทศมีความเหมาะสม
1. แผนการปฏิรูปประเทศ*
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3. แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
4. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
19. แผนที่ทำหน้าที่เป็นกรอบหรือทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคาม คือ
1. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ*
2. แผนการปฏิรูปประเทศ
3. ยุทธศาสตร์ชาติ
4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
20. แผนใดทำหน้าที่ระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งเชื่อมโยงเป้าหมายย่อยในมิติต่างๆ
1. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ*
3. ยุทธศาสตร์ชาติ
4. แผนปฏิบัติราชการประจำปี