หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

พระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522

          หมู่บ้านอาสาพัฒนาและการป้องกันตนเองเป็นหมู่บ้านรูปแบบใหม่ตามโครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง หรือชื่อย่อว่าโครงการ อพป. ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารงานตามระบบหมู่บ้าน โดยอาศัยพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ที่มีอยู่แล้วเป็นหลัก ซึ่งมีภารกิจด้านการรักษาความปลอดภัย ด้านการพัฒนาและการบริการเพื่อปูพื้นฐานการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาหมู่บ้าน ตามพระราชบัญญัติหมู่บ้านอาสาพัฒนา พ.ศ. 2518 เป็นการนำพลังที่ผนึกเข้าด้วยกันเสริมสร้างหมู่บ้านให้มั่งคงเข้มแข็งอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ในขณะเดียวกันก็หลีกเลี่ยง การทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ให้หน่วยงานต่างๆ ใช้เครื่องมือเพื่อให้บังเกิดผลสูงสุด และเพื่อให้ดำเนินการพัฒนาและป้องกันตนเอง อพป. ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย กอ.รมน. จึงได้เสนอโครงการ อพป. ต่อรัฐบาลในสมัยนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีและได้รับการอนุมัติเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2519 จึงเป็นหน้าที่ของกรมการปกครองตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดย “หมู่บ้าน” คือ หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง และ “คณะกรรมการกลาง” คือ คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

การกำหนดหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

          การบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง ให้ถือเอาหมู่บ้านตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ การกำหนดให้หมู่บ้านใดหมู่บ้านหนึ่งหรือตั้งแต่ 2 หมู่บ้านขึ้นไปเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาป้องกันตนเอง ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศเป็นคราวๆ ไป การแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยุบเลิกหมู่บ้าน ให้ทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย การรวมหมู่บ้านต่างอำเภอมากำหนดเป็นหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง จะกระทำมิได้

คณะกรรมการกลางหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง

          1. ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธาน

          2. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน

          3. กรรมการสภาตำบล[1]

          4. ผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อย 5 คน อย่างมากไม่เกิน 7 คน โดยมีคุณสมบัติดังนี้ 1. อายุ 20 ปี 2. มีชื่อในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 6 เดือน 3. ความรู้ไม่ต่ำกว่า ป.4 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี ถ้าตำแหน่งว่างลงก่อนครบวาระให้เลือกแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายใน 60 วัน เว้นแต่เหลือเวลาไม่เกิน 180 วัน ประธานในการเลือกตั้งกรรมการกลางผู้ทรงคุณวุฒิ (มีคนเดียวนะเอาใครก็ได้) 1. นายอำเภอ 2. หัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอ 3. ปลัดอำเภอที่นายอำเภอมอบหมาย เมื่อได้ผู้ถูกเสนอชื่อแล้ว ให้นายอำเภอแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ แล้วรายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อออกหนังสือสำคัญ

หมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเองที่มีกำนัน

          หมู่บ้านใดที่ผู้ใหญ่บ้านเป็นกำนัน ให้กำนันเป็นประธานคณะกรรมการกลาง ให้สารวัตรกำนัน และหรือแพทย์ประจำตำบล เป็นกรรมการกลางโดยตำแหน่ง ถ้ามีการรวมหมู่บ้านมากกว่า 1 หมู่บ้าน ถ้าหมู่บ้านนั้นมีกำนันอยู่ด้วย ให้กำนันเป็นประธานคณะกรรมการกลาง และที่ปรึกษากรรมการกลาง ให้นายอำเภอเป็นผู้มีอำนาจในการแต่งตั้ง

เหตุที่ประธานกรรมการกลางต้องพ้นจากตำแหน่ง

          1. ตาย

          2. ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก

          3. ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อได้สอบสวนเห็นว่าบกพร่องในทางความประพฤติ หรือความสามารถไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง

          4. พ้นจากตำแหน่งกำนันหรือผู้ใหญ่บ้าน

เหตุที่ปรึกษาต้องพ้นจากตำแหน่ง

          1. ตาย

          2. ได้รับอนุญาตจากนายอำเภอให้ลาออก

          3. นายอำเภอสั่งให้พ้นจากตำแหน่ง

          4. ถูกย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่นซึ่งทำให้ไม่สามารถปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านนั้นได้

คณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ประจำหมู่บ้าน

          ให้ประธานกรรมการฝ่ายต่างๆ คัดเลือกบุคคลอย่างน้อย 3 คน เข้ามาร่วมบริหารงานในคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ดังนี้

          1. คณะกรรมการ พัฒนา

          2. คณะกรรมการ ปกครอง

          3. คณะกรรมการ ป้องกันและรักษาความเรียบร้อย

          4. คณะกรรมการ คลัง

          5. คณะกรรมการ สาธารณสุข

          6. คณะกรรมการ ศึกษาและวัฒนธรรม

          7. คณะกรรมการ สวัสดิการและสังคม

รายได้

          กระทรวงมหาดไทย และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดสรรรายได้สำหรับการบริหารหมู่บ้าน รายได้ที่มีผู้อุทิศให้ ต้องมอบแก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โครงการใช้จ่ายเงินของหมู่บ้าน เมื่อนายอำเภออนุมัติ ให้นำเข้าข้อบัญญัติจังหวัด

การควบคุม[2]

          นายอำเภอเป็นผู้ควบคุมหน้าที่ของคณะกรรมการกลางและให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจสั่งยุบกรรมการกลาง และกรรมการฝ่ายได้ถ้าเห็นว่าการ ดำเนินงานมีพฤติการณ์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ท้องที่หรือราชการ


[1] องค์การบริหารส่วนตำบลในปัจจุบัน

[2] นายอำเภอ = ควบคุม  ผู้ว่าราชการจังหวัด = สั่งยุบ