กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้อ 1-40

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เมื่อใด
  • 25 มกราคม 2551
  • 26 มกราคม 2551
  • 4 มิถุนายน 2551
  • 23 สิงหาคม 2551

 

  1. ผู้ใดเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
  • รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • รองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
  • รัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย
  • นายกรัฐมนตรี

 

  1. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เรียกโดยย่อว่า ……………………………..
  • ก.พ.ร.
  • ก.พ.ค.
  • ก.พ.
  • อ.ก.พ.

 

  1. ผู้ใดมิได้เป็นคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
  • นายกรัฐมนตรี
  • เลขาธิการ ก.พ.
  • ปลัดกระทรวงการคลัง
  • เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

 

  1. กรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ให้อยู่ในตำแหน่งคราวละกี่ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี
  • 6 ปี
  • 7 ปี

 

  1. ถ้าตำแหน่งกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งว่างลงก่อนกำหนดและยังมีกรรมการดังกล่าวเหลืออยู่อีกกี่คน ให้กรรมการที่เหลือปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้
  • ไม่น้อยกว่า 2 คน
  • ไม่น้อยกว่า 3 คน
  • ไม่น้อยกว่า 4 คน
  • ไม่น้อยกว่า 5 คน

 

  1. เมื่อตำแหน่งกรรมการซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งว่างลงก่อนกำหนด ให้ดำเนินการแต่งตั้ง กรรมการแทนภายในกำหนดกี่วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน

 

  1. ข้อใดไม่เป็นอำนาจหน้าที่ของ ก.พ.
  • เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ
  • รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง
  • กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน
  • ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ

 

  1. กรณีที่ ก.พ.เห็นว่าการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใดที่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนทุกประเภท หรือบางประเภทควรมีมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์เดียวกัน ให้ ก.พ. จัดให้มีการประชุมเพื่อหารือร่วมกันระหว่าง…………………
  • ผู้แทน ก.พ.
  • ผู้แทน ก.พ.ร.
  • ผู้แทนองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนประเภทต่างๆ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ก.พ.มีอำนาจแต่งตั้ง …………. เพื่อทำการใดๆแทนได้
  • อ.ก.พ.วิสามัญ
  • อ.ก.พ.สามัญ
  • อ.ก.พ.กระทรวง
  • อ.ก.พ.กรม

 

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน
  • เรียกโดยย่อว่าสำนักงาน ก.พ.
  • เลขาธิการ ก.พ.เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการของสำนักงาน ก.พ.
  • เลขาธิการ ก.พ. เป็นผู้บริหารของสำนักงาน ก.พ.
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ฯ กำหนดให้มีคณะอนุกรรมการสามัญ (อ.ก.พ. สามัญ) ในระดับใดบ้าง
  • อ.ก.พ. กระทรวง
  • อ.ก.พ. กรม
  • อ.ก.พ. จังหวัด
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. กระทรวง
  • รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ
  • ปลัดกระทรวง
  • ผู้แทน ก.พ.

 

  1. ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. กรม
  • รัฐมนตรีเจ้าสังกัด
  • รัฐมนตรีช่วยว่าการ ฯ
  • ปลัดกระทรวง
  • อธิบดี

 

  1. ผู้ใดเป็นประธาน อ.ก.พ. จังหวัด
  • ผู้ว่าราชการจังหวัด
  • รองผู้ว่าราชการจังหวัด
  • ปลัดจังหวัด
  • หัวหน้าสำนักงานจังหวัด

 

  1. ข้อใดกล่าวผิดเกี่ยวกับคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
  • เรียกโดยย่อว่า ก.พ.ค.
  • ประกอบด้วยคณะกรรมการ 7 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 6 ปี
  • กรรมการ ก.พ.ค. อย่างน้อย 3 คนต้องทำงานเต็มเวลา
  • เลขาธิการ ก.พ. เป็นเลขานุการของ ก.พ.ค.

 

  1. กรณีใดที่กรรมการ ก.พ.ค. ต้องพ้นจากตำแหน่ง
  • มีอายุครบ 70 ปี บริบูรณ์
  • ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
  • ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ได้มีการรอการลงโทษ
  • ข้อ ก. และ ข.

 

  1. ข้อใด มิใช่ อำนาจหน้าที่ของ ก.พ.ค.
  • เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์ระบบคุณธรรม
  • พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์
  • พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์
  • ไม่มีข้อใดถูก

 

  1. การจัดระเบียบข้าราชการพลเรือนต้องเป็นไปเพื่อ……………………
  • ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  • ความมีประสิทธิภาพ
  • ความคุ้มค่า
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. กรณีผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนและมีลักษณะต้องห้าม ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ในกรณีใดบ้าง
  • เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐเกิน 2 ปี
  • เคยถูกลงโทษให้ออกหรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยเกิน 2 ปี
  • เคยถูกลงโทษให้ออก เพราะกระทำผิดวินัยเกิน 2 ปี ยกเว้นออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่
  • ข้อ ก. หรือ ข.

 

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ทั้งนี้ต้อง……………
  • ไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน
  • ไม่กระทบความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะ
  • ไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้าราชการพลเรือนมีกี่ประเภท
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5

 

  1. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน
  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
  • เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
  • เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

 

  1. ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนมีกี่ประเภท
  • 2
  • 3
  • 4
  • 5

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนประเภทวิชาการ
  • ระดับปฏิบัติงาน
  • ระดับชำนาญการ
  • ระดับชำนาญการพิเศษ
  • ระดับเชี่ยวชาญ

 

  1. คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาปรับเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูง หรือเงินเดือนประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนเพิ่มไม่เกินร้อยละเท่าใดของเงินเดือน
  • ร้อยละ 5
  • ร้อยละ 10
  • ร้อยละ 15
  • ร้อยละ 20

 

  1. การสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลมาบรรจุเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ต้องเป็นไปตามข้อใด
  • ระบบคุณธรรม
  • พฤติกรรมทางจริยธรรม
  • ประโยชน์ของทางราชการ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและความชำนาญงานสูงเข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับใดบ้าง
  • ชำนาญการ
  • ชำนาญการพิเศษ
  • เชี่ยวชาญ
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. กระทรวงหรือกรมใดมีเหตุผลละความจำเป็นอย่างยิ่ง จะบรรจุบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความชำนาญงานสูง เข้ารับราชการและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับใดบ้าง
  • ปฏิบัติงาน
  • ชำนาญงาน
  • อาวุโส
  • ทักษะพิเศษ

 

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญผู้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารซึ่งปฏิบัติหน้าที่เดียวติดต่อกันเป็นเวลาครบ 4 ปี ต้องมีการสับเปลี่ยนหน้าที่ เว้นแต่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เกินกี่ปี
  • 2 ปี
  • 3 ปี
  • 4 ปี
  • 5 ปี

 

  1. ในกรณีที่ศาลปกครองมีคำพิพากษาถึงที่สุดสั่งเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นหน้าที่ของผู้ใดในการสั่งการตามสมควร เพื่อเยียวยาและแก้ไขหรือดำเนินการตามที่เห็นสมควรได้
  • ก.พ.
  • สำนักงาน ก.พ.
  • ปลัดกระทรวง
  • คณะรัฐมนตรี

 

  1. ข้อใดคือจรรยาข้าราชการ
  • การยึดมั่นและยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง
  • การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
  • การปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างเป็นธรรม
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ข้อใดไม่ใช่ทางวินัยของข้าราชการพลเรือน
  • ภาคทัณฑ์
  • ตัดเงินเดือน
  • ลดขั้นเงินเดือน
  • ปลดออก

 

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญในกรมเดียวกันที่อธิบดีหรือปลัดกระทรวงถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร่วมกับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ผู้ใดเป็นผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
  • ปลัดกระทรวง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
  • นายกรัฐมนตรี
  • ข้อ ก. หรือ ข.

 

  1. ข้าราชการสามัญในตำแหน่งใดบ้างเมื่ออายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ในสิ้นปีงบประมาณและทางราชการมีความจำเป็นที่จะให้รับราชการต่อไปได้อีกก็ได้
  • เชี่ยวชาญ
  • ทรงคุณวุฒิ
  • อาวุโส
  • ถูกทุกข้อ

 

  1. ผู้ใดถูกสั่งโทษให้ออกจากราชการผู้นั้นมีสิทธิ์อุทธรณ์ต่อผู้ใด
  • ก.พ.
  • ก.พ.ร.
  • ก.พ.ค.
  • สำนักงาน ก.พ.

 

  1. เมื่อ ก.พ.ค. พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอำนาจสั่งบรรจุดำเนินการให้เป็นไปตามคำวินิจฉัยภายในกี่วัน
  • 30 วัน
  • 45 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน

 

  1. การร้องทุกข์ที่เหตุเกิดจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือรับผิดชอบการปฏิบัติราชการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีหรือต่อรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รัฐมนตรีเจ้าสังกัด หรือนายกรัฐมนตรีให้ร้องทุกข์ต่อผู้ใด
  • ก.พ.
  • ก.พ.ร.
  • ก.พ.ค.
  • สำนักงาน ก.พ.

 

  1. การดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้กระทำแล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
  • 30 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน
  • 120 วัน

 

  1. การดำเนินการแต่งตั้ง ก.พ.ค. ให้กระทำแล้วเสร็จภายในกี่วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
  • 30 วัน
  • 60 วัน
  • 90 วัน
  • 180 วัน