รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ข้อ 1-40

  1. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
  • ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก
  • เริ่มใช้ ณ วันที่ 6 เมษายน 2560
  • มีทั้งหมด 16 หมวด 279 มาตรา
  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นผู้ลงนามรับรอง

 

  1. องค์กรใดทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
  • สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
  • คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ
  • คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 

  1. มาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกล่าวถึงราชอาณาจักรในเรื่องใด
  • ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว
  • ความสามัคคี
  • ความดีงาม
  • ความเป็นประชาธิปไตย

 

  1. อำนาจอธิปไตยเป็นของผู้ใด
  • ปวงชนชาวไทย
  • คณะรัฐมนตรี
  • รัฐสภา
  • ศาล

 

  1. พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาอธิปไตยผ่านทางใด
  • รัฐมนตรี รัฐสภา และศาล
  • ศาล รัฐสภา และคณะรัฐมนตรี
  • รัฐสภา ศาล และวุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาล

 

  1. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับจำนวนคณะองคมนตรี
  • ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 18 คน
  • ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกเกิน 18 คน
  • ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 19 คน
  • ประธานองคมนตรี 1 คน และองคมนตรีอื่นอีกเกิน 19 คน

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานองคมนตรี
  • ประธานศาลฎีกา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานรัฐสภา
  • ประธานองคมนตรี

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งใดเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งองคมนตรี
  • ประธานศาลฎีกา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานองคมนตรี

 

  1. ข้อใดไม่ใช่สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยด้านความเสมอภาค
  • ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
  • บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย
  • บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา
  • ข้าราชการย่อมมีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป

 

  1. ข้อใดเป็นสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล
  • บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและการเลือกถิ่นที่อยู่
  • บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
  • บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนา
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. เสรีภาพของสื่อมวลชน ข้อใดถูกต้อง
  • บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวสาร
  • บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
  • การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามจะกระทำมิได้
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อใดถือเป็นสิทธิชุมชน
  • บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐ
  • บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้ฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ
  • บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิได้เสนอเรื่องราวร้องทุกข์ต่อหน่วยงานของรัฐและได้รับแจ้งผลการพิจารณาโดยรวดเร็ว
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหกรณ์ สหภาพ องค์กร ชุมชนหรือหมู่คณะ” เป็นสิทธิในข้อใด
  • สิทธิในทรัพย์สิน
  • สิทธิชุมชน
  • สิทธิในการรวมกลุ่ม ชุมนุม และจัดตั้งพรรคการเมือง
  • สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ

 

  1. บุคคลซึ่งมีอายุเกินกี่ปีและไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ และบุคคลผู้ยากไร้ ย่อมมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐ
  • 50 ปี
  • 55 ปี
  • 60 ปี
  • 61 ปี

 

  1. ผู้ใดทราบว่ามีการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีสิทธิร้องต่ออัยการสูงสุดเพื่อให้องค์การใดวินิจฉัยได้
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

  1. ข้อใดเป็นหน้าที่ของปวงชนชาวไทย
  • ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ
  • รัฐต้องรักษาไว้ซึ่งคลื่นความถี่และสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียมอันเป็น สมบัติของชาติ
  • รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังอย่างเคร่งครัด
  • รัฐต้องเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ

 

  1. ข้อใดเป็นหน้าที่ของรัฐ
  • ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
  • เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
  • รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
  • รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

 

  1. ข้อใดเป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ
  • รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง
  • รัฐพึงจัดให้มีมาตรการหรือกลไกที่ช่วยให้เกษตรกรประกอบเกษตรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รัฐพึงอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. แนวนโยบายแห่งรัฐในข้อแรกกล่าวถถึงเรื่องใด
  • ส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ
  • ยุทธศาสตร์ชาติ
  • ส่งเสริมให้ประชาชนมีความสามารถ
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว

 

  1. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของชนชาวไทย
  • บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
  • บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
  • บุคคลมีหน้าที่รับราชการทหาร
  • บุคคลมีหน้าที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. ข้อใดไม่ใช่แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560
  • แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ
  • แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ
  • แนวนโยบายรถคันแรกและบ้านหลังแรก
  • แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน

 

  1. รัฐสภาประกอบด้วย
  • สภานิติบัญญัติแห่งชาติและวุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
  • สภาผู้แทนราษฎรและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นประธานรัฐสภา
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. ผู้ดำรงตำแหน่งตามข้อใดเป็นรองประธานรัฐสภา
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี
  • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ

 

  1. ในกรณีที่ไม่มีประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้ผู้ใดทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี
  • รองประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

  1. ถ้าประธานสภาผู้แทนราษฎรไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ประธานรัฐสภาได้ ให้ผู้ใดทำหน้าที่ประธานรัฐสภาแทน
  • ประธานวุฒิสภา
  • ประธานสภาผู้แทนราษฎร
  • นายกรัฐมนตรี
  • รองประธานสภาผู้แทนราษฎร

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของ
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา

 

  1. ร่างพระราชบัญญัติจะตราขึ้นเป็นกฎหมายได้ก็แต่โดยคำแนะนำและยินยอมของ
  • สภาผู้แทนราษฎร
  • รัฐสภา
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • วุฒิสภา

 

  1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนตามข้อใดมีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
  • 2 ใน 3
  • 1 ใน 5
  • 3 ใน 5
  • 1 ใน 10

 

  1. สมาชิกวุฒิสภาจำนวนตามข้อใดมีสิทธิเข้าชื่อร้องต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกว่าสมาชิกภาพของสมาชิกคนใดคนหนึ่งแห่งสภานั้นสิ้นสุดลง
  • 2 ใน 3
  • 1 ใน 5
  • 3 ใน 5
  • 1 ใน 10

 

  1. องค์กรใดมีหน้าที่วินิจฉัยว่าสมาชิกภาพของ ส.ส. หรือ ส.ว. สิ้นสุดลงหรือไม่
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง
  • ผู้ตรวจการแผ่นดิน
  • วุฒิสภา

 

  1. ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาคนใดคนหนึ่งมีเหตุสิ้นสุดลง ให้ส่งเรื่องไปยังองค์กรใดเพื่อวินิจฉัย
  • ศาลรัฐธรรมนูญ
  • ศาลปกครอง
  • ศาลฎีกา
  • ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดจำนวนกี่คน
  • 150
  • 350
  • 375
  • 500

 

  1. สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งมีจำนวนกี่คน
  • 150
  • 350
  • 375
  • 500

 

  1. สภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อมีจำนวนกี่คน
  • 150
  • 350
  • 375
  • 500

 

  1. ในการเลือกตั้งทั่วไปได้มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรถึงร้อยละเท่าใดสามารถดำเนินการเรียกประชุมรัฐสภาได้
  • ร้อยละ 80
  • ร้อยละ 85
  • ร้อยละ 90
  • ร้อยละ 95

 

  1. เขตเลือกตั้ง ส.ส. ให้แต่ละเขตเลือกตั้งมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เขตละกี่คน
  • 1 คน
  • 2 คน
  • 3 คน
  • ขึ้นอยู่กับจำนวนราษฎร

 

  1. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งได้คนละกี่คะแนน
  • 1 คะแนน
  • 2 คะแนน
  • 2 คะแนน แบบแบ่งเขตและบัญชีรายชื่อ
  • 3 คะแนน

 

  1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบใดที่เรียกกันติดปากแต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว
  • แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
  • แบบบัญชีรายชื่อ
  • แบบสัดส่วน
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ช้ากว่ากี่วันนับแต่วันเลือกตั้ง
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน